เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 58 นายกฤตภาส ศรีแสงขจร ประธานเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากจังหวัดตราด ได้รับแจ้งว่าพบซากโลมาเสียชีวิตมาเกยตื้นชายหาดบริเวณหลังวัดวิสิทธิการาม ม.1 ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด จึงเดินทางไปตรวจสอบพร้อมทีมเจ้าหน้าที่เครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากจังหวัดตราด พบซากโลมา สายพันธุ์อิรวดี ความยาวได้ 175 ซม. ไม่สามารถระบุเพศได้ เนื่องจากเสียชีวิตมาแล้วหลายวัน จากการผ่าพิสูจน์เบื้องต้นพบเศษอาหารจำพวกปลา และสัตว์น้ำทะเลอื่นๆ ในกระเพาะอาหาร คาดเสียชีวิตโดยฉับพลัน
สำหรับโลมาส่วนใหญ่ที่พบในอ่าวตราดจะเป็นโลมาสายพันธุ์อิรวดี และโลมาหัวบาตรหลังเรียบ โดย 2 ชนิดนี้จะพบการเสียชีวิตค่อนข้างมาก ซึ่งจากการตรวจสอบในปี 2558 นี้มีโลมาที่เสียชีวิตใน จ.ตราด รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 31 ตัว โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม นับรวมตัวล่าสุดเสียชีวิตไปแล้ว 7 ตัว ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบหาสาเหตุการเสียชีวิต เพราะซากโลมาที่พบส่วนใหญ่เสียชีวิตมาแล้วหลายวัน และบางตัวเป็นการเสียชีวิตโดยฉับพลันไม่ได้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วย เนื่องจากกระเพาะอาหารของโลมายังมีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ เป็นการแสดงให้เห็นว่าโลมายังหากินอาหารได้ก่อนจะเสียชีวิต ซึ่งถ้าหากเป็นการเสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยนั้น โลมาจะไม่ยอมกินอาหาร ก็จะไม่พบเศษอาหารในกระเพาะอาหาร
นายกฤตภาส ศรีแสงขจร ประธานเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ในช่วงนี้พบซากโลมาเสียชีวิตลอยน้ำมาเกยตื้นชายหาดค่อนข้างบ่อย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 58 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ นับรวมตัวนี้ด้วยพบซากโลมาเสียชีวิตแล้ว 7 ตัว ภายใน 4 วัน โดยเป็นโลมาอิรวดี 4 ตัว และเป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ 3 ตัว ทั้งหมดพบซากลอยมาเกยชายหาดในพื้นที่ อ.คลองใหญ่ ซึ่งซากโลมาส่วนใหญ่ที่พบอยู่ในสภาพเสียชีวิตมาแล้วหลายวัน โดยทางเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ก็ได้มาทำการผ่าพิสูจน์และนำเนื้อเยื่อบางส่วนไปตรวจสอบหาสาเหตุการเสียชีวิต
สำหรับโลมาส่วนใหญ่ที่พบในอ่าวตราดจะเป็นโลมาสายพันธุ์อิรวดี และโลมาหัวบาตรหลังเรียบ โดย 2 ชนิดนี้จะพบการเสียชีวิตค่อนข้างมาก ซึ่งจากการตรวจสอบในปี 2558 นี้มีโลมาที่เสียชีวิตใน จ.ตราด รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 31 ตัว โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม นับรวมตัวล่าสุดเสียชีวิตไปแล้ว 7 ตัว ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบหาสาเหตุการเสียชีวิต เพราะซากโลมาที่พบส่วนใหญ่เสียชีวิตมาแล้วหลายวัน และบางตัวเป็นการเสียชีวิตโดยฉับพลันไม่ได้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วย เนื่องจากกระเพาะอาหารของโลมายังมีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ เป็นการแสดงให้เห็นว่าโลมายังหากินอาหารได้ก่อนจะเสียชีวิต ซึ่งถ้าหากเป็นการเสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยนั้น โลมาจะไม่ยอมกินอาหาร ก็จะไม่พบเศษอาหารในกระเพาะอาหาร
นายกฤตภาส ศรีแสงขจร ประธานเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากจังหวัดตราด เปิดเผยว่า ในช่วงนี้พบซากโลมาเสียชีวิตลอยน้ำมาเกยตื้นชายหาดค่อนข้างบ่อย ซึ่งตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 58 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ นับรวมตัวนี้ด้วยพบซากโลมาเสียชีวิตแล้ว 7 ตัว ภายใน 4 วัน โดยเป็นโลมาอิรวดี 4 ตัว และเป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ 3 ตัว ทั้งหมดพบซากลอยมาเกยชายหาดในพื้นที่ อ.คลองใหญ่ ซึ่งซากโลมาส่วนใหญ่ที่พบอยู่ในสภาพเสียชีวิตมาแล้วหลายวัน โดยทางเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ก็ได้มาทำการผ่าพิสูจน์และนำเนื้อเยื่อบางส่วนไปตรวจสอบหาสาเหตุการเสียชีวิต