รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการแจ้งว่า การประชุมร่วมระหว่างเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินและตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งมี พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นคนกลางจากฝ่ายรัฐบาล ได้มีข้อสรุปว่าทาง กฟผ.และ สผ.จะยุติกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ตามที่เครือข่ายปกป้องอันดามันฯ ได้ขอความชัดเจน เนื่องจากทางเครือข่ายภาคประชาชนมองว่ากระบวนการจัดทำก่อนหน้านี้ ไม่มีความชอบธรรม ไม่มีการศึกษาอย่างรอบด้าน ซึ่งได้สร้างความพอใจให้กับทางเครือข่ายฯ
ส่วนประเด็นเรื่องการเปิดซื้อซองประกวดราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ มูลค่าเริ่มต้น 49,500 ล้านบาท ทาง กฟผ.บอกว่ามีความจำเป็นต้องให้กระบวนการนี้ดำเนินต่อไป เนื่องที่ผ่านมาประสานกับบริษัทต่างชาติไว้แล้วจึงไม่อยากให้ยกเลิก แต่ตัวแทน กฟผ.ยืนยันว่ากระบวนการที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ จะไม่มีผลเกี่ยวเนื่องทางกฎหมาย ประเด็นนี้ทำให้เครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าจะทำให้รัฐเสียหายจากการเปิดให้ซื้อซองประกวดราคาก่อสร้างทั้งที่กระบวนการต่างๆ ต้องยุติไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันกับทางเครือข่ายฯว่า เบื้องต้นทุกฝ่ายต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน ส่วนรายละเอียดทั้งหมดโดยเฉพาะประเด็นการใช้พลังงานทางเลือกของ จ.กระบี่ จะให้มีการพูดคุยอีกครั้งในคณะกรรมการไตรภาคีที่จะตั้งขึ้นเพื่อให้ได้แนวทางข้อสรุปร่วมกันที่ชัดเจน
ส่วนประเด็นเรื่องการเปิดซื้อซองประกวดราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ มูลค่าเริ่มต้น 49,500 ล้านบาท ทาง กฟผ.บอกว่ามีความจำเป็นต้องให้กระบวนการนี้ดำเนินต่อไป เนื่องที่ผ่านมาประสานกับบริษัทต่างชาติไว้แล้วจึงไม่อยากให้ยกเลิก แต่ตัวแทน กฟผ.ยืนยันว่ากระบวนการที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ จะไม่มีผลเกี่ยวเนื่องทางกฎหมาย ประเด็นนี้ทำให้เครือข่ายฯ ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าจะทำให้รัฐเสียหายจากการเปิดให้ซื้อซองประกวดราคาก่อสร้างทั้งที่กระบวนการต่างๆ ต้องยุติไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันกับทางเครือข่ายฯว่า เบื้องต้นทุกฝ่ายต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน ส่วนรายละเอียดทั้งหมดโดยเฉพาะประเด็นการใช้พลังงานทางเลือกของ จ.กระบี่ จะให้มีการพูดคุยอีกครั้งในคณะกรรมการไตรภาคีที่จะตั้งขึ้นเพื่อให้ได้แนวทางข้อสรุปร่วมกันที่ชัดเจน