นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลได้มีแผนลงทุนผ่านโครงการขนาดเล็กตำบลละ 5 ล้านบาท วงเงินรวมไม่เกิน 36,275 ล้านบาท เพื่อเริ่มลงนามการลงทุนภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ และสามารถเบิกจ่ายเงินออกสู่ระบบได้ในเดือนมกราคม 59 ผ่านโครงการจำนวนมากถึง 149,000 โครงการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จึงมีคำสั่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดเกาะติดดูแลความโปร่งใสในการใช้เงินงบประมาณของรัฐ เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล
นอกจากนี้ ยังให้ทำงานในเชิงรุก ด้วยการเปิดให้ส่วนราชการปรึกษาแนะนำว่าแนวทางการลงทุนแบบใดไม่ส่อไปในทางทุจริต เพื่อให้สอบถามสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดก่อนตัดสินใจดำเนินการหากมีความสงสัย เพื่อเป็นมาตรการป้องปรามก่อนที่จะเกิดการทุจริต และยังเกิดความผิดพลาดน้อยลง ที่สำคัญอย่าทำการลงทุนในลักษณะเดียวกันเหมือนกันหมดทุก องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้สอดคล้องกับแผนลงทุนของท้องถิ่น เนื่องจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มองว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนคิดการทุจริตเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดซ้ำซ้อนเหมือนกัน
รวมทั้งยังเสนอคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญในการกำหนดอำนาจหน้าที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในการป้องกันและดูแลการทุจริต เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายลูกได้สะดวกขึ้น เพื่อเสนอแนวคิดการมอบอำนาจให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรวบรวมข้อมูลความผิดส่งให้อัยการฟ้องได้เองโดยตรง เพื่อเกิดความรวดเร็วในการดำเนินคดีการทุจริตของหน่วยงานต่างๆ จะได้เกิดความเกรงกลัวกระทำความผิด เพราะปัจจุบันหากกระทำผิดแล้วมองว่าอีกนานจะลงโทษได้ และการลงโทษไม่เด็ดขาดพอ จึงทำให้เกิดการทุจริตจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังให้ทำงานในเชิงรุก ด้วยการเปิดให้ส่วนราชการปรึกษาแนะนำว่าแนวทางการลงทุนแบบใดไม่ส่อไปในทางทุจริต เพื่อให้สอบถามสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดก่อนตัดสินใจดำเนินการหากมีความสงสัย เพื่อเป็นมาตรการป้องปรามก่อนที่จะเกิดการทุจริต และยังเกิดความผิดพลาดน้อยลง ที่สำคัญอย่าทำการลงทุนในลักษณะเดียวกันเหมือนกันหมดทุก องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้สอดคล้องกับแผนลงทุนของท้องถิ่น เนื่องจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มองว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนคิดการทุจริตเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดซ้ำซ้อนเหมือนกัน
รวมทั้งยังเสนอคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญในการกำหนดอำนาจหน้าที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในการป้องกันและดูแลการทุจริต เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายลูกได้สะดวกขึ้น เพื่อเสนอแนวคิดการมอบอำนาจให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรวบรวมข้อมูลความผิดส่งให้อัยการฟ้องได้เองโดยตรง เพื่อเกิดความรวดเร็วในการดำเนินคดีการทุจริตของหน่วยงานต่างๆ จะได้เกิดความเกรงกลัวกระทำความผิด เพราะปัจจุบันหากกระทำผิดแล้วมองว่าอีกนานจะลงโทษได้ และการลงโทษไม่เด็ดขาดพอ จึงทำให้เกิดการทุจริตจำนวนมาก