ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2558 นี้ จะเกิดปรากฏการณ์ ‘ดาวเคียงเดือน’ อีกครั้ง ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
โดยครั้งนี้มีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยว ในแต่ละวันจะสามารถสังเกตเห็นรูปแบบปรากฏที่ต่างกัน และที่น่าจับตามองที่สุด คือวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน เราจะเห็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ที่มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมด้านเท่า ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างกันเพียง 6 องศา มองดูคล้ายสองตา และดวงจันทร์ข้างขึ้น 3 ค่ำจะปรากฏเป็นเสี้ยว ตะแคงอยู่ด้านล่างของดาวเคราะห์ทั้งสอง ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย ปรากฏคล้าย ‘พระจันทร์ยิ้ม’ ให้กับคนไทย ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำจนถึงประมาณ 21.00 น. ก็จะตกลับขอบฟ้าไป ช่วงดังกล่าวหากฟ้าใสไม่มีเมฆ จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ดวงจันทร์ จะหันด้านมืดตะแคงออกด้านข้าง จึงมีลักษณะต่างจากพระจันทร์ยิ้ม ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551
สำหรับ ‘ดาวเคียงเดือน’ เป็นปรากฏการณ์ปกติทางดาราศาสตร์ที่สวยงาม และหาชมได้ไม่บ่อยนัก นับเป็นอีกหนึ่งอีกปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในรอบปีนี้
นอกจากนี้ เรายังสามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์แสงโลก (Earth Shine) ที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้เห็นแสงจาง ๆ จากด้านมืดของดวงจันทร์ ซึ่งจะสังเกตได้ดีในช่วงที่เป็นจันทร์เสี้ยว เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในช่วงดังกล่าวเช่นกัน
โดยครั้งนี้มีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยว ในแต่ละวันจะสามารถสังเกตเห็นรูปแบบปรากฏที่ต่างกัน และที่น่าจับตามองที่สุด คือวันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน เราจะเห็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ที่มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยมด้านเท่า ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างกันเพียง 6 องศา มองดูคล้ายสองตา และดวงจันทร์ข้างขึ้น 3 ค่ำจะปรากฏเป็นเสี้ยว ตะแคงอยู่ด้านล่างของดาวเคราะห์ทั้งสอง ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี และอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย ปรากฏคล้าย ‘พระจันทร์ยิ้ม’ ให้กับคนไทย ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำจนถึงประมาณ 21.00 น. ก็จะตกลับขอบฟ้าไป ช่วงดังกล่าวหากฟ้าใสไม่มีเมฆ จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ดวงจันทร์ จะหันด้านมืดตะแคงออกด้านข้าง จึงมีลักษณะต่างจากพระจันทร์ยิ้ม ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551
สำหรับ ‘ดาวเคียงเดือน’ เป็นปรากฏการณ์ปกติทางดาราศาสตร์ที่สวยงาม และหาชมได้ไม่บ่อยนัก นับเป็นอีกหนึ่งอีกปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในรอบปีนี้
นอกจากนี้ เรายังสามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์แสงโลก (Earth Shine) ที่เกิดจากแสงอาทิตย์สะท้อนผิวโลกไปยังดวงจันทร์ และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้เห็นแสงจาง ๆ จากด้านมืดของดวงจันทร์ ซึ่งจะสังเกตได้ดีในช่วงที่เป็นจันทร์เสี้ยว เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในช่วงดังกล่าวเช่นกัน