นายประธาน สุรกิจบวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานการประชุมรับฟังข้อเสนอการบริหารจัดการขยะ ของที่ทิ้งขยะไพลิน ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งจังหวัดตราดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่งในอำเภอคลองใหญ่ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะตกค้างในพื้นที่ตำบลไม้รูด เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลองใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับการประชุมครั้งนี้ เนื่องมาจากมีภาคเอกชนเข้ามาเสนอดำเนินการบริหารจัดการขยะตกค้างบ่อขยะไพลิน ซึ่งเป็นที่ทิ้งขยะขององค์กรปกครองส่วน 4 แห่ง ในพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ มานับ 10 ปี ปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมกว่า 50,000 ตัน และอัตราการเพิ่มขึ้นของขยะที่มาทิ้งที่บ่อขยะแห่งนี้ จากปี 2547 มีจำนวนขยะเฉลี่ย 5 ตันต่อวัน จนกระทั่งปัจจุบัน มีอัตราการทิ้งขยะที่บ่อขยะแห่งนี้เฉลี่ย 20 ตันต่อวัน ประกอบกับพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ ได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่นำร่องเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่มาทิ้งที่บ่อขยะไพลินมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการเร่งบริหารจัดการ ซึ่งบริษัทภาคเอกชนได้เสนอเข้ามาลงทุนตั้งโรงคัดแยกขยะ เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel , RDF) รวมทั้งการผลิตกาซชีวภาพ หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะ แต่ต้อมีขยะป้อนระบบเฉลี่ย 100 ตันต่อวัน จึงจะคุ้มค่าในการลงทุน ท้องถิ่นทั้ง 4 แห่งจึงได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ให้ภาคเอกชนจัดทำร่างข้อเสนอ (TOR) ในการลงทุนเพื่อบริหารจัดการขยะระหว่างภาคเอกชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่ง ให้ทางจังหวัดพิจารณา
สำหรับการประชุมครั้งนี้ เนื่องมาจากมีภาคเอกชนเข้ามาเสนอดำเนินการบริหารจัดการขยะตกค้างบ่อขยะไพลิน ซึ่งเป็นที่ทิ้งขยะขององค์กรปกครองส่วน 4 แห่ง ในพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ มานับ 10 ปี ปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมกว่า 50,000 ตัน และอัตราการเพิ่มขึ้นของขยะที่มาทิ้งที่บ่อขยะแห่งนี้ จากปี 2547 มีจำนวนขยะเฉลี่ย 5 ตันต่อวัน จนกระทั่งปัจจุบัน มีอัตราการทิ้งขยะที่บ่อขยะแห่งนี้เฉลี่ย 20 ตันต่อวัน ประกอบกับพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ ได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่นำร่องเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่มาทิ้งที่บ่อขยะไพลินมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการเร่งบริหารจัดการ ซึ่งบริษัทภาคเอกชนได้เสนอเข้ามาลงทุนตั้งโรงคัดแยกขยะ เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel , RDF) รวมทั้งการผลิตกาซชีวภาพ หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะ แต่ต้อมีขยะป้อนระบบเฉลี่ย 100 ตันต่อวัน จึงจะคุ้มค่าในการลงทุน ท้องถิ่นทั้ง 4 แห่งจึงได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ให้ภาคเอกชนจัดทำร่างข้อเสนอ (TOR) ในการลงทุนเพื่อบริหารจัดการขยะระหว่างภาคเอกชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่ง ให้ทางจังหวัดพิจารณา