พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท ติดตามการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา ที่ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 12 โดยมีนายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายฎรงศ์ กรสมตน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 พร้อมด้วยส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดชัยนาทให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับทุกหน่วยงานสร้างความเข้าใจเกษตรกรเกี่ยวกันสถานการณ์น้ำ และมาตรการช่วยเหลือ 8 มาตรการของรัฐบาล พร้อมยืนยันบริหารจัดการน้ำให้พอเพียงจนถึงฤดูฝนปี 2559 จากนั้น เดินทางไปเยี่ยมเกษตรกร และดูพื้นที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่หมู่ 6 ต.ท่าชัย อ.เมืองชัยนาท ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ในปีนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเขื่อนค่อนข้างน้อย สิ่งที่สำคัญคือต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรและส่วนราชการที่ต้องทำหน้าที่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีมาตรการเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว 8 มาตรการ ซึ่ง 7 มาตรการได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจเกษตรกรแล้ว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วยหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ 2 ครั้งแล้ว ส่วนอีกมาตรการหนึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทย คือ "ทีมประเทศไทย" จะมีส่วนราชการลงมาชี้แจงสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชน อีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ จะเน้นการสร้างความเข้าใจว่า ขณะนี้เราไม่สามารถสนับสนุนน้ำได้ จะทำให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำต่อเนื่อง เกษตรกรมีทางเลือกคือ หากไม่ปลูกข้าว สามารถปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน หรือการเลี้ยงสัตว์ หรืองานอื่นๆ รวมทั้งการจ้างแรงงาน หากเกษตรกรเข้าใจและให้ความร่วมมือ จะทำให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับทุกหน่วยงานสร้างความเข้าใจเกษตรกรเกี่ยวกันสถานการณ์น้ำ และมาตรการช่วยเหลือ 8 มาตรการของรัฐบาล พร้อมยืนยันบริหารจัดการน้ำให้พอเพียงจนถึงฤดูฝนปี 2559 จากนั้น เดินทางไปเยี่ยมเกษตรกร และดูพื้นที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่หมู่ 6 ต.ท่าชัย อ.เมืองชัยนาท ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ในปีนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในเขื่อนค่อนข้างน้อย สิ่งที่สำคัญคือต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรและส่วนราชการที่ต้องทำหน้าที่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีมาตรการเสนอคณะรัฐมนตรีแล้ว 8 มาตรการ ซึ่ง 7 มาตรการได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจเกษตรกรแล้ว โดยผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วยหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ 2 ครั้งแล้ว ส่วนอีกมาตรการหนึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทย คือ "ทีมประเทศไทย" จะมีส่วนราชการลงมาชี้แจงสร้างความเข้าใจให้พี่น้องประชาชน อีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ จะเน้นการสร้างความเข้าใจว่า ขณะนี้เราไม่สามารถสนับสนุนน้ำได้ จะทำให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำต่อเนื่อง เกษตรกรมีทางเลือกคือ หากไม่ปลูกข้าว สามารถปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน หรือการเลี้ยงสัตว์ หรืองานอื่นๆ รวมทั้งการจ้างแรงงาน หากเกษตรกรเข้าใจและให้ความร่วมมือ จะทำให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน