นายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า การที่กลุ่มเครือปกป้องพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช และเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา รวมถึงพระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม จะมายื่นหนังสือคัดค้านการเสนอชื่อการแต่งตั้ง "สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20" นั้น เป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่ง พศ. ก็พร้อมที่จะรับเรื่องไว้ แต่การพิจารณาก็เป็นเรื่องของมหาเถรสมาคม (มส.) แต่เท่าที่ทราบในการประชุมมส. ในวันที่ 11 ม.ค.นี้ เวลา 14.00 น.ที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ในวาระปกติ ไม่มีการหารือในเรื่องเกี่ยวกับการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช หาก มส.จะมีการหารือในประเด็นนี้ ก็เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับ มส.หยิบขึ้นมาหารือกันโดยเป็นวาระพิเศษ
ทั้งนี้การพิจารณาเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชของมส.ในช่วงที่ผ่านมา จะพิจารณาตามข้อกฎหมายของพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ฉบับแก้ไข พ.ศ.2535 เมื่อกรรมการมส.ทั้งหมดเห็นพ้องกัน โดยไม่ได้มีการโหวต ก็จะสรุปรายชื่อสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และส่งให้พศ.เสนอไปยังนายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯตามกระบวนการต่อไป
"ส่วนฝ่ายผู้คัดค้านมีข้อเรียกร้องให้ชะลอการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่นั้น ในเรื่องนี้ พศ. ไม่มีอำนาจ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของ มส. เป็นผู้พิจารณา ขณะที่ พศ. มีหน้าที่เพียงส่งเรื่องที่ มส. ได้พิจารณาแล้วไปยังนายกรัฐมนตรี โดยตามขั้นตอนนั้นจะเริ่มจาก มส. พิจารณารายชื่อสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไปยังนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีก็เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์นำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งที่ผ่านมาขั้นตอนทั้งหมดใช้ระยะยาวนาน ไม่ใช่ระยะเวลาเพียงสั้นๆ อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ"ผอ.พศ.กล่าว
ด้านพระเมธีธรรมาจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงกดดันเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 มีมากขึ้นตามลำดับ เพราะกลุ่มบุคคลทั้งพระและโยมซึ่งเป็นกลุ่มเดิมๆ ออกมาเคลื่อนไหวประสานมือกัน เป้าหมายคือชะลอการสถาปนาให้ได้ วิธีการคือ แยกกลุ่มแยกองค์กรแล้วช่วยกันป่วนหาเรื่องให้วุ่นวายสับสนเข้าไว้ หามลทินโยนใส่ แถลงข่าว ด่าทอใส่ร้ายโดยไม่ละอาย และเดินสายไปยื่นหนังสือ เช่น ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี องคมนตรี สำนักเลขาธิการพระราชวัง เป็นต้น จากนี้ไปผู้เดินหมากเดินเกมส์ ที่สำคัญคือคนที่โฟกัสทางสื่อมวลชนมีพระหนึ่งรูป โยมหนึ่งคนก็จะหาเรื่องออกมาให้ข่าวอยู่เนืองๆ เพื่อกวนน้ำให้ขุ่น
ทั้งนี้การกระทำแบบนี้จะสอดรับกันโดยบังเอิญหรืออย่างไรไม่ทราบเพราะคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่บอกว่า 'การเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชต้องดู กฎหมาย ความเหมาะสม ถ้ามีความขัดแย้งต้องรอให้ความขัดแย้งคลี่คลายก่อน' สอดรับกลับกลุ่มบุคคลดังกล่าวราวกับวงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า นี่จะบ่งบอกสัญญาณบางอย่างหรือไม่ คณะบุคคลดังกล่าวเตรียมการให้เกิดความขัดแย้ง มองเห็นกันชัดๆรัฐบาลจะรับลูกแบบนี้ใช่หรือไม่ อำนาจศาสนจักรกับอาณาจักรต่างไม่ก้าวก่ายกัน จะตรวจสอบรายชื่อ ประวัติแบบเดียวกับอธิบดี ปลัดกระทรวงใช่หรือไม่ จากนี้ไปก็ต้องวัดใจรัฐบาลว่า จะเต้นตามกลุ่มกดดัน หรือจะยืนอยู่ข้างพระสงฆ์ทั้งประเทศ ถ้ายืนอยู่ข้างพระสงฆ์ทั้งประเทศก็ขออนุโมทนา แต่ถ้ายืนอยู่ข้างกลุ่มกดดัน คงได้เห็นจีวรพระทั่วประเทศเหลืองอร่ามกลางกรุงเทพมหานครแน่นอน
ทั้งนี้การพิจารณาเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชของมส.ในช่วงที่ผ่านมา จะพิจารณาตามข้อกฎหมายของพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ฉบับแก้ไข พ.ศ.2535 เมื่อกรรมการมส.ทั้งหมดเห็นพ้องกัน โดยไม่ได้มีการโหวต ก็จะสรุปรายชื่อสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์และส่งให้พศ.เสนอไปยังนายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯตามกระบวนการต่อไป
"ส่วนฝ่ายผู้คัดค้านมีข้อเรียกร้องให้ชะลอการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่นั้น ในเรื่องนี้ พศ. ไม่มีอำนาจ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของ มส. เป็นผู้พิจารณา ขณะที่ พศ. มีหน้าที่เพียงส่งเรื่องที่ มส. ได้พิจารณาแล้วไปยังนายกรัฐมนตรี โดยตามขั้นตอนนั้นจะเริ่มจาก มส. พิจารณารายชื่อสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไปยังนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีก็เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์นำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งที่ผ่านมาขั้นตอนทั้งหมดใช้ระยะยาวนาน ไม่ใช่ระยะเวลาเพียงสั้นๆ อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ"ผอ.พศ.กล่าว
ด้านพระเมธีธรรมาจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แรงกดดันเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 มีมากขึ้นตามลำดับ เพราะกลุ่มบุคคลทั้งพระและโยมซึ่งเป็นกลุ่มเดิมๆ ออกมาเคลื่อนไหวประสานมือกัน เป้าหมายคือชะลอการสถาปนาให้ได้ วิธีการคือ แยกกลุ่มแยกองค์กรแล้วช่วยกันป่วนหาเรื่องให้วุ่นวายสับสนเข้าไว้ หามลทินโยนใส่ แถลงข่าว ด่าทอใส่ร้ายโดยไม่ละอาย และเดินสายไปยื่นหนังสือ เช่น ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี องคมนตรี สำนักเลขาธิการพระราชวัง เป็นต้น จากนี้ไปผู้เดินหมากเดินเกมส์ ที่สำคัญคือคนที่โฟกัสทางสื่อมวลชนมีพระหนึ่งรูป โยมหนึ่งคนก็จะหาเรื่องออกมาให้ข่าวอยู่เนืองๆ เพื่อกวนน้ำให้ขุ่น
ทั้งนี้การกระทำแบบนี้จะสอดรับกันโดยบังเอิญหรืออย่างไรไม่ทราบเพราะคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่บอกว่า 'การเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชต้องดู กฎหมาย ความเหมาะสม ถ้ามีความขัดแย้งต้องรอให้ความขัดแย้งคลี่คลายก่อน' สอดรับกลับกลุ่มบุคคลดังกล่าวราวกับวงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า นี่จะบ่งบอกสัญญาณบางอย่างหรือไม่ คณะบุคคลดังกล่าวเตรียมการให้เกิดความขัดแย้ง มองเห็นกันชัดๆรัฐบาลจะรับลูกแบบนี้ใช่หรือไม่ อำนาจศาสนจักรกับอาณาจักรต่างไม่ก้าวก่ายกัน จะตรวจสอบรายชื่อ ประวัติแบบเดียวกับอธิบดี ปลัดกระทรวงใช่หรือไม่ จากนี้ไปก็ต้องวัดใจรัฐบาลว่า จะเต้นตามกลุ่มกดดัน หรือจะยืนอยู่ข้างพระสงฆ์ทั้งประเทศ ถ้ายืนอยู่ข้างพระสงฆ์ทั้งประเทศก็ขออนุโมทนา แต่ถ้ายืนอยู่ข้างกลุ่มกดดัน คงได้เห็นจีวรพระทั่วประเทศเหลืองอร่ามกลางกรุงเทพมหานครแน่นอน