นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ร่วมกับคณะทำงานของกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยว (MLIT) ว่า ได้มีการกำหนดแบ่งทีมศึกษาสำรวจออกแบบเป็น 3 ทีม คือ ทีมทำงานกำหนดแผนงานรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ทีมทำงานกำหนดแผนงานเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และทีมศึกษาระบบการขนส่งสินค้าทางรถไฟ
ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแผนการทำงานในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไว้คร่าวๆ และได้ให้ไทย-ญี่ปุ่นไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยจะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 12 เดือนในการสำรวจ และในกลางปี 2559 จะได้ข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อขออนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีในการดำเนินโครงการนี้ ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี 2561
นายอาคม เปิดเผยว่า ทางญี่ปุ่นย้ำว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นถือว่าเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก ต้องมีความละเอียดรอบครอบในการสำรวจ ออกแบบ ฉะนั้นกำหนดการที่คาดว่าจะก่อสร้างนั้นอาจจะเป็นปี 2561 แม้เส้นทางนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ของไทยจะได้มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้วก็ตาม แต่ทางญี่ปุ่นขอศึกษาทางกายภาพ ภูมิภาคอย่างละเอียดก่อน
สำหรับเส้นทางรถไฟที่ญี่ปุ่นสนใจมี 2 เส้นทาง คือ รถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กิโลเมตร และรถไฟทางคู่กึ่งความเร็วสูง เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กิโลเมตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า ตามแผนการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 ตอน คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กิโลเมตร พิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กิโลเมตร รวม 672 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี
ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นเบื้องต้นได้เสนอรูปแบบการร่วมลงทุน ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่ยังไม่สามารถสรุปสัดส่วนและรูปแบบการลงทุนได้ในขณะนี้ เพราะต้องสรุปผลการศึกษาออกแบบให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสรุปแบบการลงทุนได้ชัดเจน พร้อมกันนี้ยังมีการตกลงที่จะประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน
ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดแผนการทำงานในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ไว้คร่าวๆ และได้ให้ไทย-ญี่ปุ่นไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยจะเริ่มศึกษาความเป็นไปได้อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 12 เดือนในการสำรวจ และในกลางปี 2559 จะได้ข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อขออนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรีในการดำเนินโครงการนี้ ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี 2561
นายอาคม เปิดเผยว่า ทางญี่ปุ่นย้ำว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นถือว่าเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดในโลก ต้องมีความละเอียดรอบครอบในการสำรวจ ออกแบบ ฉะนั้นกำหนดการที่คาดว่าจะก่อสร้างนั้นอาจจะเป็นปี 2561 แม้เส้นทางนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ของไทยจะได้มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้วก็ตาม แต่ทางญี่ปุ่นขอศึกษาทางกายภาพ ภูมิภาคอย่างละเอียดก่อน
สำหรับเส้นทางรถไฟที่ญี่ปุ่นสนใจมี 2 เส้นทาง คือ รถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กิโลเมตร และรถไฟทางคู่กึ่งความเร็วสูง เส้นทางบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กิโลเมตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า ตามแผนการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 ตอน คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กิโลเมตร พิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กิโลเมตร รวม 672 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี
ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นเบื้องต้นได้เสนอรูปแบบการร่วมลงทุน ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด แต่ยังไม่สามารถสรุปสัดส่วนและรูปแบบการลงทุนได้ในขณะนี้ เพราะต้องสรุปผลการศึกษาออกแบบให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะสรุปแบบการลงทุนได้ชัดเจน พร้อมกันนี้ยังมีการตกลงที่จะประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน