นายแพทย์อังกูร ภัทรากร ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า กัญชาถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ซึ่งผิดกฎหมายแต่ที่ผ่านมากัญชาถูกนำมาใช้ผลิตยารักษาโรค ส่วนตัวเห็นว่าประโยชน์ของกัญชานั้นมีอยู่แต่ขาดการนำไปใช้ประโยชน์ และหากมองการบำบัดผู้เสพติด พบว่าจำนวนผู้เสพติดกัญชาและเข้ามาบำบัดรักษาน้อยมาก ดังนั้นภาครัฐควรจะพูดคุยและหารือกับนักวิชาการเพื่อทบทวนเกี่ยวกับประเด็นนี้ใหม่
ด้านนายกอบกูล จันทะวโร อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ระบุว่า ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับทัศนคติ มองกัญชาว่าเป็นพืชที่มีลักษณะเฉพาะ โดยยกตัวอย่างความสำเร็จด้านการจัดการที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ หลังอนุญาตให้ปลูกและเสพได้อย่างถูกต้องกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนด ขณะเดียวกันควรปรับแก้กฎหมายไม่ให้ส่งเสริมเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์จนเกินควร ซึ่งเชื่อว่าวิธีเหล่านี้น่าจะเป็นทางออกของปัญหา
ขณะที่ตัวแทนผู้มีประสบการณ์เสพกัญชา ระบุว่า การจัดการเรื่องนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง เพื่อให้สังคมเข้าใจว่า กัญญาไม่ใช่สิ่งเสพติดร้ายแรง โดยอ้างงานวิจัยจากต่างประเทศที่ชี้ว่าโทษของกัญชาน้อยกว่าบุหรี่ที่เป็นสิ่งถูกกฎหมายแต่กลับถูกมองว่าเป็นอาชญากรสังคม
ด้านนายกอบกูล จันทะวโร อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ระบุว่า ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับทัศนคติ มองกัญชาว่าเป็นพืชที่มีลักษณะเฉพาะ โดยยกตัวอย่างความสำเร็จด้านการจัดการที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ หลังอนุญาตให้ปลูกและเสพได้อย่างถูกต้องกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนด ขณะเดียวกันควรปรับแก้กฎหมายไม่ให้ส่งเสริมเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์จนเกินควร ซึ่งเชื่อว่าวิธีเหล่านี้น่าจะเป็นทางออกของปัญหา
ขณะที่ตัวแทนผู้มีประสบการณ์เสพกัญชา ระบุว่า การจัดการเรื่องนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง เพื่อให้สังคมเข้าใจว่า กัญญาไม่ใช่สิ่งเสพติดร้ายแรง โดยอ้างงานวิจัยจากต่างประเทศที่ชี้ว่าโทษของกัญชาน้อยกว่าบุหรี่ที่เป็นสิ่งถูกกฎหมายแต่กลับถูกมองว่าเป็นอาชญากรสังคม