นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไข้เลือดเป็นโรคที่พบได้ตลอดปี มีการระบาดปีเว้นปี แนวโน้มยังคงพบผู้ป่วยได้ตลอดปี เนื่องจากยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดแหล่งน้ำขังบริเวณพื้นดินและเศษภาชนะต่างๆทำให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
สำหรับข้อมูลเฝ้าระวังโรคสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ 1 ม.ค.-2 พ.ย.2558 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศ 102,762 ราย เสียชีวิต 102 ราย และมีแนวโน้มลดลง โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยมากที่สุด คือ ช่วงกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคืออายุ 5–9 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน เมื่อเทียบกับปีที่มีการระบาดในปี 2556 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 150,000 ราย และใน กทม. 20,000 ราย ขณะที่ปีนี้พบผู้ป่วยในกทม. 12,708 คน
ทั้งนี้ ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทำงานใกล้ชิดกับกรมควบคุมโรค และหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก รวมทั้งให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ลงพื้นที่ที่พบผู้ป่วย เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ให้เกิดการระบาดในการป้องกันควบคุมโรค ขอความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ตามหลัก 5ป (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง และปฏิบัติจนเป็นนิสัย) ได้แก่ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย จะช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลงได้
ด้านนพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่มีข่าว พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 13 กรุงเทพฯ ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนพื้นที่รวมทั้งส่งทีมพ่นฆ่ายุงลายพาหะนำโรคในพื้นที่อีกครั้ง โดยได้ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้ประชาชนปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
สำหรับอาการที่สำคัญคือมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว และมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกภายใน อุจจาระจะมีสีดำ อาเจียนจะมีสีน้ำตาลเข้ม หากมีไข้สูงเกิน 2 วัน ปล่อยไว้ไม่รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาจะมีอาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ให้ระมัดระวังให้มาก เนื่องจากมักจะคิดว่าตนเอง ไม่เป็นไข้เลือดออกและควรหมั่นสังเกต บุคคลในครอบครัว หากพบผู้ป่วยมีอาการป่วยด้วยไข้เลือดออก ให้ไปพบแพทย์ทันที อย่าซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาแอสไพริน หรือยาไอบูโพรเซน ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย และเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
สำหรับข้อมูลเฝ้าระวังโรคสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ 1 ม.ค.-2 พ.ย.2558 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศ 102,762 ราย เสียชีวิต 102 ราย และมีแนวโน้มลดลง โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยมากที่สุด คือ ช่วงกลุ่มอายุ 10-14 ปี รองลงมาคืออายุ 5–9 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน เมื่อเทียบกับปีที่มีการระบาดในปี 2556 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 150,000 ราย และใน กทม. 20,000 ราย ขณะที่ปีนี้พบผู้ป่วยในกทม. 12,708 คน
ทั้งนี้ ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ทำงานใกล้ชิดกับกรมควบคุมโรค และหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก รวมทั้งให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ลงพื้นที่ที่พบผู้ป่วย เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ให้เกิดการระบาดในการป้องกันควบคุมโรค ขอความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ตามหลัก 5ป (ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง และปฏิบัติจนเป็นนิสัย) ได้แก่ ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย จะช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลงได้
ด้านนพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่มีข่าว พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 13 กรุงเทพฯ ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนพื้นที่รวมทั้งส่งทีมพ่นฆ่ายุงลายพาหะนำโรคในพื้นที่อีกครั้ง โดยได้ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้ประชาชนปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
สำหรับอาการที่สำคัญคือมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว และมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกภายใน อุจจาระจะมีสีดำ อาเจียนจะมีสีน้ำตาลเข้ม หากมีไข้สูงเกิน 2 วัน ปล่อยไว้ไม่รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาจะมีอาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ให้ระมัดระวังให้มาก เนื่องจากมักจะคิดว่าตนเอง ไม่เป็นไข้เลือดออกและควรหมั่นสังเกต บุคคลในครอบครัว หากพบผู้ป่วยมีอาการป่วยด้วยไข้เลือดออก ให้ไปพบแพทย์ทันที อย่าซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาแอสไพริน หรือยาไอบูโพรเซน ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย และเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422