นายสุภณ สดสุ่น ผู้อำนวยการศูนย์เมขลา กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า กรมทรัพยากรน้ำ ได้ส่งรถน้ำเข้าพื้นที่บรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำยม 5 จังหวัด คือ อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พิษณุโลก สุโขทัย
สำหรับพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำประปา 9 จังหวัด คาดว่า สถานการณ์จะเริ่มบรรเทาภายใน 1-2 สัปดาห์ จากฝนที่เริ่มตกลงมา ส่วนภาพรวมสถานการณ์น้ำยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะหากฝนตกปริมาณไม่พอไหลเข้าเขื่อนใหญ่ จะเกิดการขาดแคลนน้ำจนถึงปีหน้าได้ ซึ่งจากสถิติช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2548 - 2556 พบพื้นที่แล้งซ้ำซากเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากฝนตกน้อย หรือฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ซึ่งในปี 2556 มีสูงถึง 73,072 หมู่บ้าน
สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำและภัยแล้ง ที่ศูนย์เมขลา กรมทรัพยากรน้ำ ได้รายงานสถานการณ์น้ำผ่านระบบซีซีทีวี และระบบโทรมาตร เพื่อนำข้อมูลเสนอผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกวันอย่างต่อเนื่อง
สำหรับพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำประปา 9 จังหวัด คาดว่า สถานการณ์จะเริ่มบรรเทาภายใน 1-2 สัปดาห์ จากฝนที่เริ่มตกลงมา ส่วนภาพรวมสถานการณ์น้ำยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะหากฝนตกปริมาณไม่พอไหลเข้าเขื่อนใหญ่ จะเกิดการขาดแคลนน้ำจนถึงปีหน้าได้ ซึ่งจากสถิติช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2548 - 2556 พบพื้นที่แล้งซ้ำซากเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากฝนตกน้อย หรือฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ซึ่งในปี 2556 มีสูงถึง 73,072 หมู่บ้าน
สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำและภัยแล้ง ที่ศูนย์เมขลา กรมทรัพยากรน้ำ ได้รายงานสถานการณ์น้ำผ่านระบบซีซีทีวี และระบบโทรมาตร เพื่อนำข้อมูลเสนอผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกวันอย่างต่อเนื่อง