นายเลิศศักดิ์ จิงหะรานนท์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า กทพ.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการทางพิเศษ เพื่อจัดทำแผนแม่บททางพิเศษในจังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นได้นำเสนอ 5 แนวเส้นทาง เพื่อพิจารณาใช้ในการก่อสร้าง คือ แนวเส้นทางเอ เป็นเส้นทางที่เชื่อมการเดินทางระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ของเชียงใหม่ แนวเส้นทางแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มต้นใกล้กับสนามกีฬา 700 ปี ไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบ 2 ด้านใต้ ระยะทาง 9.6 กิโลเมตร (กม.) ระยะที่ 2 เป็นเส้นทางส่วนต่อขยายจากระยะที่หนึ่ง มุ่งไปทางทิศเหนือ บรรจบที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 ระยะทาง 4.8 กม. ระยะที่ 3 เป็นเส้นทางส่วนต่อขยายจากส่วนที่สอง สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ระยะทาง 7.1 กม. รวมระยะทาง 25.1 กม.
นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า แนวเส้นทางบี เป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางระหว่างด้านทิศตะวันตก และตะวันออก แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เชื่อมต่อจากแนวเส้นทางเอ บริเวณสนามกีฬา 700 ปี ไปสิ้นสุดที่เทศบาลตำบลต้นเปา ระยะทาง 16.4 กม. ระยะที่ 2 เป็นส่วนต่อขยายจากระยะที่หนึ่ง ไปสิ้นสุดใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 บริเวณ อ.แม่ออน ระยะทาง 11.2 กม. รวมระยะทางทั้งสิ้น 27.6 กม. แนวเส้นทางซี เป็นแนวเส้นทางที่เชื่อมทิศเหนือและใต้ ฝั่งตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นของเส้นทางใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมลำพูน แนวเส้นทางมุ่งขึ้นเหนือ ไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 ที่ อ.ดอยสะเก็ด รวมระยะทาง 29.1 กม. แนวเส้นทางดี เป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางระหว่างทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้ มีจุดเริ่มต้นของเส้นทางที่ถนนวงแหวนรอบ 2 ด้านใต้ มุ่งไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่แนวเส้นทางบี รวมระยะทางประมาณ 12.7 กม. แนวเส้นทางอี เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ของเชียงใหม่ เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สิ้นสุดบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3029 รวมระยะทาง 16.8 กม.
นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเส้นทางดังกล่าวจะเอื้ออำนวยประโยชน์ด้านการคมนาคม ช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่และการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงด้วย
นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า แนวเส้นทางบี เป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางระหว่างด้านทิศตะวันตก และตะวันออก แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เชื่อมต่อจากแนวเส้นทางเอ บริเวณสนามกีฬา 700 ปี ไปสิ้นสุดที่เทศบาลตำบลต้นเปา ระยะทาง 16.4 กม. ระยะที่ 2 เป็นส่วนต่อขยายจากระยะที่หนึ่ง ไปสิ้นสุดใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 บริเวณ อ.แม่ออน ระยะทาง 11.2 กม. รวมระยะทางทั้งสิ้น 27.6 กม. แนวเส้นทางซี เป็นแนวเส้นทางที่เชื่อมทิศเหนือและใต้ ฝั่งตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นของเส้นทางใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมลำพูน แนวเส้นทางมุ่งขึ้นเหนือ ไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 ที่ อ.ดอยสะเก็ด รวมระยะทาง 29.1 กม. แนวเส้นทางดี เป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางระหว่างทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้ มีจุดเริ่มต้นของเส้นทางที่ถนนวงแหวนรอบ 2 ด้านใต้ มุ่งไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่แนวเส้นทางบี รวมระยะทางประมาณ 12.7 กม. แนวเส้นทางอี เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ของเชียงใหม่ เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สิ้นสุดบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3029 รวมระยะทาง 16.8 กม.
นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเส้นทางดังกล่าวจะเอื้ออำนวยประโยชน์ด้านการคมนาคม ช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่และการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงด้วย