นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงผลการประชุมวันนี้ (18พ.ย.) ว่า ได้เริ่มพิจารณาหมวดศาล ซึ่งในบททั่วไปได้กำหนดให้ศาลต้องมีความเป็นอิสระ ในการพิจารณาพิพากษาคดีตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรมและปราศจากอคติ รวมทั้งได้พิจารณาเรื่องศาลยุติธรรม โดยยังคงให้มีคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในศาล เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ให้ปราศจากการถูกแทรกแซงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนโครงสร้างของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะให้มีบุคคลภายนอกด้วยหรือไม่ ให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้กำหนด หรือปรับเปลี่ยนใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม
ขณะเดียวกัน ที่ประชุม กรธ.ยังเห็นควรให้คงมีศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่เพิ่มโอกาสให้จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลฎีกา ไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ เฉพาะกรณีที่พบหลักฐานใหม่ หรือ มีข้อกฎหมายใหม่โต้แย้ง ขณะที่เรื่องศาลเฉพาะอื่นๆ ที่ประชุมยังไม่พิจารณาว่าจะให้มีศาลใดบ้าง
ทั้งนี้ การเปิดโอกาสให้อุทธรณ์ได้ ไม่ทำให้ความเข้มข้นของการขจัดการทุจริตลดลง เพราะตามหลักความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเรื่องยาก ที่จะพบหลักฐานใหม่ หรือกฎหมายโต้แย้ง ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลจะต้องพิจารณารอบด้านอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่มาและจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา แต่ยังไม่มีความชัดเจนหรือคืบหน้าใดๆ นอกเหนือจากลดอำนาจไม่ให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ขณะเดียวกัน ที่ประชุม กรธ.ยังเห็นควรให้คงมีศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่เพิ่มโอกาสให้จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลฎีกา ไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ เฉพาะกรณีที่พบหลักฐานใหม่ หรือ มีข้อกฎหมายใหม่โต้แย้ง ขณะที่เรื่องศาลเฉพาะอื่นๆ ที่ประชุมยังไม่พิจารณาว่าจะให้มีศาลใดบ้าง
ทั้งนี้ การเปิดโอกาสให้อุทธรณ์ได้ ไม่ทำให้ความเข้มข้นของการขจัดการทุจริตลดลง เพราะตามหลักความเป็นจริงแล้ว มันเป็นเรื่องยาก ที่จะพบหลักฐานใหม่ หรือกฎหมายโต้แย้ง ระหว่างการพิจารณาคดี ศาลจะต้องพิจารณารอบด้านอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่มาและจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา แต่ยังไม่มีความชัดเจนหรือคืบหน้าใดๆ นอกเหนือจากลดอำนาจไม่ให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง