นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่าจากที่กทม.จะดำเนินโครงการสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้ทางรถไฟ เพื่อแก้ปัญหาการจาจรติดขัดหยุดชะงักบริเวณทางรถไฟหลายๆ เส้นทางนั้นเบื้องต้น กทม.ได้ทำการศึกษาโครงการรวม 7 แห่งได้แก่
1.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนศรีนครินทร์-ถนนพัฒนาการ-ทางรถไฟสายตะวันออก
2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนรามคำแหง-ทางรถไฟสายตะวันออก
3.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนราชปรารภ-ทางรถไฟสายตะวันออก
4.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนเพชรบุรี-ทางรถไฟสายเชื้อเพลิง
5.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนบางขุนเทียน-ทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
6.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนเทศบาลสงเคราะห์ (วัดเสมียนนารี)-ทางรถไฟสายเหนือ และ
7.โครงการก่อสร้างอุโมงค์หรือ สะพานข้ามทางรถไฟ บริเวณยมราชเพื่อเชื่อมทางด่วนขั้นที่ 2
ทั้งนี้จากการหารือกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาด้านพื้นที่การก่อสร้างในจุดตัดต่างๆ และทำการศึกษาแนวพื้นที่ใต้ดินโดยละเอียดแล้วพบว่า โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้แนวทางรถไฟทั้ง 7 พื้นที่นั้น การก่อสร้างเป็นไปได้ยาก ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยอุปสรรคในการก่อสร้างที่สำคัญคือด้านสาธารณูปโภคใต้พื้นดินเช่น ท่อไฟฟ้า ท่อส่งน้ำมัน ซึ่งท่อส่งน้ำมันส่วนใหญ่จะวางใต้พื้นที่ดินในแนวทางรถไฟการก่อสร้าง อุโมงค์ทางลอดจึงไม่สามารถขุดเจาะลงใต้ดินได้ อาจส่งผลกระทบต่อท่อส่งน้ำมันบริเวณต่างๆ อย่างมาก
ดังนั้นกทม.อาจต้องยกเลิกโครงการแก้ปัญหาจราจร สร้างระบบการดินทางอย่างสะดวกด้วยการสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้จุดตัดทางรถไฟ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาการจราจรและเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของประชาชนถือเป็นหนึ่งในภารกิจของกทม. โดยกทม.จะเร่งทำการศึกษาแนวทางแก้การจราจรติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟด้วยวิธีอื่นๆ โดยอาจต้องวางแผนจัดการจราจรรูปแบบใหม่ โดยวางแนวทางร่วมกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และก่อสร้างสะพานข้ามแยกหรืออุโมงค์ทางลอดในจุดที่มีปัญหาการจราจรเชื่อมต่อกันในพื้นที่อื่นๆ แทน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดอีกครั้ง
1.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนศรีนครินทร์-ถนนพัฒนาการ-ทางรถไฟสายตะวันออก
2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนรามคำแหง-ทางรถไฟสายตะวันออก
3.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนราชปรารภ-ทางรถไฟสายตะวันออก
4.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนเพชรบุรี-ทางรถไฟสายเชื้อเพลิง
5.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนบางขุนเทียน-ทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
6.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนเทศบาลสงเคราะห์ (วัดเสมียนนารี)-ทางรถไฟสายเหนือ และ
7.โครงการก่อสร้างอุโมงค์หรือ สะพานข้ามทางรถไฟ บริเวณยมราชเพื่อเชื่อมทางด่วนขั้นที่ 2
ทั้งนี้จากการหารือกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาด้านพื้นที่การก่อสร้างในจุดตัดต่างๆ และทำการศึกษาแนวพื้นที่ใต้ดินโดยละเอียดแล้วพบว่า โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้แนวทางรถไฟทั้ง 7 พื้นที่นั้น การก่อสร้างเป็นไปได้ยาก ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยอุปสรรคในการก่อสร้างที่สำคัญคือด้านสาธารณูปโภคใต้พื้นดินเช่น ท่อไฟฟ้า ท่อส่งน้ำมัน ซึ่งท่อส่งน้ำมันส่วนใหญ่จะวางใต้พื้นที่ดินในแนวทางรถไฟการก่อสร้าง อุโมงค์ทางลอดจึงไม่สามารถขุดเจาะลงใต้ดินได้ อาจส่งผลกระทบต่อท่อส่งน้ำมันบริเวณต่างๆ อย่างมาก
ดังนั้นกทม.อาจต้องยกเลิกโครงการแก้ปัญหาจราจร สร้างระบบการดินทางอย่างสะดวกด้วยการสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้จุดตัดทางรถไฟ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาการจราจรและเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของประชาชนถือเป็นหนึ่งในภารกิจของกทม. โดยกทม.จะเร่งทำการศึกษาแนวทางแก้การจราจรติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟด้วยวิธีอื่นๆ โดยอาจต้องวางแผนจัดการจราจรรูปแบบใหม่ โดยวางแนวทางร่วมกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และก่อสร้างสะพานข้ามแยกหรืออุโมงค์ทางลอดในจุดที่มีปัญหาการจราจรเชื่อมต่อกันในพื้นที่อื่นๆ แทน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดอีกครั้ง