การประชุมระดับสูงของประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change – UNFCCC) สมัยที่ 21 (COP 21) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 11 (CMP 11) ที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้าร่วมประชุม เป็นเวทีที่เหล่าผู้นำได้ยืนยันเจตนารมณ์ และแสดงการสนับสนุนทางการเมืองในระดับสูงสุด ต่อการเจรจาจัดทำความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จ เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของนายกรัฐมนตรี ในการร่วมผลักดันให้การเจรจาความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่บรรลุผล เน้นการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างสมดุล สำหรับผลจากการเข้าร่วมการประชุมของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการนำเสนอแนวทาง เพื่อย้ำให้เห็นว่าเราสามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องรบกวนธรรมชาติ ซึ่งได้รับความสนใจ และเสียงตอบรับจากที่ประชุมเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ ทุกประเทศให้ความจริงจัง เพื่อให้การเจรจาจัดทำร่างความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2015 เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2020 เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ท้ายที่สุด ความสำเร็จทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากความร่วมมือกันของทุกประเทศเท่านั้น
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การแสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของนายกรัฐมนตรี ในการร่วมผลักดันให้การเจรจาความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่บรรลุผล เน้นการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างสมดุล สำหรับผลจากการเข้าร่วมการประชุมของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการนำเสนอแนวทาง เพื่อย้ำให้เห็นว่าเราสามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องรบกวนธรรมชาติ ซึ่งได้รับความสนใจ และเสียงตอบรับจากที่ประชุมเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ ทุกประเทศให้ความจริงจัง เพื่อให้การเจรจาจัดทำร่างความตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2015 เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2020 เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ท้ายที่สุด ความสำเร็จทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมาจากความร่วมมือกันของทุกประเทศเท่านั้น