น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการฯ ครั้งล่าสุด ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 31 ราย ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ยื่นขออนุญาตครั้งแรกจำนวน 11 ราย ทั้งนี้ การอนุญาตทำให้คนต่างด้าวต้องนำเงินเข้ามาลงทุนในการประกอบธุรกิจจำนวน 962 ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 363 คน
สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 61 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต มีเงินลงทุนจำนวน 635 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้กู้ยืมเงิน ให้เช่าพื้นที่อาคาร และบริการรับจ้างผลิตสินค้า เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมนี อินโดนีเซีย จีน และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ธุรกิจสำนักงานผู้แทน จำนวน 5 ราย ธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ราย ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 3 ราย ธุรกิจค้าส่ง จำนวน 1 ราย
ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2558 จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตมีจำนวนเท่ากันกับเดือนก่อน ในขณะที่เงินลงทุนลดลง 755 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 44 เนื่องจากในเดือนเมษายน 2558 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และบริการขุดเจาะปิโตรเลียม ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตลดลงจำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 3 แต่มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 340 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 55
อย่างไรก็ตาม 5 เดือนแรกปีนี้ คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 175 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,440 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 24 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 16 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 2
สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 61 ของธุรกิจที่ได้รับอนุญาต มีเงินลงทุนจำนวน 635 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้กู้ยืมเงิน ให้เช่าพื้นที่อาคาร และบริการรับจ้างผลิตสินค้า เป็นคนต่างด้าวจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เยอรมนี อินโดนีเซีย จีน และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ธุรกิจสำนักงานผู้แทน จำนวน 5 ราย ธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ราย ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 3 ราย ธุรกิจค้าส่ง จำนวน 1 ราย
ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2558 จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตมีจำนวนเท่ากันกับเดือนก่อน ในขณะที่เงินลงทุนลดลง 755 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 44 เนื่องจากในเดือนเมษายน 2558 มีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และบริการขุดเจาะปิโตรเลียม ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตลดลงจำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 3 แต่มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 340 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 55
อย่างไรก็ตาม 5 เดือนแรกปีนี้ คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 175 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,440 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 24 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 16 และเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 2