สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายในรอบสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 57 เซนต์ หรือ 1.6% ปิดที่ 34.95 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 13 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 37.06 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจาก EIA รายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 ธ.ค.พุ่งขึ้น 4.8 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 490.7 ล้านบาร์เรล สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น 600,000 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 60.06 ล้านบาร์เรล
ส่วนปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ดังกล่าวเพิ่มขึ้น 12,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 9.176 ล้านบาร์เรล/วัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งล่าสุด โดยการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 57 เซนต์ หรือ 1.6% ปิดที่ 34.95 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 13 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 37.06 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจาก EIA รายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 ธ.ค.พุ่งขึ้น 4.8 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 490.7 ล้านบาร์เรล สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น 600,000 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 60.06 ล้านบาร์เรล
ส่วนปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ดังกล่าวเพิ่มขึ้น 12,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 9.176 ล้านบาร์เรล/วัน
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งล่าสุด โดยการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือสกุลเงินอื่น