พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2558 เรื่องการคุ้มครองการบริหารจัดการข้าวคงเหลือในการดูแลรักษาของรัฐ และการดำเนินการต่อผู้ต้องรับผิด ว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นเครื่องมือหนึ่งในการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาล ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการดำเนินคดีของผู้กระทำผิดที่ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนปกติ จึงไม่ต้องการให้สังคมเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้ยังมีข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลในอดีตคงเหลืออยู่ในการดูแลของรัฐทั่วประเทศเป็นปริมาณมหาศาล จึงจำเป็นต้องระบายออก เพื่อไม่ให้เป็นภาระ ทั้งค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาในโกดังต่าง ๆ และการถูกกดราคาหากเก็บไว้นานกว่านี้
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า การดำเนินการระบายข้าว มีความยากลำบากในการปฏิบัติหลายด้าน เช่น บางคลังมีข้าวล้มกอง จำเป็นต้องจำหน่ายเหมาคลัง ซึ่งอาจมีข้าวใช้ได้ปะปนอยู่บ้าง แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถแยกแยะได้ นอกจากนี้ ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการระบายข้าวหลายคดี และสต็อกข้าวที่จะระบาย จะมีราคาที่แตกต่างจากราคารับจำนำค่อนข้างมาก เพราะเป็นข้าวเสื่อมสภาพ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่กล้าตัดสินใจในการดำเนินการ และหาผู้ปฏิบัติงานได้ยาก ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน ทั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และอีกหลายส่วน ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น และป้องกันการถูกกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า การใช้มาตรา 44 จะช่วยให้การระบายข้าวเร็วขึ้น ทั้งข้าวดีและข้าวเสื่อมสภาพ รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการข้าวในสต็อกของรัฐ และช่วยให้ตลาดข้าวกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วได้ รัฐบาลขอยืนยันว่า แม้จะมีคำสั่งดังกล่าวออกมา แต่ทุกอย่างก็ต้องดำเนินการไปตามข้อกฎหมายและระเบียบขั้นตอนในการระบายข้าว ด้วยความโปร่งใส ไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้ยังมีข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลในอดีตคงเหลืออยู่ในการดูแลของรัฐทั่วประเทศเป็นปริมาณมหาศาล จึงจำเป็นต้องระบายออก เพื่อไม่ให้เป็นภาระ ทั้งค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาในโกดังต่าง ๆ และการถูกกดราคาหากเก็บไว้นานกว่านี้
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า การดำเนินการระบายข้าว มีความยากลำบากในการปฏิบัติหลายด้าน เช่น บางคลังมีข้าวล้มกอง จำเป็นต้องจำหน่ายเหมาคลัง ซึ่งอาจมีข้าวใช้ได้ปะปนอยู่บ้าง แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถแยกแยะได้ นอกจากนี้ ยังมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการระบายข้าวหลายคดี และสต็อกข้าวที่จะระบาย จะมีราคาที่แตกต่างจากราคารับจำนำค่อนข้างมาก เพราะเป็นข้าวเสื่อมสภาพ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่กล้าตัดสินใจในการดำเนินการ และหาผู้ปฏิบัติงานได้ยาก ดังนั้น คำสั่งดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน ทั้งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และอีกหลายส่วน ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น และป้องกันการถูกกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า การใช้มาตรา 44 จะช่วยให้การระบายข้าวเร็วขึ้น ทั้งข้าวดีและข้าวเสื่อมสภาพ รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการข้าวในสต็อกของรัฐ และช่วยให้ตลาดข้าวกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วได้ รัฐบาลขอยืนยันว่า แม้จะมีคำสั่งดังกล่าวออกมา แต่ทุกอย่างก็ต้องดำเนินการไปตามข้อกฎหมายและระเบียบขั้นตอนในการระบายข้าว ด้วยความโปร่งใส ไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ