นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 12 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวในเวทีพูดคุยข้อเท็จจริงหัวข้อ “มุมมองรัฐ : การลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ คุ้มค่าแลกผลกระทบ?” ซึ่งจัดขึ้นโดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ตอนหนึ่งว่า กนอ.จำเป็นต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใน 3 พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ได้มอบหมายให้ กนอ.ดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
นายอัฐพล กล่าวว่า การทำอีไอเอจะเป็นไปตามเกณฑ์ของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนด ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ โดยในอีไอเอจะกำหนดประเภทของอุตสาหกรรมว่าสามารถจัดตั้งโรงงานประเภทใดได้บ้าง ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่าจะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่
นายอัฐพล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน กนอ.ได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำผังแม่บทการจัดสรรพื้นที่ โดยจะกำหนดว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหรือพื้นที่สาธารณูปโภค และเมื่อผังแม่บทแล้วเสร็จจะเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ก่อนจะเสนอต่อไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.เป็นลำดับสุดท้าย
นายอัฐพล กล่าวว่า การทำอีไอเอจะเป็นไปตามเกณฑ์ของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กำหนด ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ โดยในอีไอเอจะกำหนดประเภทของอุตสาหกรรมว่าสามารถจัดตั้งโรงงานประเภทใดได้บ้าง ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่าจะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่
นายอัฐพล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน กนอ.ได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำผังแม่บทการจัดสรรพื้นที่ โดยจะกำหนดว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหรือพื้นที่สาธารณูปโภค และเมื่อผังแม่บทแล้วเสร็จจะเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ก่อนจะเสนอต่อไปยังคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.เป็นลำดับสุดท้าย