พล.ต.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในฐานะรองโฆษกคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยคำชี้แจงของ พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงประเด็นสำคัญในการสร้างความไว้วางใจ การกำหนดพื้นที่ปลอดภัย และแนวโน้มสถานการณ์ปี 2559 ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดกรอบเป้าหมายและทิศทางการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ ไว้เป็น 3 ระยะ
โดยระยะที่ 1 คือการสร้างความไว้วางใจ ระยะที่ 2 การลงสัตยาบัน ระยะที่ 3 การบรรลุฉันทามติของทางออกจากความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและจัดทำโรดแมป โดยในระยะที่ 1 ถือว่ายากที่สุดในการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ เพราะต้องสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐฯ ซึ่งล่าสุดได้จัดตั้งคณะทำงานทางเทคนิคร่วม เพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมด้านธุรการและการสนับสนุน ซึ่งเสมือนเป็นกติกาของการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ โดยขณะนี้ได้ประชุมหารือผ่านผู้อำนวยความสะดวกมาหลายครั้ง หากเมื่อได้ร่างบันทึกข้อตกลงร่วมฯ แล้ว ผู้แทนคณะทำงานทางเทคนิคร่วมจึงจะนำผลไปรายงานขอความเห็นชอบต่อระดับนโยบายของแต่ละฝ่ายต่อไป
สำหรับการกำหนดพื้นที่ปลอดภัยนั้น เตรียมเสนอเข้าสู่กระบวนการพูดคุยฯ อย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังคงอยู่ในกรอบของการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ ระยะที่ 1 โดยครั้งนี้จะใช้รูปแบบที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะหยุดความรุนแรงในพื้นที่ที่กำหนดอย่างชัดเจน เพื่อต้องการลดระดับความรุนแรงในพื้นที่บางแห่งก่อน โดยเคารพหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นมาตรการหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกระบวนการพูดคุยฯ สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2559 คณะพูดคุยฯ คาดว่าน่าจะมีพัฒนาการที่มีความก้าวหน้าโดยลำดับจนอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล ตรงกับความคาดหวังของประชาชนทั้งประเทศ
พล.ต.บรรพต กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชน และร่วมกันปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อสันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยของภาครัฐ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะคณะประสานงานระดับพื้นที่ จะรับผิดชอบดูแลตามแผนงานประจำปี ในทุกมิติของทุกกลุ่มภารกิจงาน โดยป้องกันฝ่ายใดสร้างเงื่อนไขใหม่ การสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ ยังคงดำเนินต่อไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันของนายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ด้วยเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะยุติความรุนแรง และนำสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเร็ว ความก้าวหน้าของกระบวนการพูดคุยฯ ย่อมส่งผลมาสู่การลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีนัยสำคัญ
โดยระยะที่ 1 คือการสร้างความไว้วางใจ ระยะที่ 2 การลงสัตยาบัน ระยะที่ 3 การบรรลุฉันทามติของทางออกจากความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและจัดทำโรดแมป โดยในระยะที่ 1 ถือว่ายากที่สุดในการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ เพราะต้องสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐฯ ซึ่งล่าสุดได้จัดตั้งคณะทำงานทางเทคนิคร่วม เพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมด้านธุรการและการสนับสนุน ซึ่งเสมือนเป็นกติกาของการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ โดยขณะนี้ได้ประชุมหารือผ่านผู้อำนวยความสะดวกมาหลายครั้ง หากเมื่อได้ร่างบันทึกข้อตกลงร่วมฯ แล้ว ผู้แทนคณะทำงานทางเทคนิคร่วมจึงจะนำผลไปรายงานขอความเห็นชอบต่อระดับนโยบายของแต่ละฝ่ายต่อไป
สำหรับการกำหนดพื้นที่ปลอดภัยนั้น เตรียมเสนอเข้าสู่กระบวนการพูดคุยฯ อย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังคงอยู่ในกรอบของการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ ระยะที่ 1 โดยครั้งนี้จะใช้รูปแบบที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะหยุดความรุนแรงในพื้นที่ที่กำหนดอย่างชัดเจน เพื่อต้องการลดระดับความรุนแรงในพื้นที่บางแห่งก่อน โดยเคารพหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นมาตรการหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกระบวนการพูดคุยฯ สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2559 คณะพูดคุยฯ คาดว่าน่าจะมีพัฒนาการที่มีความก้าวหน้าโดยลำดับจนอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล ตรงกับความคาดหวังของประชาชนทั้งประเทศ
พล.ต.บรรพต กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชน และร่วมกันปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อสันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัยของภาครัฐ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในฐานะคณะประสานงานระดับพื้นที่ จะรับผิดชอบดูแลตามแผนงานประจำปี ในทุกมิติของทุกกลุ่มภารกิจงาน โดยป้องกันฝ่ายใดสร้างเงื่อนไขใหม่ การสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งการดำเนินกระบวนการพูดคุยฯ ยังคงดำเนินต่อไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันของนายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ด้วยเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะยุติความรุนแรง และนำสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเร็ว ความก้าวหน้าของกระบวนการพูดคุยฯ ย่อมส่งผลมาสู่การลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างมีนัยสำคัญ