พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึง พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ ว่า หากประสงค์จะชุมนุม ผู้ชุมนุมจะต้องแจ้งผู้กำกับสถานีตำรวจเจ้าของพื้นที่จัดชุมนุมก่อน 24 ชั่วโมง หากตำรวจพื้นที่คัดค้าน ผู้ชุมนุมสามารถอุทธรณ์ได้ 1ครั้ง กับผู้ที่มีระดับเหนือผู้กำกับเจ้าของพื้นที่ขึ้นไป แต่หากยังถูกคัดค้านอีก และผู้ชุมนุมยังฝ่าฝืนที่จะชุมนุม ตำรวจเจ้าของพื้นที่สามารถสั่งให้ยกเลิกการชุมนุมได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนในการสั่งให้ยกเลิกการชุมนุมเป็นระดับจากเบาไปหาหนัก แต่ทั้งนี้ผู้ชุมนุมสามารถยื่นอุธรณ์ต่อศาลได้อีก 1 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของ พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ มีทั้งหมด 35 มาตรา ใน 5 หมวด ซึ่งจะต้องมีการประกาศกำหนดเรื่องการแจ้งการชุมนุม เพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการ ไม่ให้ไปมีผลกระทบต่อผู้อื่น โดยสามารถแจ้งได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนแผนควบคุมการชุมนุมเดิมเป็นแผนกรกต แต่ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่จัดทำแผนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ก่อนนำมาปฏิบัติกับผู้ชุมนุม โดยอัตราโทษหากมีการฝ่าฝืน จำคุก 6 เดือน ถึง 10ปี
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของ พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ มีทั้งหมด 35 มาตรา ใน 5 หมวด ซึ่งจะต้องมีการประกาศกำหนดเรื่องการแจ้งการชุมนุม เพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการ ไม่ให้ไปมีผลกระทบต่อผู้อื่น โดยสามารถแจ้งได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนแผนควบคุมการชุมนุมเดิมเป็นแผนกรกต แต่ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่จัดทำแผนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ก่อนนำมาปฏิบัติกับผู้ชุมนุม โดยอัตราโทษหากมีการฝ่าฝืน จำคุก 6 เดือน ถึง 10ปี