เมื่อวันที่ 5 ส.ค. นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และ กรรมการองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย พร้อมแกนนำชาวบ้านจาก สมัชชาคนจน และกลุ่มเพื่อนประมาณ 50 คน รวมทั้งขบวนการประชาธิปไตยใหม่ อาทิ รังสิมันต์ โรม และชลธิชา แจ้งเร็ว ได้เดินทางมาที่ สน. สำราญราษฎร์ เพื่อรับข้อหาตามหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน กรณีเมื่อวันที่ 24-26 มิ.ย. 2558 กิจกรรมรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่
นายบารมีกล่าวถึงกรณีที่ตำรวจนำสืบว่า พบนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คนเข้าพักในสวนเงินมีมาที่ตนเองเป็นผู้ดูแลว่าไม่ได้เป็นการให้ที่พักสนับสนุน เพราะสวนเงินมีมาเป็นสถานที่เปิดที่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปเช่าพักได้อยู่แล้ว เมื่อนักศึกษาติดต่อขอเช่าที่พักจึงเป็นไปตามการให้บริการปกติของสวนเงินมีมา
"ตำรวจแจ้งข้อหา 2 ข้อหาเนื่องจากสืบทราบว่านักศึกษาทั้ง 14 คนไปพักอยู่ที่มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ที่สวนเงินมีมา ซึ่งผมเป็นกรรมการและผู้ดูแลสวนเงินมีมา และเป็นคนนำพาเจ้าหน้าที่ไปตรวจค้นในวันที่ 26 มิ.ย.2558 ซึ่งเป็นวันที่ตำรวจเข้าไปจับนักศึกษา ทางตำรวจก็เลยเห็นว่าผมน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย เบื้องต้นปฏิเสธทุกข้อหาและจะทำหนังสือให้การเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน และยืนยันว่าจะไปให้การในชั้นศาล" นายบารมีกล่าว
สำหรับความสัมพันธ์กับนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คนนั้น นายบารมีกล่าวว่าตนทำงานกับสมัชชาคนจน จึงรู้จักนักศึกษาบางคนที่เคยทำงานร่วมกับชาวบ้าน แต่ไม่ได้สนิทสนมกัน เมื่อถามว่ามั่นใจว่าจะชี้แจงข้อกล่าวหาได้หรือไม่ นายบารมีกล่าวว่า "ผมเชื่อว่าพวกนักศึกษาเขาทำโดยสุจริต เพราะฉะนั้นจะเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นไปด้วยกัน"
ด้านเครือข่ายสมัชชาคนจนที่เข้ามาให้กำลังใจนายบารมีได้แจกแถลงการณ์ในนามของสมัชชาคนจน มีเนื้อหาบางส่วน ระบุว่า การกล่าวหานายบารมีด้วยข้อหานี้ สร้างความหวาดกลัวให้คนจน ทำให้ไม่กล้าต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในฐานะพลเมือง สมัชชาคนจนจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินคดีต่อนายบารมี และนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คนในทันที ให้รัฐบาลยุติการใช้กำลังใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนจนที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยแนวทางสันติวิธีโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข และข้อให้รัฐบาลคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนในทันที โดยไม่มีเงื่อนไขด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ภายหลังที่เสร็จสิ้นการเข้ารับทราบข้อกล่าวหา นายบารมีได้เข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญตามความเชื่อ เพื่อขอพรให้นายบารมี
ด้านรูเพิร์ต แอ็บบอต ผู้อำนวยการงานวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นกังวลอย่างยิ่งต่อกรณีที่นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนและกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ที่ว่าด้วยการขัดขืนอำนาจปกครอง โดยทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ส่งหนังสือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้แสดงความกังวลในกรณีนี้ไปกับทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยด้วย เพราะข้อหาดังกล่าวถือเป็นความพยายามอย่างชัดเจนในการขัดขวางการแสดงออกอย่างสงบของผู้ที่มีความเห็นต่าง ซึ่งขัดต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นข้อหาดังกล่าวจะต้องถูกยกเลิกโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข
นายบารมีกล่าวถึงกรณีที่ตำรวจนำสืบว่า พบนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คนเข้าพักในสวนเงินมีมาที่ตนเองเป็นผู้ดูแลว่าไม่ได้เป็นการให้ที่พักสนับสนุน เพราะสวนเงินมีมาเป็นสถานที่เปิดที่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปเช่าพักได้อยู่แล้ว เมื่อนักศึกษาติดต่อขอเช่าที่พักจึงเป็นไปตามการให้บริการปกติของสวนเงินมีมา
"ตำรวจแจ้งข้อหา 2 ข้อหาเนื่องจากสืบทราบว่านักศึกษาทั้ง 14 คนไปพักอยู่ที่มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ที่สวนเงินมีมา ซึ่งผมเป็นกรรมการและผู้ดูแลสวนเงินมีมา และเป็นคนนำพาเจ้าหน้าที่ไปตรวจค้นในวันที่ 26 มิ.ย.2558 ซึ่งเป็นวันที่ตำรวจเข้าไปจับนักศึกษา ทางตำรวจก็เลยเห็นว่าผมน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย เบื้องต้นปฏิเสธทุกข้อหาและจะทำหนังสือให้การเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน และยืนยันว่าจะไปให้การในชั้นศาล" นายบารมีกล่าว
สำหรับความสัมพันธ์กับนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คนนั้น นายบารมีกล่าวว่าตนทำงานกับสมัชชาคนจน จึงรู้จักนักศึกษาบางคนที่เคยทำงานร่วมกับชาวบ้าน แต่ไม่ได้สนิทสนมกัน เมื่อถามว่ามั่นใจว่าจะชี้แจงข้อกล่าวหาได้หรือไม่ นายบารมีกล่าวว่า "ผมเชื่อว่าพวกนักศึกษาเขาทำโดยสุจริต เพราะฉะนั้นจะเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นไปด้วยกัน"
ด้านเครือข่ายสมัชชาคนจนที่เข้ามาให้กำลังใจนายบารมีได้แจกแถลงการณ์ในนามของสมัชชาคนจน มีเนื้อหาบางส่วน ระบุว่า การกล่าวหานายบารมีด้วยข้อหานี้ สร้างความหวาดกลัวให้คนจน ทำให้ไม่กล้าต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในฐานะพลเมือง สมัชชาคนจนจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินคดีต่อนายบารมี และนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คนในทันที ให้รัฐบาลยุติการใช้กำลังใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนจนที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยแนวทางสันติวิธีโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข และข้อให้รัฐบาลคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนในทันที โดยไม่มีเงื่อนไขด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ภายหลังที่เสร็จสิ้นการเข้ารับทราบข้อกล่าวหา นายบารมีได้เข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญตามความเชื่อ เพื่อขอพรให้นายบารมี
ด้านรูเพิร์ต แอ็บบอต ผู้อำนวยการงานวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นกังวลอย่างยิ่งต่อกรณีที่นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนและกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ที่ว่าด้วยการขัดขืนอำนาจปกครอง โดยทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ส่งหนังสือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้แสดงความกังวลในกรณีนี้ไปกับทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยด้วย เพราะข้อหาดังกล่าวถือเป็นความพยายามอย่างชัดเจนในการขัดขวางการแสดงออกอย่างสงบของผู้ที่มีความเห็นต่าง ซึ่งขัดต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นข้อหาดังกล่าวจะต้องถูกยกเลิกโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข