รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เกิดเหตุนักท่องเที่ยวสาวชาวเยอรมัน ถูกพิษของแมงกะพรุนกล่องกัดร่างกายเสียชีวิต 1 ราย คือ น.ส.เธียร์ส ซาสเกีย อายุ 20 ปี สัญชาติเยอรมัน โดยไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย เนื่องจากถูกพิษแมงกะพรุนกล่องบริเวณขาทั้งสองข้าง หน้าท้อง หลังและแขน มีบาดแผลจากการสัมผัสหนวดแมงกะพรุนกล่อง นอกจากนี้ มีคนเจ็บอีก 1 รายคือ น.ส.จิโอวาน์น่า ราสซี่ อายุ 20ปี สัญชาติเยอรมัน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากพิษแมงกะพรุนกล่องขณะเข้าไปช่วยเพื่อน ระหว่างลงเล่นน้ำทะเลตอนกลางคืนบริเวณหาดละไมบนเกาะสมุย
เหตุเกิดขึ้นกลางดึกวันที่ 6ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่บังกะโลได้ยินเสียงกรีดร้อง จึงวิ่งเข้าไปดูพบว่า นักท่องเที่ยวทั้ง 2คน ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดจากพิษของแมงกะพรุนกล่อง จึงโทรศัพท์แจ้งโรงพยาบาลและศูนย์กู้ชีพเทศบาลนครเกาะสมุย ก่อนนำตัวส่ง รพ.กรุงเทพสมุย แต่ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
ต่อมาเวลา 11.00 น.วันที่ 7 ต.ค. นายไพบูลย์ โอมาก นายอำเภอเกาะสมุย เรียกประชุมผู้ประกอบการที่พัก โรงแรมใน อ.เกาะสมุย เพื่อหามาตรการการป้องกัน และแจ้งขั้นตอนการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวถูกพิษแมงกะพรุนกล่องเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการนำป้ายการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำทะเลในช่วงนี้ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกและตอนกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่แมงกะพรุนชนิดนี้ออกหากินมากที่สุด รวมทั้งให้ความรู้พนักงานถึงขั้นตอนการช่วยเหลือ
ด้านนายพิทักษ์ จันทร์เจริญ ประมงอำเภอเกาะสมุย กล่าวว่า จากสถิตินักท่องเที่ยวที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2558 มีนักท่องเที่ยวถูกแมงกะพรุนกล่องทั้งสิ้น 12 ราย โดย 11 ราย ได้รับการช่วยเหลือจนอาการปลอดภัย มีเพียงนักท่องเที่ยวรายนี้รายเดียวที่เสียชีวิต โดยแพทย์ระบุว่าผู้เสียชีวิตจากถูกแมงกะพรุนกล่องเข้าทำร้ายตามร่างกายหลายจุด ทำให้พิษแล่นเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตไว้ได้
“การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกแมงกะพรุนกล่องให้ใช้น้ำทะเลราด แต่ห้ามใช้มือขยี้บาดแผล เนื่องจากจะทำให้เข็มพิษของแมงกะพรุนกล่องที่ติดอยู่ตามร่างกายแตก พิษจะเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากนั้นให้นำน้ำส้มสายชูราดแผล ซึ่งหากได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็สามารถต้านพิษแมงกะพรุนได้ก่อนจะถึงมือแพทย์ จะลดการสูญเสียถึงชีวิตได้” ประมงอำเภอเกาะสมุยกล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เกาะพะงัน ได้รับแจ้งเหตุจากเจ้าหน้าที่รพ.เกาะพะงัน ว่า น.ส.ชญานันท์ สุรินทร์ อายุ 31 ปีนักท่องเที่ยวชาวไทย โดนพิษแมงกะพรุนได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากการสอบสวน ทราบว่า ผู้ตายได้เดินทางมาจาก กทม.เข้ามาท่องเที่ยวกับเพื่อนที่เกาะพะงัน.และช่วงเวลา 20.15น.ผู้ตายกับเพื่อนชื่อ น.ส.ณัฐกานต์ โมระกรานต์ ได้ลงเล่นน้ำทะเล บริเวณหน้าซันไรท์บังกะโล ม.6 ต.บ้านใต้.อ.เกาะพะงัน จากนั้นสันนิษฐานถูกแมงกะพรุนไฟกล่องกัด เพื่อนจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลเกาะพะงันและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
สำหรับพิษแมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) ชาวเล เรียกว่า บอบอกาว หรือ บอบอกล่อง ฉายานามได้มาจากรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมสมชื่อ โดยพิษของแมงกะพรุนกล่อง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก ส่วนชนิดหลายสาย มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ส่วนใหญ่ผู้ได้รับพิษมักมีอาการปวดบริเวณแผล หรืออาจปวดไปทั่วร่างกายในบางราย อาจตายหรือจมน้ำก่อนใครจะช่วยทัน
เหตุเกิดขึ้นกลางดึกวันที่ 6ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่บังกะโลได้ยินเสียงกรีดร้อง จึงวิ่งเข้าไปดูพบว่า นักท่องเที่ยวทั้ง 2คน ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดจากพิษของแมงกะพรุนกล่อง จึงโทรศัพท์แจ้งโรงพยาบาลและศูนย์กู้ชีพเทศบาลนครเกาะสมุย ก่อนนำตัวส่ง รพ.กรุงเทพสมุย แต่ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
ต่อมาเวลา 11.00 น.วันที่ 7 ต.ค. นายไพบูลย์ โอมาก นายอำเภอเกาะสมุย เรียกประชุมผู้ประกอบการที่พัก โรงแรมใน อ.เกาะสมุย เพื่อหามาตรการการป้องกัน และแจ้งขั้นตอนการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวถูกพิษแมงกะพรุนกล่องเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการนำป้ายการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำทะเลในช่วงนี้ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกและตอนกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่แมงกะพรุนชนิดนี้ออกหากินมากที่สุด รวมทั้งให้ความรู้พนักงานถึงขั้นตอนการช่วยเหลือ
ด้านนายพิทักษ์ จันทร์เจริญ ประมงอำเภอเกาะสมุย กล่าวว่า จากสถิตินักท่องเที่ยวที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2558 มีนักท่องเที่ยวถูกแมงกะพรุนกล่องทั้งสิ้น 12 ราย โดย 11 ราย ได้รับการช่วยเหลือจนอาการปลอดภัย มีเพียงนักท่องเที่ยวรายนี้รายเดียวที่เสียชีวิต โดยแพทย์ระบุว่าผู้เสียชีวิตจากถูกแมงกะพรุนกล่องเข้าทำร้ายตามร่างกายหลายจุด ทำให้พิษแล่นเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วไม่สามารถช่วยเหลือชีวิตไว้ได้
“การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกแมงกะพรุนกล่องให้ใช้น้ำทะเลราด แต่ห้ามใช้มือขยี้บาดแผล เนื่องจากจะทำให้เข็มพิษของแมงกะพรุนกล่องที่ติดอยู่ตามร่างกายแตก พิษจะเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากนั้นให้นำน้ำส้มสายชูราดแผล ซึ่งหากได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็สามารถต้านพิษแมงกะพรุนได้ก่อนจะถึงมือแพทย์ จะลดการสูญเสียถึงชีวิตได้” ประมงอำเภอเกาะสมุยกล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เกาะพะงัน ได้รับแจ้งเหตุจากเจ้าหน้าที่รพ.เกาะพะงัน ว่า น.ส.ชญานันท์ สุรินทร์ อายุ 31 ปีนักท่องเที่ยวชาวไทย โดนพิษแมงกะพรุนได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา จากการสอบสวน ทราบว่า ผู้ตายได้เดินทางมาจาก กทม.เข้ามาท่องเที่ยวกับเพื่อนที่เกาะพะงัน.และช่วงเวลา 20.15น.ผู้ตายกับเพื่อนชื่อ น.ส.ณัฐกานต์ โมระกรานต์ ได้ลงเล่นน้ำทะเล บริเวณหน้าซันไรท์บังกะโล ม.6 ต.บ้านใต้.อ.เกาะพะงัน จากนั้นสันนิษฐานถูกแมงกะพรุนไฟกล่องกัด เพื่อนจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลเกาะพะงันและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
สำหรับพิษแมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) ชาวเล เรียกว่า บอบอกาว หรือ บอบอกล่อง ฉายานามได้มาจากรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมสมชื่อ โดยพิษของแมงกะพรุนกล่อง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก ส่วนชนิดหลายสาย มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ส่วนใหญ่ผู้ได้รับพิษมักมีอาการปวดบริเวณแผล หรืออาจปวดไปทั่วร่างกายในบางราย อาจตายหรือจมน้ำก่อนใครจะช่วยทัน