นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน ปฏิเสธกระแสข่าวคณะกรรมการค่าจ้างมีมติยกเลิกอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ในปี 2559 และจะนำระบบค่าจ้างลอยตัวมาใช้ ว่า ไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2559 จะยังคงอยู่ที่พื้นฐาน คือไม่ต่ำกว่าวันละ 300 บาท จะปรับลดต่ำกว่า 300 บาท ไม่ได้
สำหรับแนวทางพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้าง 5 รูป ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้ ได้แก่ 1) ให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดเสนอตามปกติ 2) ค่าจ้างแบบลอยตัว 3) ค่าจ้างตามการพัฒนาเศรษฐกิจ 18 กลุ่มจังหวัด 4) ค่าจ้างตามกลุ่มอุตสาหกรรม และ 5) ค่าจ้างลักษณะผสมผสาน
รองปลัดกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะใช้แนวทางใด เพราะอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย
ส่วนรูปแบบค่าจ้างลอยตัวนั้น เป็นเพียงแนวคิดจากคณะผู้วิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่เสนอเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นประกอบการทำวิจัยเท่านั้น คณะกรรมการค่าจ้างยังไม่มีมติในเรื่องนี้
ทั้งนี้ แนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างปี 2559 จะยังใช้แนวทางให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอการปรับแต่ละพื้นที่ โดยดูจากปัจจัยค่าครองชีพเป็นหลัก ภายในสิ้นเดือนนี้ จากนั้นคณะอนุกรรมการด้านวิชาการจะสรุปแนวทางของแต่ละพื้นที่ให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม เพื่อเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาในเดือนตุลาคม
สำหรับแนวทางพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้าง 5 รูป ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้ ได้แก่ 1) ให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดเสนอตามปกติ 2) ค่าจ้างแบบลอยตัว 3) ค่าจ้างตามการพัฒนาเศรษฐกิจ 18 กลุ่มจังหวัด 4) ค่าจ้างตามกลุ่มอุตสาหกรรม และ 5) ค่าจ้างลักษณะผสมผสาน
รองปลัดกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะใช้แนวทางใด เพราะอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย
ส่วนรูปแบบค่าจ้างลอยตัวนั้น เป็นเพียงแนวคิดจากคณะผู้วิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่เสนอเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นประกอบการทำวิจัยเท่านั้น คณะกรรมการค่าจ้างยังไม่มีมติในเรื่องนี้
ทั้งนี้ แนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างปี 2559 จะยังใช้แนวทางให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอการปรับแต่ละพื้นที่ โดยดูจากปัจจัยค่าครองชีพเป็นหลัก ภายในสิ้นเดือนนี้ จากนั้นคณะอนุกรรมการด้านวิชาการจะสรุปแนวทางของแต่ละพื้นที่ให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม เพื่อเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาในเดือนตุลาคม