นพ.วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร และกิจกรรมเพื่อสังคม ศัลยแพทย์เต้านม, ศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสร้าง คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีการเสริมเต้านมด้วยสารเติมเต็ม (ฟิลเล่อร์) ว่า เป็นเทคนิคที่ไม่ควรทำ เพราะไม่สามารถคาดคะเนผลในระยะยาวได้ ทั้งนี้ในระหว่างฉีดก็ไม่สามารถควบคุมได้ อาจกระจายเข้าเส้นเลือด มีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันเฉพาะส่วนได้ หรือหลังฉีดไประยะหนึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับท่อน้ำเหลือง เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองรักแร้ ไหปลาร้า ผิวหนังบริเวณเต้านม หน้าท้อง หรือ ขาหนีบ เป็นต้น ระยะยาวจะเกิดพังผืด บางคนเป็นน้อย ในรายที่เป็นมากจะพบ หน้าอกแข็งเป็นตะปุ่มตะปั่ม เป็นก้อน พุพอง เป็นหนอง แผลมีกลิ่นเหม็น แตกหลายตำแหน่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในภายหลัง และถ้าควบคุมการติดเชื้อไม่ได้ก็มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้ แพทย์ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเต้านม จะทราบวิธีการทำและแก้ไขได้ เช่น หากเกิดการติดเชื้อต้องผ่าตัดออก เสริมสร้างเต้านมใหม่ก็สามารถตามแก้ไขให้ได้ แต่ถ้าทำกับคนที่ไม่ใช่แพทย์จะไม่รู้วิธีการแก้ไข สุดท้ายก็ทิ้งผู้ป่วยให้มารักษาที่โรงพยาบาลเอง แต่กว่าจะมาก็ยากมาก เพราะเนื้อเยื่อถูกทำลายไปหมดแล้ว บางรายต้องตัดเต้านมทิ้งทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของตัวเองได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องของศัลยกรรมความงาม ปัจจุบันคนไข้ที่มารักษากับตนประมาณเดือนละ 10 ราย ต้องตัดเต้านมทิ้ง 2 ราย อายุน้อยที่สุดคือ 22 ปี นอกจากนี้การฉีดฟิลเล่อร์ยังส่งผลให้การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมทำได้ยากมาก เพราะไม่สามารถแยกระหว่างเนื้อดี หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติได้ แต่เมื่อพบลักษณะเป็นก้อน ๆ ก็ต้องผ่าตัดเพื่อพิสูจน์อีก และในอนาคตจะส่งผลต่อการให้นมบุตรด้วย
"โดยทั่วไปแล้วศัลยแพทย์ตกแต่ง จะใช้ถุงเต้านมเทียมในการเสริมหน้าอก เพราะมีความปลอดภัยสูงถ้าทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ในสถานที่และอุปกรณ์ได้มาตรฐาน หรือหากมีปัญหาก็สามารถติดตาม ดูแลแก้ไขได้ และยังมีผลการศึกษาวิจัยรองรับแล้วว่า อนาคตไม่มีผลต่อการให้นมบุตร ไม่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง หรือ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม" นพ.วิษณุ กล่าว
ปัจจุบัน ศัลยแพทย์ตกแต่งทรวงอกในประเทศไทยมีประมาณ 300 คน ส่วนแพทย์ศัลยกรรมความงาม ที่ผ่านการเรียนหลักสูตรระยะสั้น หรือแพทย์สาขาอื่นที่มาทำเรื่องความงามในประเทศไทยมีประมาณ 3,000 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน ดังนั้นทำให้เกิดปัญหาได้ และขอเตือนประชาชนไม่อยากให้เชื่อรีวิวตามอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ต้องตรวจสอบให้ถ้วนถี่ ผ่านการรับรองจากแพทยสภา โดยตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย www.surgery.or.th หรือเว็บไซต์ www.plasticsurgery.or.th และสอบถามทาง facebook สมาคมได้เช่นกัน
ทั้งนี้ แพทย์ศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเต้านม จะทราบวิธีการทำและแก้ไขได้ เช่น หากเกิดการติดเชื้อต้องผ่าตัดออก เสริมสร้างเต้านมใหม่ก็สามารถตามแก้ไขให้ได้ แต่ถ้าทำกับคนที่ไม่ใช่แพทย์จะไม่รู้วิธีการแก้ไข สุดท้ายก็ทิ้งผู้ป่วยให้มารักษาที่โรงพยาบาลเอง แต่กว่าจะมาก็ยากมาก เพราะเนื้อเยื่อถูกทำลายไปหมดแล้ว บางรายต้องตัดเต้านมทิ้งทั้ง 2 ข้าง และไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิของตัวเองได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องของศัลยกรรมความงาม ปัจจุบันคนไข้ที่มารักษากับตนประมาณเดือนละ 10 ราย ต้องตัดเต้านมทิ้ง 2 ราย อายุน้อยที่สุดคือ 22 ปี นอกจากนี้การฉีดฟิลเล่อร์ยังส่งผลให้การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมทำได้ยากมาก เพราะไม่สามารถแยกระหว่างเนื้อดี หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติได้ แต่เมื่อพบลักษณะเป็นก้อน ๆ ก็ต้องผ่าตัดเพื่อพิสูจน์อีก และในอนาคตจะส่งผลต่อการให้นมบุตรด้วย
"โดยทั่วไปแล้วศัลยแพทย์ตกแต่ง จะใช้ถุงเต้านมเทียมในการเสริมหน้าอก เพราะมีความปลอดภัยสูงถ้าทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ในสถานที่และอุปกรณ์ได้มาตรฐาน หรือหากมีปัญหาก็สามารถติดตาม ดูแลแก้ไขได้ และยังมีผลการศึกษาวิจัยรองรับแล้วว่า อนาคตไม่มีผลต่อการให้นมบุตร ไม่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง หรือ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม" นพ.วิษณุ กล่าว
ปัจจุบัน ศัลยแพทย์ตกแต่งทรวงอกในประเทศไทยมีประมาณ 300 คน ส่วนแพทย์ศัลยกรรมความงาม ที่ผ่านการเรียนหลักสูตรระยะสั้น หรือแพทย์สาขาอื่นที่มาทำเรื่องความงามในประเทศไทยมีประมาณ 3,000 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน ดังนั้นทำให้เกิดปัญหาได้ และขอเตือนประชาชนไม่อยากให้เชื่อรีวิวตามอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ต้องตรวจสอบให้ถ้วนถี่ ผ่านการรับรองจากแพทยสภา โดยตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย www.surgery.or.th หรือเว็บไซต์ www.plasticsurgery.or.th และสอบถามทาง facebook สมาคมได้เช่นกัน