ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2558 นี้ ‘ดาวเคียงเดือน’ จะกลับมาปรากฏให้เห็นอีกครั้ง มีดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ อยู่เคียงกัน ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณสองทุ่ม จึงตกลับขอบฟ้าไป คล้ายกับวันที่ 20 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ ‘ดาวเคียงเดือน’ ในครั้งนี้ ดาวศุกร์เปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันเพียง 5 องศา พร้อมดวงจันทร์ข้างขึ้น 2 ค่ำปรากฏเป็นเสี้ยว ตะแคงอยู่ด้านล่างของดาวเคราะห์ทั้งสอง ดวงจันทร์อยู่ห่างจากดาวเคราะห์ทั้งสองมากกว่า จึงไม่วางตัวเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าเหมือนครั้งที่ผ่านมา และอาจสังเกตได้ยากกว่า เนื่องจากดวงจันทร์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าเพียงเล็กน้อยและมีแสงสนธยารบกวน
นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย หากวันดังกล่าวท้องฟ้าปลอดโปร่งไม่มีเมฆฝนก็จะมีโอกาสมองเห็นได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สำหรับปรากฏการณ์ ‘ดาวเคียงเดือน’ ในลักษณะคล้าย ดวงจันทร์ยิ้ม ที่จะสามารถเห็นได้ใประเทศไทย ต้องรอคอยกันอีกนานพอสมควรจึงจะได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี หลังจากวันที่ 18 ก.ค. เป็นต้นไป ดาวเคราะห์ทั้งสองจะเคลื่อนห่างออกจากกันเรื่อยๆ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้สังเกตด้วยตาเปล่าได้ยาก จนถึงประมาณวันที่ 24 ตุลาคม 2558 ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะกลับมาปรากฏให้เห็นเคียงกันอีกครั้ง ในช่วงเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สามารถติดตามได้ที่ www.narit.or.th หรือ www.facebook.com/NARITpage.
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ ‘ดาวเคียงเดือน’ ในครั้งนี้ ดาวศุกร์เปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันเพียง 5 องศา พร้อมดวงจันทร์ข้างขึ้น 2 ค่ำปรากฏเป็นเสี้ยว ตะแคงอยู่ด้านล่างของดาวเคราะห์ทั้งสอง ดวงจันทร์อยู่ห่างจากดาวเคราะห์ทั้งสองมากกว่า จึงไม่วางตัวเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าเหมือนครั้งที่ผ่านมา และอาจสังเกตได้ยากกว่า เนื่องจากดวงจันทร์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าเพียงเล็กน้อยและมีแสงสนธยารบกวน
นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย หากวันดังกล่าวท้องฟ้าปลอดโปร่งไม่มีเมฆฝนก็จะมีโอกาสมองเห็นได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สำหรับปรากฏการณ์ ‘ดาวเคียงเดือน’ ในลักษณะคล้าย ดวงจันทร์ยิ้ม ที่จะสามารถเห็นได้ใประเทศไทย ต้องรอคอยกันอีกนานพอสมควรจึงจะได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี หลังจากวันที่ 18 ก.ค. เป็นต้นไป ดาวเคราะห์ทั้งสองจะเคลื่อนห่างออกจากกันเรื่อยๆ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น ทำให้สังเกตด้วยตาเปล่าได้ยาก จนถึงประมาณวันที่ 24 ตุลาคม 2558 ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะกลับมาปรากฏให้เห็นเคียงกันอีกครั้ง ในช่วงเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ สามารถติดตามได้ที่ www.narit.or.th หรือ www.facebook.com/NARITpage.