สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (23 พ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐ
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 15 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 41.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 17 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 44.83 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยมาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 52.6 ในเดือนพ.ย. จากระดับ 54.1 ในเดือนต.ค. บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐในเดือนพ.ย.มีการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีในเดือนพ.ย. และปรับตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดน้ำมันโลก แม้ว่าซาอุดิอาระเบียได้ออกมาให้คำมั่นสัญญาณว่า ซาอุดิอาระเบียพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศอื่นๆในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปก เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลก
ทั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียเป็นแกนนำของกลุ่มโอเปกที่ออกมาปฏิเสธข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกรายอื่นๆ รวมถึงอัลจีเรียและเวเนซูเอเล่า ที่ต้องการให้ปรับลดการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมันให้สูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 15 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 41.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 17 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 44.83 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยมาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 52.6 ในเดือนพ.ย. จากระดับ 54.1 ในเดือนต.ค. บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐในเดือนพ.ย.มีการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีในเดือนพ.ย. และปรับตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดน้ำมันโลก แม้ว่าซาอุดิอาระเบียได้ออกมาให้คำมั่นสัญญาณว่า ซาอุดิอาระเบียพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศอื่นๆในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปก เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลก
ทั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียเป็นแกนนำของกลุ่มโอเปกที่ออกมาปฏิเสธข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกรายอื่นๆ รวมถึงอัลจีเรียและเวเนซูเอเล่า ที่ต้องการให้ปรับลดการผลิตเพื่อหนุนราคาน้ำมันให้สูงขึ้น