คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายหลังจากพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี จากการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งกรณีโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ จำนวน 10 คน 13 ตำแหน่ง โดยพบว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีทรัพย์สินประมาณ 612 ล้านบาท หนี้สิน 33 ล้านบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 579 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับตำแหน่ง นางสาว ยิ่งลักษณ์ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 38 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากที่สุด นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง
ส่วนรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินมากที่สุด คือ นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สิน 967 ล้านบาท หนี้สิน 1 ล้าน 6 แสนบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 966 ล้านบาท รองลงมา คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ และพลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม มีทรัพย์สิน 323 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน ส่วนรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินน้อยที่สุด คือ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทรัพย์สิน 18 ล้านบาท หนี้สิน 3 ล้าน 7แสนบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 14 ล้านบาท
สำหรับรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินลดลงมากที่สุด นับจากวันเข้ารับตำแหน่ง คือ พลเอกประชา พรหมนอก อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทรัพย์สินลดลง 319 ล้านบาท เนื่องจากหย่ากับคู่สมรสจึงไม่ต้องแสดงทรัพย์สินในส่วนนี้
นอกจากนี้ ยังเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 68 คน กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี โดย ผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุด คือนายธันว์ ออสุวรรณ อดีตส.ว.ประจวบคีรีขันธ์ มีทรัพย์สิน 2,518 ล้านบาท หนี้สิน 7 ล้าน 1 แสนบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 2,511 ล้านบาท น้อยที่สุด คือ นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ อดีตส.ว.นครศรีธรรมราช มีทรัพย์สิน 39 ล้านบาท หนี้สิน 220 ล้านบาท มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 220 ล้านบาท
นายธวัชชัย ศิริสธนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง ระบุว่า ส่วนของ อดีต ส.ว. มีผู้ไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินจำนวน 2 คน คือ นายถนอม ส่งเสริม อดีตส.ว.อุบลราชธานี และนายธวัชชัย บุญมา อดีตส.ว.นครนายก ซึ่งป.ป.ช. จะส่งหนังสือให้บุคคลทั้งสองชี้แจง ต่อไป
นอกจากนี้ป.ป.ช.จะพิจารณาว่า ทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงมีความผิดปกติ หรือไม่ มีที่มาที่ไปอย่างไร ส่วนทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับคดีจำข้าว ก็จะดำเนินการส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการไต่สวนในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
ส่วนรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินมากที่สุด คือ นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สิน 967 ล้านบาท หนี้สิน 1 ล้าน 6 แสนบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 966 ล้านบาท รองลงมา คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ และพลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม มีทรัพย์สิน 323 ล้านบาท ไม่มีหนี้สิน ส่วนรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินน้อยที่สุด คือ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทรัพย์สิน 18 ล้านบาท หนี้สิน 3 ล้าน 7แสนบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 14 ล้านบาท
สำหรับรัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินลดลงมากที่สุด นับจากวันเข้ารับตำแหน่ง คือ พลเอกประชา พรหมนอก อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทรัพย์สินลดลง 319 ล้านบาท เนื่องจากหย่ากับคู่สมรสจึงไม่ต้องแสดงทรัพย์สินในส่วนนี้
นอกจากนี้ ยังเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 68 คน กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี โดย ผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุด คือนายธันว์ ออสุวรรณ อดีตส.ว.ประจวบคีรีขันธ์ มีทรัพย์สิน 2,518 ล้านบาท หนี้สิน 7 ล้าน 1 แสนบาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 2,511 ล้านบาท น้อยที่สุด คือ นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ อดีตส.ว.นครศรีธรรมราช มีทรัพย์สิน 39 ล้านบาท หนี้สิน 220 ล้านบาท มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 220 ล้านบาท
นายธวัชชัย ศิริสธนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง ระบุว่า ส่วนของ อดีต ส.ว. มีผู้ไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินจำนวน 2 คน คือ นายถนอม ส่งเสริม อดีตส.ว.อุบลราชธานี และนายธวัชชัย บุญมา อดีตส.ว.นครนายก ซึ่งป.ป.ช. จะส่งหนังสือให้บุคคลทั้งสองชี้แจง ต่อไป
นอกจากนี้ป.ป.ช.จะพิจารณาว่า ทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงมีความผิดปกติ หรือไม่ มีที่มาที่ไปอย่างไร ส่วนทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับคดีจำข้าว ก็จะดำเนินการส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการไต่สวนในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน