นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ขุดเจาะและพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้งเร่งด่วนภาคกลาง รวม 511 แห่ง ช่วยเหลือเกษตรกรพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและภาคเหนือตอนล่างที่ประสบภัยแล้ง 15 จังหวัด แล้ว 487 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 95.30 จากแผนทั้งหมด อยู่ระหว่างดำเนินการขุดเจาะ 20 แห่ง และติดตั้งปั๊มสูบน้ำแบบเทอร์ไบน์แล้ว 221 แห่ง สามารถดึงปริมาณน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้ 209,913.60 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ส่วนบ่อน้ำบาดาลเดิม (บ่อสังเกตการณ์) ที่ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแบบจุ่มน้ำแล้ว 222 แห่ง จากทั้งหมด 380 แห่ง ดึงปริมาณน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ 33,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ทั้งนี้ ในภาพรวมบ่อน้ำบาดาลทั้งหมด 891 แห่ง มีบ่อที่ขุดและซ่อมแซมเสร็จใช้งานได้แล้ว 709 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 79.57 รวมปริมาณน้ำใต้ดินที่ดึงมาใช้ประโยชน์ได้ 243,213.60 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งจะช่วยเหลือพื้นที่เกษตรให้มีน้ำใช้ได้ประมาณ 350,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พื้นที่เกษตรกรรมได้รับประโยชน์ 150,000 ไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4,000 ครัวเรือน
ส่วนบ่อน้ำบาดาลเดิม (บ่อสังเกตการณ์) ที่ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแบบจุ่มน้ำแล้ว 222 แห่ง จากทั้งหมด 380 แห่ง ดึงปริมาณน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ 33,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ทั้งนี้ ในภาพรวมบ่อน้ำบาดาลทั้งหมด 891 แห่ง มีบ่อที่ขุดและซ่อมแซมเสร็จใช้งานได้แล้ว 709 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 79.57 รวมปริมาณน้ำใต้ดินที่ดึงมาใช้ประโยชน์ได้ 243,213.60 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งจะช่วยเหลือพื้นที่เกษตรให้มีน้ำใช้ได้ประมาณ 350,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พื้นที่เกษตรกรรมได้รับประโยชน์ 150,000 ไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4,000 ครัวเรือน