นายปวริศ ผุดผ่อง เลขาธิการกลุ่มพิทักษ์กฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามตรวจสอบการขออนุญาต และก่อสร้างสะพานลอยทางเชื่อมอาคารเซ็นทรัล ชิดลม และอาคารเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ปาร์ค ซึ่งสร้างคล่อมถนนและคลองสาธารณะว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปลายเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ทาง กทม.โดยสำนักงานการโยธาได้แจ้งยืนยันมายัง พปส.ว่าการขออนุญาต และก่อสร้างสะพานลอยดังกล่าวโดย บริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของทาง กทม. แต่ทาง พปส.ก็ได้ทำหนังสือแย้งไป เพราะเห็นว่า เป็นการใช้ดุลยพินิจที่เอื้อประโยชน์ให้เอกชนเพิ่มมูลค่าให้แก่ห้างสรรพสินค้าของตัวเองมากกว่าพิจารณาบนพื้นฐานประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง รวมทั้งได้ขอให้ทาง กทม.เปิดเผยเอกสารเพิ่มเติม 5 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตและก่อสร้างสะพานลอยดังกล่าว แต่ผ่านกว่าเกือบ 2 เดือนทาง กทม.ก็ยังเพิกเฉยไม่ได้ส่งเอกสารที่ว่า หรือแม้แต่แจ้งข้อขัดข้องมายัง พปส.แต่อย่างใด จึงได้ทำหนังสือทวงถามไปที่ กทม.อีกครั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา
"เอกสาร 5 ฉบับดังกล่าว เป็นหนังสือของสำนักการโยธาที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตสร้างสะพานลอยของห้างเซนทรัลชิดลม รวมทั้งมีเอกสารหลักเกณฑ์การขออนุญาตสร้างสะพานเชื่อมระหว่างอาคารฯของสำนักการจราจรและขนส่ง ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องในการขออนุญาต และมีการใช้งานที่ผิดจากเงื่อนไขที่ได้ขออนุญาตไป" นายปวริศ ระบุ
นายปวริศ กล่าวต่อว่า พปส.ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 เพื่อให้ กทม.เปิดเผยข้อมูล เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับส่วนรวม ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีการทวงถามหลายครั้ง เพราะทาง กทม.ค่อนข้างล่าช้าในการให้ความร่วมมือ ถึงแม้ว่าเอกสารบางฉบับผ่านมาราว 20 ปี อาจต้องใช้เวลาในสืบค้นบ้าง แต่ทาง พปส.ก็ได้ให้เวลามากว่า 2 เดือนแล้ว ดังนั้นจะให้เวลาอีก 30 วัน หาก กทม.ยังเพิกเฉย พปส.ก็จะพิจารณาการยื่นเรื่องต่อศาลปกครองตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
"เอกสาร 5 ฉบับดังกล่าว เป็นหนังสือของสำนักการโยธาที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตสร้างสะพานลอยของห้างเซนทรัลชิดลม รวมทั้งมีเอกสารหลักเกณฑ์การขออนุญาตสร้างสะพานเชื่อมระหว่างอาคารฯของสำนักการจราจรและขนส่ง ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องในการขออนุญาต และมีการใช้งานที่ผิดจากเงื่อนไขที่ได้ขออนุญาตไป" นายปวริศ ระบุ
นายปวริศ กล่าวต่อว่า พปส.ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 เพื่อให้ กทม.เปิดเผยข้อมูล เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับส่วนรวม ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีการทวงถามหลายครั้ง เพราะทาง กทม.ค่อนข้างล่าช้าในการให้ความร่วมมือ ถึงแม้ว่าเอกสารบางฉบับผ่านมาราว 20 ปี อาจต้องใช้เวลาในสืบค้นบ้าง แต่ทาง พปส.ก็ได้ให้เวลามากว่า 2 เดือนแล้ว ดังนั้นจะให้เวลาอีก 30 วัน หาก กทม.ยังเพิกเฉย พปส.ก็จะพิจารณาการยื่นเรื่องต่อศาลปกครองตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป