สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับสำนักงานกิจการยุติธรรม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายด้านการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในกทม. และปริมณฑล จำนวน 429 คน ถึงกระบวนการยุติธรรมในสายตาประชาชน สำรวจระหว่างวันที่ 1-12 ธ.ค.ที่ผ่านมาพบว่า เรื่องที่ประชาชนเป็นห่วง หรือมองว่าเป็นปัญหาสำคัญต่อการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม มากที่สุด ร้อยละ 71.10 คือประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้กฎหมาย และไม่เข้าใจกระบวนการยุติธรรม รองลงมาร้อยละ 68.30 ไม่เป็นธรรม/สองมาตรฐาน และร้อยละ 58.51 ระบุการทำงานล่าช้า
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรม ระหว่างปี 2557 กับปีนี้ 2558 ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.85 ระบุเหมือนเดิม เพราะการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ เลือกปฏิบัติ ติดสินบนเจ้าหน้าที่ การบังคับใช้กฎหมายไม่เด็ดขาด การดำเนินคดีหรือจับกุมผู้กระทำผิดยังคงล่าช้าเหมือนเดิม ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ขณะที่ร้อยละ 32.40 ระบุว่าดีขึ้น เพราะการบังคับใช้กฎหมายเด็ดขาด โดยเฉพาะมาตรา 44 เจ้าหน้าที่เอาจริงเอาจังมากขึ้น การติดตามผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีรวดเร็วมากขึ้น การเปิดเผยข้อมูลต่างๆ กระบวนการพิจารณาคดีเป็นระบบโปร่งใสมากขึ้น ดูแลเอาใจใส่ประชาชน มีช่องทางที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาร้องเรียน ส่วนร้อยละ 13.75 ระบุแย่ลง เพราะกระบวนการยุติธรรมยังไม่เข้มแข็ง ยังมีคนทำผิดและไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมืองอยู่มาก ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามถึงเรื่องที่ประชาชนอยากให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (เช่น ตำรวจ อัยการ ศาลและกระทรวงยุติธรรม) เร่งดำเนินการ อันดับ 1 ร้อยละ 78.09 คือการป้องกันอาชญากรรม อันดับ 2 ร้อยละ 72.03 เรื่องการปราบรามการทุจริตและเรียกรับสินบน และอันดับ 3 ร้อยละ 66.20 การจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ ส่วนสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง ต่อ “กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายในอนาคต” ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.95 ระบุอยากให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 73.89 การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว เป็นที่พึ่งของประชาชนเมื่อเดือดร้อน และร้อยละ 66.67 การป้องกันอาชญากรรม เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
สำหรับปัญหาอาชญากรรมในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ใกล้จะมาถึง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 82.28 วิตกกังวลเรื่องขโมย ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ รองลงมาร้อยละ 73.66 กังวลเรื่องการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เมาแล้วขับ หลับใน ขับขี่ด้วยความประมาท และร้อยละ 63.87 เรื่องการก่อการร้าย ระเบิด
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรม ระหว่างปี 2557 กับปีนี้ 2558 ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.85 ระบุเหมือนเดิม เพราะการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ เลือกปฏิบัติ ติดสินบนเจ้าหน้าที่ การบังคับใช้กฎหมายไม่เด็ดขาด การดำเนินคดีหรือจับกุมผู้กระทำผิดยังคงล่าช้าเหมือนเดิม ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ขณะที่ร้อยละ 32.40 ระบุว่าดีขึ้น เพราะการบังคับใช้กฎหมายเด็ดขาด โดยเฉพาะมาตรา 44 เจ้าหน้าที่เอาจริงเอาจังมากขึ้น การติดตามผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีรวดเร็วมากขึ้น การเปิดเผยข้อมูลต่างๆ กระบวนการพิจารณาคดีเป็นระบบโปร่งใสมากขึ้น ดูแลเอาใจใส่ประชาชน มีช่องทางที่เปิดให้ประชาชนเข้ามาร้องเรียน ส่วนร้อยละ 13.75 ระบุแย่ลง เพราะกระบวนการยุติธรรมยังไม่เข้มแข็ง ยังมีคนทำผิดและไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมืองอยู่มาก ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามถึงเรื่องที่ประชาชนอยากให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม (เช่น ตำรวจ อัยการ ศาลและกระทรวงยุติธรรม) เร่งดำเนินการ อันดับ 1 ร้อยละ 78.09 คือการป้องกันอาชญากรรม อันดับ 2 ร้อยละ 72.03 เรื่องการปราบรามการทุจริตและเรียกรับสินบน และอันดับ 3 ร้อยละ 66.20 การจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ ส่วนสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง ต่อ “กระบวนการยุติธรรมและกฎหมายในอนาคต” ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.95 ระบุอยากให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 73.89 การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว เป็นที่พึ่งของประชาชนเมื่อเดือดร้อน และร้อยละ 66.67 การป้องกันอาชญากรรม เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
สำหรับปัญหาอาชญากรรมในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ใกล้จะมาถึง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 82.28 วิตกกังวลเรื่องขโมย ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ รองลงมาร้อยละ 73.66 กังวลเรื่องการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เมาแล้วขับ หลับใน ขับขี่ด้วยความประมาท และร้อยละ 63.87 เรื่องการก่อการร้าย ระเบิด