นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเยียวยาด้านตัวเงินแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง มีมติให้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2556-2557 รายละไม่เกิน 400,000 บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์การเยียวยา โดยยึดแนวทางการเยียวยาตาม 4 พ.ร.บ.และ 1 หลักเกณฑ์ คือ พ.ร.บ.ค่าเสียหายที่มีการชดเชย แก่จำเลยในคดีอาญา พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย และหลักเกณฑ์การเยียวยาผู้ประสบภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้เร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติที่จะแบ่งกลุ่มผู้ที่จะได้รับการเยียวยาออกเป็น 2 ช่วง คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองปี 2547-2553 รวมระยะเวลา 6 ปี และผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในช่วงปี 2556-2557 โดยนายวิษณุ กล่าวว่า สาเหตุที่คณะกรรมการยังไม่มีการพิจารณาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกลุ่มแรก เนื่องจากคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่าการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกลุ่มแรก อาจเป็นการเยียวยาที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากได้ตั้งหลักเกณฑ์การเยียวยาโดยไม่มีกฎหมายรองรับ จึงต้องรอให้คำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าวมีความชัดเจนก่อน จึงจะนำกลับมาพิจารณาเยียวยาอีกครั้ง
ทั้งนี้ นายวิษณุ ย้ำว่า จากการตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทั้งหมด ไม่มีรายใดที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา แต่อาจจะยังมีบางรายที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาครบตามหลักเกณฑ์เท่านั้น
นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มการพิจารณา ซึ่งคาดว่าหลังจากวันนี้จะสามารถเริ่มการพิจารณาได้ ส่วนกรณีการเสนอคำชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะได้มีการชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 มิถุนายนนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติที่จะแบ่งกลุ่มผู้ที่จะได้รับการเยียวยาออกเป็น 2 ช่วง คือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองปี 2547-2553 รวมระยะเวลา 6 ปี และผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในช่วงปี 2556-2557 โดยนายวิษณุ กล่าวว่า สาเหตุที่คณะกรรมการยังไม่มีการพิจารณาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกลุ่มแรก เนื่องจากคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติว่าการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในกลุ่มแรก อาจเป็นการเยียวยาที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากได้ตั้งหลักเกณฑ์การเยียวยาโดยไม่มีกฎหมายรองรับ จึงต้องรอให้คำวินิจฉัยในกรณีดังกล่าวมีความชัดเจนก่อน จึงจะนำกลับมาพิจารณาเยียวยาอีกครั้ง
ทั้งนี้ นายวิษณุ ย้ำว่า จากการตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทั้งหมด ไม่มีรายใดที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา แต่อาจจะยังมีบางรายที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาครบตามหลักเกณฑ์เท่านั้น
นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มการพิจารณา ซึ่งคาดว่าหลังจากวันนี้จะสามารถเริ่มการพิจารณาได้ ส่วนกรณีการเสนอคำชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะได้มีการชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 มิถุนายนนี้