นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า อาการผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์ส ที่รักษาในห้องแยกโรคสถาบันบำราศนราดูร วันนี้อาการโดยรวมดีขึ้น ให้ออกซิเจนน้อยลง ผลเอกซเรย์ปอดดีขึ้น รับประทานอาหารอ่อนได้ ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดที่เป็นญาติทั้ง 3 รายอยู่ที่ห้องแยก อาการดีขึ้น ไม่มีไข้ ไม่ไอ
สำหรับการติดตามผู้สัมผัสและผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด ได้ดำเนินการทั้งประสานไปยังพื้นที่ โดยกรุงเทพมหานคร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักควบคุมป้องกันโรค รวมทั้งประสานสถานทูตกรณีเป็นชาวต่างชาติ
ทั้งนี้กรณีที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีรายงานว่าเป็นชาย เป็นผู้สัมผัสชายชาวต่างชาติที่ติดเชื้อเมอร์ส กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามอาการได้แล้ว และแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการเข้าสังคมกับผู้อื่น ให้อยู่ในระบบติดตามจนครบ 14 วัน
สำหรับกรณีโรงพยาบาลเอกชน ได้มีการประชุมหารือโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยชาวต่างชาติจากพื้นที่เสี่ยง โดยได้กำหนดแนวทางให้ดำเนินการตามมาตรฐานการรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ทั้งผู้ป่วยที่นัดหมายเข้ารักษาล่วงหน้า และผู้ป่วยที่ไม่ได้นัดหมาย ซึ่งทุกแห่งมีแนวทางคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว
ส่วนที่สนามบินสุวรรณภูมิ ได้ตรวจคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2558 จำนวน 31,754 คนพบผู้โดยสารมีไข้ 2 คน แต่ไม่ได้เป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งโรคเมอร์สหรือโรคอีโบลา แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่มีที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดตามอาการ ตามระบบการเฝ้าระวังแล้ว
ด้านสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ได้ชื่นชมปฏิกิริยาการตอบสนอง และมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) อย่างรวดเร็วของประเทศไทย หลังจากประเทศได้รับการยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายแรก
โดย โฆษกองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ 4 ในปีนี้ ที่มีการพบการแพร่เชื้อของไวรัสเมอร์ส หลังมีผู้ป่วยที่เป็นนักธุรกิจ 75 ปี จากโอมาน ที่ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อการรักษาพยาบาลสำหรับโรคหัวใจ แต่ต้องชื่นชมกับแนวทาง และมาตรการป้องกัน ที่ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ในการนำบุคคลที่ใกล้ชิด และเข้าข่ายต้องสงสัยทั้ง 59 คน มาอยู่ในพื้นที่ควบคุมเพื่อรอดูอาการ 14 วัน
ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเมอร์ส และเสียชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวนกว่า 1,000 คน ได้รับเชื้อมาตั้งแต่ปี 2012 และเสียชีวิตแล้ว 454 ราย ขณะที่การระบาดในเกาหลีใต้ นับเป็นประเทศที่มีการแพร่เชื้อรุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่มีผู้ติดเชื้อแล้วมากถึง 166 ราย และเสียชีวิต 38 ราย
สำหรับการติดตามผู้สัมผัสและผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด ได้ดำเนินการทั้งประสานไปยังพื้นที่ โดยกรุงเทพมหานคร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักควบคุมป้องกันโรค รวมทั้งประสานสถานทูตกรณีเป็นชาวต่างชาติ
ทั้งนี้กรณีที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีรายงานว่าเป็นชาย เป็นผู้สัมผัสชายชาวต่างชาติที่ติดเชื้อเมอร์ส กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามอาการได้แล้ว และแนะนำให้แยกตัวเอง ลดการเข้าสังคมกับผู้อื่น ให้อยู่ในระบบติดตามจนครบ 14 วัน
สำหรับกรณีโรงพยาบาลเอกชน ได้มีการประชุมหารือโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยชาวต่างชาติจากพื้นที่เสี่ยง โดยได้กำหนดแนวทางให้ดำเนินการตามมาตรฐานการรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ทั้งผู้ป่วยที่นัดหมายเข้ารักษาล่วงหน้า และผู้ป่วยที่ไม่ได้นัดหมาย ซึ่งทุกแห่งมีแนวทางคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว
ส่วนที่สนามบินสุวรรณภูมิ ได้ตรวจคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2558 จำนวน 31,754 คนพบผู้โดยสารมีไข้ 2 คน แต่ไม่ได้เป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งโรคเมอร์สหรือโรคอีโบลา แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่มีที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดตามอาการ ตามระบบการเฝ้าระวังแล้ว
ด้านสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ได้ชื่นชมปฏิกิริยาการตอบสนอง และมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) อย่างรวดเร็วของประเทศไทย หลังจากประเทศได้รับการยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายแรก
โดย โฆษกองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ 4 ในปีนี้ ที่มีการพบการแพร่เชื้อของไวรัสเมอร์ส หลังมีผู้ป่วยที่เป็นนักธุรกิจ 75 ปี จากโอมาน ที่ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อการรักษาพยาบาลสำหรับโรคหัวใจ แต่ต้องชื่นชมกับแนวทาง และมาตรการป้องกัน ที่ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ในการนำบุคคลที่ใกล้ชิด และเข้าข่ายต้องสงสัยทั้ง 59 คน มาอยู่ในพื้นที่ควบคุมเพื่อรอดูอาการ 14 วัน
ทั้งนี้ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ส่วนใหญ่ของการติดเชื้อเมอร์ส และเสียชีวิต ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวนกว่า 1,000 คน ได้รับเชื้อมาตั้งแต่ปี 2012 และเสียชีวิตแล้ว 454 ราย ขณะที่การระบาดในเกาหลีใต้ นับเป็นประเทศที่มีการแพร่เชื้อรุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่มีผู้ติดเชื้อแล้วมากถึง 166 ราย และเสียชีวิต 38 ราย