เมื่อวันที่ 6 ก.ค.58 นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวถึงกลไกเปลี่ยนผ่านจาก คสช.สู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนว่า การเมืองต้องเคลื่อนไปสู่ประชาธิปไตยการเป็นประชาธิปไตยคุณภาพหรืออารยะทำให้ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ประชาธิปไตยควรจะป้องกันความรุนแรงขจัดคอร์รัปชั่นและมีสมรรถนะในการแก้ปัญหาของประเทศ และนำประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองอาจเรียกว่าประชาธิปไตยอรรถประโยชน์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยมิคสัญญีกลียุค 1. ทำไมรัฐบาลต่างๆ ถึงแก้ปัญหาประเทศไทยไม่ได้ เรามีนายกรัฐมนตรีหลายบุคลิก ตั้งแต่จอมพล ป. ปรีดี สฤษดิ์ สัญญา เสนี คึกฤทธิ์ เปรม ทักษิณ ฯลฯ บางท่านก็เก่งและดีกว่าลี กวน ยู แต่สังคมไทยซับซ้อนและยากกว่าสิงคโปร์มาก ต้นตอของความยากมาจากโครงสร้างของสังคมที่กำหนดพฤติกรรมของคนไทยเราเป็นสังคมที่มีสัมพันธภาพเชิงอำนาจมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โครงสร้างความสัมพันธ์ในสังคมจะมีผลต่อสมองและพฤติกรรมของคนในสังคมในสังคมอำนาจผู้คนจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนต่างๆ เช่น โกงมาก เรียนรู้น้อย เป็นศรีธนชัย ไม่ใช้ความจริงนินทาว่าร้าย เฉื่อย ไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม แตกแยกกันสูงโดยสรุปเป็นสังคมที่ขาดความเป็นธรรม โดยพื้นฐานสังคมที่เป็นอย่างนี้จะพัฒนาอะไรก็จะยากไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนาไม่มีรัฐบาลใดๆ จะแก้ปัญหาได้ ประเด็นจึงไม่ใช่การต่อสู้กันว่าพรรคใดจะได้เป็นรัฐบาลเพราะไม่ว่าพรรคใดเป็นก็แก้ปัญหาไม่ได้ ในเรื่องที่สำคัญๆ ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างพรรคโดยเอาประเทศเป็นตัวตั้ง
นพ.ประเวศ กล่าวอีกว่า 2. จากสังคมที่เป็นปัญหาน้อยแตกแยกมาก จะเกิดพลังสร้างสรรค์ออกจากวิกฤติได้อย่างไร จากโครงสร้างและพฤติกรรมของสังคมที่กล่าวถึงในข้อ 1 สังคมไทยมีปัญญาน้อยแตกแยกมาก ทำให้วิกฤติและไม่มีพลังออกจากวิกฤติ ที่ว่ามีปัญญาน้อยเพราะเหตุ 3 อย่าง คือ หนึ่งอยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีภัยธรรมชาติน้อยจึงขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สอง ปกครองด้วยการรวมศูนย์อำนาจมานานข้าราชการคุ้นเคยกับการใช้อำนาจมากกว่าใช้ปัญญา สาม ระบบการศึกษาที่เน้นการท่องวิชามากกว่าการเรียนรู้จากชีวิตจริงปฏิบัติจริงทำให้คนไทยไม่รู้ความจริงของแผ่นดินไทย เมื่อไม่รู้ความจริงก็ทำให้ถูกต้องไม่ได้ เพราะขาดปัญญารัฐไทยจึงแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนไม่ได้เช่น แก้ความยากจนไม่ได้ ไม่สามารถจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน นโยบายของรัฐก่อให้เกิดความล้มละลายของเกษตรกรทั่วประเทศและความแห้งแล้งอย่างไม่มีทางแก้ไขได้ การขาดแคลนน้ำและความยากจนของเกษตรกรขณะนี้เป็นปัญหาใหญ่มากที่ไม่มีรัฐบาลใดๆ จะแก้ได้ เพราะรัฐไทยขาดปัญญา
นพ.ประเวศ กล่าวว่า การที่คนไทยรู้น้อย และรู้เป็นส่วนๆ จึงแตกแยกกันสูง ทำนองตาบอดคลำช้าง ความแตกแยกมีอยู่ทั่วไปทุกวงการมีการวิเคราะห์วิจารณ์มากกว่า ขาดภูมิปัญญาทางการสังเคราะห์และการจัดการ ประเทศจึงไม่มีพลังสร้างสรรค์ที่จะออกจากสภาวะวิกฤติในสภาพความซับซ้อนและยาก เช่นนี้ ใช้อำนาจก็แก้ปัญหาไม่ได้ คุณทักษิณก็ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจที่สุดยังทำไม่สำเร็จซึ่งผมเคย เตือนท่านไว้ล่วงหน้าแล้ว ถ้าสภาพปัญญาน้อยแตกแยกมากทำให้หมดพลังการสร้างพลังก็ต้องเปลี่ยนเป็นรวมตัวกันและมีกลไกการใช้ปัญญา ระหว่างที่ คสช.ถืออำนาจสูงสุดจะใช้อำนาจนั้นสร้างระบบพฤติกรรม และความเคยชินใหม่อย่างไร เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยอรรถประโยชน์ นอกเหนือไปจากระบบและองค์กรที่มีอยู่แล้ว
นพ.ประเวศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ควรมีกลไกเฉพาะหน้า 5 ประการ ทำงานเชื่อมโยง ประกอบด้วย 1. ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยคัดคนที่มีความสามารถสูงๆ จากพรรคการเมืองบวกคนนอกมาทำงานร่วมกันเพื่อฝึกความเคยชินของความร่วมมือกันเพื่อประเทศต่อไป เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วไม่ใช่ต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย รัฐบาลแห่งชาติพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดร่วมกับกลไกอีก 4 ประการ 2. คสช.เลือกทำเฉพาะเรื่องที่ยากสุดๆ ที่รัฐบาลใดๆ ก็ทำไม่ได้ถ้า คสช.ไปทำเสียหมดทุกเรื่องก็หมดกำลัง ทิ้งเรื่องยากไว้ให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งซึ่งก็คงทำไม่ได้ ประเทศก็จะวิกฤติต่อไป ตัวอย่างของเรื่องยากๆ ที่ คสช.ควรทำ เช่น ป้องกันการใช้ความรุนแรง สร้างระบบและกลไก แก้ปัญหาความยากจนและจัดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ถ้าสามารถจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎรที่ยากจนครอบครัวละ 2-3 ไร่ ทำเกษตรยั่งยืนจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จถาวรทั้งเรื่องความยากจน การขาดแคลนน้ำ และค่าแรงขั้นต่ำ คืนอำนาจให้ประชาชนปกครองตนเองในรูปของชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง เรื่องนี้จะดูแลแก้ปัญหาของประเทศไปได้ 80-90 เปอร์เซ็นต์ การปฏิรูประบบราชการโดยกระจายอำนาจให้ผู้อื่นทำให้มากที่สุดโดยระบบราชการปรับบทบาทไปเป็นผู้สนับสนุนทางนโยบายและวิชาการ ปราบปรามคอร์รัปชั่น อิทธิพล นักเลง ที่เกาะกุมทรัพยากรของส่วนรวมปฏิรูประบบความยุติธรรมซึ่งรวมถึงกิจการตำรวจ เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาถ้าระบบการศึกษาเปลี่ยนประเทศไทยจะเปลี่ยนระบบการศึกษาที่ดื้อยามาก ไม่เคยมีรัฐบาลใดๆ เปลี่ยนได้ เป็นต้น การปฏิรูปใดๆ จะประสบการต่อต้านต้องทำงานเชิงยุทธศาสตร์เป็น
นพ.ประเวศ กล่าวขยายให้เห็นอีกว่า 3. คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ มีคณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็ง สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งในประเทศและในโลกนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ ทำการสื่อสารให้รู้ถึงกันทั้งรัฐบาล คสช. หน่วยงานของรัฐสาธารณะ เพื่อทำให้เกิดปัญญาร่วมและพลังร่วม รวมทั้งเป็นกลไกในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ให้รัฐบาลและ คสช. เพื่อบริหาร เรื่องยากให้เป็นผลสำเร็จงานนี้ต้องการความเข้มแข็งทางปัญญาสูงสุด จะใช้รูปแบบและพิธีการไม่ได้ ปัญญาตามแบบธรรมดา (conventional wisdom) หาเพียงพอไม่ คณะทำงานยุทธศาสตร์ต้องศึกษาจากผู้นำชุมชนท้องถิ่นและจากประชาคมด้วย 4. ภาคผู้นำชุมชนท้องถิ่นชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ ถ้าฐานของประเทศแข็งแรงก็จะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่งคงขณะนี้มีผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่เก่งๆ ดีๆ นับแสนคน คนเหล่านี้รู้ความจริงของประเทศไทยหรือภูมิสังคมต่างจากคนข้างบนเพราะเขาอยู่กับชีวิตจริงปฏิบัติจริง เขารู้ปัญหาของประเทศและวิธีแก้ไข ในรอบร้อยปีที่เราพัฒนาสมัยใหม่เราไม่เคยให้คุณค่าแก่ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น เราให้คุณค่าแต่กับภูมิปัญญาข้างบน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาตามตำราที่นำเข้ามาจากต่างประเทศโดยไม่รู้ความจริงประเทศไทย ก่อให้เกิดมิจฉาพัฒนา ซึ่งสร้างวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ขณะนี้ผู้นำชุมชนท้องถิ่นกำลังทำเรื่องดีๆ เป็นอันมากโดยมีองค์กรต่างๆ สนับสนุน เช่น พอช. สสส. สปสช. สช. ธกส. สภาพัฒนาการเมือง รัฐบาล คสช. คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ และระบบราชการ ควรเรียนรู้จากภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น และพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นประเทศมีพลังทางปัญญาและพลังทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การที่สามารถโยงภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นขึ้นมาเป็นนโยบายระดับชาติได้จะทำให้ความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้น
นพ.ประเวศ กล่าวว่า 5. ภาคประชาสังคม ใน 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการรวมตัวของคนไทยที่เรียกว่า ประชาคมทำงานในพื้นที่และประเด็นต่างๆ เช่นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ประชาคมจังหวัด เครือข่ายการศึกษาทางเลือกเครือข่ายคนรักสุขภาพ เครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ เครือข่ายปฏิรูปฯลฯ การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำนี้เป็นพลังทางจิตสำนึก พลังทางสังคม พลังทางปัญญา ถ้ามีมากขึ้นถึงขนาดจะเปลี่ยนโครงสร้างสังคมจากโครงสร้างอำนาจทางดิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนจนเป็นวิสัยตามที่ กล่าวถึงในข้อ 1 มาเป็นโครงสร้างระบบ หรือโครงสร้างแบบเครือข่าย ซึ่งคล้ายโครงสร้างสมองเป็น social brain ซึ่งจะทำให้เกิด "สังคมเข้มแข็ง" ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐกิจดี การเมืองดี ศีลธรรมดี ภาคประชาชนไม่มีอำนาจรัฐต้องไปเรียกร้องหรือสนับสนุนให้มีอำนาจรัฐ เพราะประชาคมเป็นอำนาจคนละอย่างกับอำนาจรัฐเป็นพลังทางจิตสำนึกของคนที่เข้ามารวมตัวกันโดยความสมัครใจ ไม่ใช่โดยอำนาจหรือสินจ้างใดๆ เป็นพลังทางสังคมเป็นพลังทางปัญญา เพราะต้องใช้ข้อมูลความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อเป็นปัญญาที่สูงขึ้นสำหรับการใช้งาน
นพ.ประเวศ กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสมัชชาสุขภาพ และสมัชชาปฏิรูปเป็นตัวอย่างของการที่พลังประชาคม สามารถสังเคราะห์นโยบายที่สำคัญๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และประเด็นนโยบายที่ สังเคราะห์ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาด้วยฉันทามติ เป็นตัวอย่างของกระบวนการทางสังคมและทางปัญญาอย่างสร้างสรรค์และสมานฉันท์ที่คนไทยควรจะได้เรียนรู้ว่ามีกระบวนการอย่างนี้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย รัฐบาลก็ตาม คสช.ก็ตาม คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติก็ตาม ควรจะศึกษาประเด็นนโยบายที่เป็นมติของสมัชชาสุขภาพและสมัชชาปฏิรูปที่เกิดโดยกระบวนการประชาคม และหาทางปฏิบัติให้ได้ ก็จะทุ่นแรงไปได้มาก และกระตุ้นกระบวนการประชาคมให้เติบโตขึ้นจนโครงสร้างของสังคมเปลี่ยนและพฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยน การทำงานเชื่อมโยงกันของ 5 กลไกในระยะเปลี่ยนผ่านจะก่อให้เกิดพลังแห่งการรวมตัว และความเข้มแข็งทางปัญญา แทนที่สภาพความแตกแยกและความอ่อนแอทางปัญญาหากความเชื่อมโยงของกลไก 5 ประการนี้มีพลังสร้างสรรค์นำชาติออกจากวิกฤติได้ทุกภาคส่วนจะเกิดศรัทธาต่อกระบวนทรรศน์ใหม่ และเป็นแบบแผนแห่งการรวมพลัง พัฒนาประเทศรวมทั้งความเคยชินใหม่ที่จะทำเรื่องดีๆ หลังมีการเลือกตั้งและ คสช.ยุติบทบาทไปแล้ว ถ้าเป็นไปตามนี้ก็เรียกว่าทุกฝ่ายมีบทบาทร่วมด้วยช่วยกันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากยุค คสช.ไปสู่ประชาธิปไตยอรรถประโยชน์ โดยไม่มีใครแพ้ ทุกคนเป็นผู้ชนะและประเทศไทยชนะ
นพ.ประเวศ กล่าวอีกว่า 2. จากสังคมที่เป็นปัญหาน้อยแตกแยกมาก จะเกิดพลังสร้างสรรค์ออกจากวิกฤติได้อย่างไร จากโครงสร้างและพฤติกรรมของสังคมที่กล่าวถึงในข้อ 1 สังคมไทยมีปัญญาน้อยแตกแยกมาก ทำให้วิกฤติและไม่มีพลังออกจากวิกฤติ ที่ว่ามีปัญญาน้อยเพราะเหตุ 3 อย่าง คือ หนึ่งอยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีภัยธรรมชาติน้อยจึงขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สอง ปกครองด้วยการรวมศูนย์อำนาจมานานข้าราชการคุ้นเคยกับการใช้อำนาจมากกว่าใช้ปัญญา สาม ระบบการศึกษาที่เน้นการท่องวิชามากกว่าการเรียนรู้จากชีวิตจริงปฏิบัติจริงทำให้คนไทยไม่รู้ความจริงของแผ่นดินไทย เมื่อไม่รู้ความจริงก็ทำให้ถูกต้องไม่ได้ เพราะขาดปัญญารัฐไทยจึงแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนไม่ได้เช่น แก้ความยากจนไม่ได้ ไม่สามารถจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน นโยบายของรัฐก่อให้เกิดความล้มละลายของเกษตรกรทั่วประเทศและความแห้งแล้งอย่างไม่มีทางแก้ไขได้ การขาดแคลนน้ำและความยากจนของเกษตรกรขณะนี้เป็นปัญหาใหญ่มากที่ไม่มีรัฐบาลใดๆ จะแก้ได้ เพราะรัฐไทยขาดปัญญา
นพ.ประเวศ กล่าวว่า การที่คนไทยรู้น้อย และรู้เป็นส่วนๆ จึงแตกแยกกันสูง ทำนองตาบอดคลำช้าง ความแตกแยกมีอยู่ทั่วไปทุกวงการมีการวิเคราะห์วิจารณ์มากกว่า ขาดภูมิปัญญาทางการสังเคราะห์และการจัดการ ประเทศจึงไม่มีพลังสร้างสรรค์ที่จะออกจากสภาวะวิกฤติในสภาพความซับซ้อนและยาก เช่นนี้ ใช้อำนาจก็แก้ปัญหาไม่ได้ คุณทักษิณก็ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจที่สุดยังทำไม่สำเร็จซึ่งผมเคย เตือนท่านไว้ล่วงหน้าแล้ว ถ้าสภาพปัญญาน้อยแตกแยกมากทำให้หมดพลังการสร้างพลังก็ต้องเปลี่ยนเป็นรวมตัวกันและมีกลไกการใช้ปัญญา ระหว่างที่ คสช.ถืออำนาจสูงสุดจะใช้อำนาจนั้นสร้างระบบพฤติกรรม และความเคยชินใหม่อย่างไร เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยอรรถประโยชน์ นอกเหนือไปจากระบบและองค์กรที่มีอยู่แล้ว
นพ.ประเวศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ควรมีกลไกเฉพาะหน้า 5 ประการ ทำงานเชื่อมโยง ประกอบด้วย 1. ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยคัดคนที่มีความสามารถสูงๆ จากพรรคการเมืองบวกคนนอกมาทำงานร่วมกันเพื่อฝึกความเคยชินของความร่วมมือกันเพื่อประเทศต่อไป เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วไม่ใช่ต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย รัฐบาลแห่งชาติพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุดร่วมกับกลไกอีก 4 ประการ 2. คสช.เลือกทำเฉพาะเรื่องที่ยากสุดๆ ที่รัฐบาลใดๆ ก็ทำไม่ได้ถ้า คสช.ไปทำเสียหมดทุกเรื่องก็หมดกำลัง ทิ้งเรื่องยากไว้ให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งซึ่งก็คงทำไม่ได้ ประเทศก็จะวิกฤติต่อไป ตัวอย่างของเรื่องยากๆ ที่ คสช.ควรทำ เช่น ป้องกันการใช้ความรุนแรง สร้างระบบและกลไก แก้ปัญหาความยากจนและจัดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ถ้าสามารถจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎรที่ยากจนครอบครัวละ 2-3 ไร่ ทำเกษตรยั่งยืนจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จถาวรทั้งเรื่องความยากจน การขาดแคลนน้ำ และค่าแรงขั้นต่ำ คืนอำนาจให้ประชาชนปกครองตนเองในรูปของชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง เรื่องนี้จะดูแลแก้ปัญหาของประเทศไปได้ 80-90 เปอร์เซ็นต์ การปฏิรูประบบราชการโดยกระจายอำนาจให้ผู้อื่นทำให้มากที่สุดโดยระบบราชการปรับบทบาทไปเป็นผู้สนับสนุนทางนโยบายและวิชาการ ปราบปรามคอร์รัปชั่น อิทธิพล นักเลง ที่เกาะกุมทรัพยากรของส่วนรวมปฏิรูประบบความยุติธรรมซึ่งรวมถึงกิจการตำรวจ เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาถ้าระบบการศึกษาเปลี่ยนประเทศไทยจะเปลี่ยนระบบการศึกษาที่ดื้อยามาก ไม่เคยมีรัฐบาลใดๆ เปลี่ยนได้ เป็นต้น การปฏิรูปใดๆ จะประสบการต่อต้านต้องทำงานเชิงยุทธศาสตร์เป็น
นพ.ประเวศ กล่าวขยายให้เห็นอีกว่า 3. คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ มีคณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็ง สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งในประเทศและในโลกนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ ทำการสื่อสารให้รู้ถึงกันทั้งรัฐบาล คสช. หน่วยงานของรัฐสาธารณะ เพื่อทำให้เกิดปัญญาร่วมและพลังร่วม รวมทั้งเป็นกลไกในการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ให้รัฐบาลและ คสช. เพื่อบริหาร เรื่องยากให้เป็นผลสำเร็จงานนี้ต้องการความเข้มแข็งทางปัญญาสูงสุด จะใช้รูปแบบและพิธีการไม่ได้ ปัญญาตามแบบธรรมดา (conventional wisdom) หาเพียงพอไม่ คณะทำงานยุทธศาสตร์ต้องศึกษาจากผู้นำชุมชนท้องถิ่นและจากประชาคมด้วย 4. ภาคผู้นำชุมชนท้องถิ่นชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ ถ้าฐานของประเทศแข็งแรงก็จะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่งคงขณะนี้มีผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่เก่งๆ ดีๆ นับแสนคน คนเหล่านี้รู้ความจริงของประเทศไทยหรือภูมิสังคมต่างจากคนข้างบนเพราะเขาอยู่กับชีวิตจริงปฏิบัติจริง เขารู้ปัญหาของประเทศและวิธีแก้ไข ในรอบร้อยปีที่เราพัฒนาสมัยใหม่เราไม่เคยให้คุณค่าแก่ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น เราให้คุณค่าแต่กับภูมิปัญญาข้างบน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาตามตำราที่นำเข้ามาจากต่างประเทศโดยไม่รู้ความจริงประเทศไทย ก่อให้เกิดมิจฉาพัฒนา ซึ่งสร้างวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ขณะนี้ผู้นำชุมชนท้องถิ่นกำลังทำเรื่องดีๆ เป็นอันมากโดยมีองค์กรต่างๆ สนับสนุน เช่น พอช. สสส. สปสช. สช. ธกส. สภาพัฒนาการเมือง รัฐบาล คสช. คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ และระบบราชการ ควรเรียนรู้จากภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น และพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นประเทศมีพลังทางปัญญาและพลังทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล การที่สามารถโยงภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นขึ้นมาเป็นนโยบายระดับชาติได้จะทำให้ความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้น
นพ.ประเวศ กล่าวว่า 5. ภาคประชาสังคม ใน 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการรวมตัวของคนไทยที่เรียกว่า ประชาคมทำงานในพื้นที่และประเด็นต่างๆ เช่นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ประชาคมจังหวัด เครือข่ายการศึกษาทางเลือกเครือข่ายคนรักสุขภาพ เครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ เครือข่ายปฏิรูปฯลฯ การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำนี้เป็นพลังทางจิตสำนึก พลังทางสังคม พลังทางปัญญา ถ้ามีมากขึ้นถึงขนาดจะเปลี่ยนโครงสร้างสังคมจากโครงสร้างอำนาจทางดิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนจนเป็นวิสัยตามที่ กล่าวถึงในข้อ 1 มาเป็นโครงสร้างระบบ หรือโครงสร้างแบบเครือข่าย ซึ่งคล้ายโครงสร้างสมองเป็น social brain ซึ่งจะทำให้เกิด "สังคมเข้มแข็ง" ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เศรษฐกิจดี การเมืองดี ศีลธรรมดี ภาคประชาชนไม่มีอำนาจรัฐต้องไปเรียกร้องหรือสนับสนุนให้มีอำนาจรัฐ เพราะประชาคมเป็นอำนาจคนละอย่างกับอำนาจรัฐเป็นพลังทางจิตสำนึกของคนที่เข้ามารวมตัวกันโดยความสมัครใจ ไม่ใช่โดยอำนาจหรือสินจ้างใดๆ เป็นพลังทางสังคมเป็นพลังทางปัญญา เพราะต้องใช้ข้อมูลความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อเป็นปัญญาที่สูงขึ้นสำหรับการใช้งาน
นพ.ประเวศ กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสมัชชาสุขภาพ และสมัชชาปฏิรูปเป็นตัวอย่างของการที่พลังประชาคม สามารถสังเคราะห์นโยบายที่สำคัญๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และประเด็นนโยบายที่ สังเคราะห์ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาด้วยฉันทามติ เป็นตัวอย่างของกระบวนการทางสังคมและทางปัญญาอย่างสร้างสรรค์และสมานฉันท์ที่คนไทยควรจะได้เรียนรู้ว่ามีกระบวนการอย่างนี้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย รัฐบาลก็ตาม คสช.ก็ตาม คณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติก็ตาม ควรจะศึกษาประเด็นนโยบายที่เป็นมติของสมัชชาสุขภาพและสมัชชาปฏิรูปที่เกิดโดยกระบวนการประชาคม และหาทางปฏิบัติให้ได้ ก็จะทุ่นแรงไปได้มาก และกระตุ้นกระบวนการประชาคมให้เติบโตขึ้นจนโครงสร้างของสังคมเปลี่ยนและพฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยน การทำงานเชื่อมโยงกันของ 5 กลไกในระยะเปลี่ยนผ่านจะก่อให้เกิดพลังแห่งการรวมตัว และความเข้มแข็งทางปัญญา แทนที่สภาพความแตกแยกและความอ่อนแอทางปัญญาหากความเชื่อมโยงของกลไก 5 ประการนี้มีพลังสร้างสรรค์นำชาติออกจากวิกฤติได้ทุกภาคส่วนจะเกิดศรัทธาต่อกระบวนทรรศน์ใหม่ และเป็นแบบแผนแห่งการรวมพลัง พัฒนาประเทศรวมทั้งความเคยชินใหม่ที่จะทำเรื่องดีๆ หลังมีการเลือกตั้งและ คสช.ยุติบทบาทไปแล้ว ถ้าเป็นไปตามนี้ก็เรียกว่าทุกฝ่ายมีบทบาทร่วมด้วยช่วยกันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากยุค คสช.ไปสู่ประชาธิปไตยอรรถประโยชน์ โดยไม่มีใครแพ้ ทุกคนเป็นผู้ชนะและประเทศไทยชนะ