วันนี้( 21 พฤษภาคม 2558) นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายผู้รับมอบอำนาจของ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (NEWS) และโจทก์ร่วมอีก 5 คน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) พร้อมด้วยนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ตัวแทนโจทก์ ได้เดินทางมายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดพระโขนง เพื่อขอให้การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ของ NMG ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 ตกเป็นโมฆะ
โดยในคำฟ้องได้ระบุว่า โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย โดยมีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ตามที่คณะ กรรมการบริษัทจำเลยกำหนดให้วันที่ 9 เมษายน 2558 เป็นวันกำหนดสิทธิ (Record Date) และวันที่ 10 เมษายน 2558 เป็นวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อการรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น โจทก์ทั้งหกจึงเป็นผู้ถือหุ้น สามัญที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นไปตามที่บัญญํติไว้ในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ 2535 มาตรา 102 และ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/26 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยทุกคนได้รับหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ที่ออกโดยบริษัทจำเลย ลงวันที่ 20 เมษายน 2558
วันที่ 29 เมษายน 2558 อันเป็นวันนัดประชุม มีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนมากได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุม ตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น. ผู้ถือหุ้นอื่นๆรวมถึงโจทก์ทั้งหกได้นำเอกสารไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุม ซึ่งจำเลยได้จัดให้มีการลงทะเบียนในขั้นตอนแรกที่ชั้น 9 และขั้นตอนที่สองที่ชั้น 7 ของโรงแรมเดอะแลนด์มาร์ค ปรากฏว่าทางฝ่ายลงทะเบียนของจำเลยที่ชั้น 9 ไม่รับลงทะเบียนผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ ทั้งหมดตามการแบ่งแยกของจำเลย รวมถึงโจทก์ทั้งหก เพราะเป็นบุคคลที่มีรายชื่อถูกห้ามเข้าประชุม โดยอ้างว่าเป็นคำสั่ง ของประธานคณะกรรมการบริษัทจำเลย กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถูกกีดกันและถูกปฏิเสธไม่รับลงทะเบียนจึงได้ไปรวมตัวกันอยู่บริเวณหน้าห้องประชุมที่ชั้น 7 เพื่อเข้าร่วมประชุมตามสิทธิ แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้า โดยให้ชายฉกรรจ์หลายคนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของจำเลยขัดขวางอยู่ ขณะเดียวกันในที่ประชุมมีผู้ถือหุ้นพยายามซักถามเหตุผลที่ตัดสิทธิผู้ถือหุ้น แต่ประธานที่ประชุมไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถาม แม้ผู้ถือหุ้นจะซักถามถึงหลักธรรมาภิบาลและความชอบธรรม โปร่งใส แต่ประธานในที่ประชุมกลับดำเนินการประชุมไปโดยเร่งรีบไม่เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายและซักถาม โดยรีบทำการสรุปเพื่อขอมติที่ประชุมอย่างเร่งรีบ
ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลย จำเลยได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองและโดยการรับมอบฉันทะ รวมทั้งสิ้น 936 ราย นับจำนวนหุ้นได้ 1,377,958,516 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 41.55 ของหุ้นชำระแล้วของบริษัท โดยตัดสิทธิผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ไม่ให้เข้าประชุมจำนวน 50 ราย รวมจำนวน 1,478,765,400 หุ้น คิดเป็นจำนวนเสียงทั้งหมดร้อยละ 44.59 ของหุ้นชำระแล้วของบริษัท ดังนั้น การประชุมผู้ถือหุ้นจึงมิได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบถึงความเป็นไปและติดตามผลการดำเนินงานหรือแนวโน้มหรือแผนงานในอนาคตของบริษัทจำเลยและให้โอกาสผู้ถือหุ้นอภิปรายซักถามข้อสงสัยกับผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทและให้สิทธิผู้ถือหุ้นใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเพื่อมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัทอย่างเท่าเทียมกัน แต่การเรียกประชุมในครั้งนี้ ได้กระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทจำเลย มิใช่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นการทั่วไปและของบริษัท ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าว จึงเป็นการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 102 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/26 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการจัดประชุมที่ละเมิดสิทธิในการเข้าประชุม และใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของโจทก์ทั้งหกและบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายจำนวน 50 ราย ทั้งๆที่จำเลยทราบดีว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อขายหุ้นและ/หรือหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆได้อย่างเสรี โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ โจทก์ทั้งหก ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิตามมาตรา 108 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ประกอบกับมาตรา 89/30 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535จึงมีความประสงค์ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือมีคำพิพากษาให้การประชุมและการลงมติต่างๆของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ของบริษัทจำเลย ในระเบียบวาระต่างๆ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 เป็นโมฆะ
โดยในคำฟ้องได้ระบุว่า โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลย โดยมีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ตามที่คณะ กรรมการบริษัทจำเลยกำหนดให้วันที่ 9 เมษายน 2558 เป็นวันกำหนดสิทธิ (Record Date) และวันที่ 10 เมษายน 2558 เป็นวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อการรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้น โจทก์ทั้งหกจึงเป็นผู้ถือหุ้น สามัญที่มีสิทธิเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นไปตามที่บัญญํติไว้ในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ 2535 มาตรา 102 และ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/26 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยทุกคนได้รับหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ที่ออกโดยบริษัทจำเลย ลงวันที่ 20 เมษายน 2558
วันที่ 29 เมษายน 2558 อันเป็นวันนัดประชุม มีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนมากได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุม ตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น. ผู้ถือหุ้นอื่นๆรวมถึงโจทก์ทั้งหกได้นำเอกสารไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุม ซึ่งจำเลยได้จัดให้มีการลงทะเบียนในขั้นตอนแรกที่ชั้น 9 และขั้นตอนที่สองที่ชั้น 7 ของโรงแรมเดอะแลนด์มาร์ค ปรากฏว่าทางฝ่ายลงทะเบียนของจำเลยที่ชั้น 9 ไม่รับลงทะเบียนผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ ทั้งหมดตามการแบ่งแยกของจำเลย รวมถึงโจทก์ทั้งหก เพราะเป็นบุคคลที่มีรายชื่อถูกห้ามเข้าประชุม โดยอ้างว่าเป็นคำสั่ง ของประธานคณะกรรมการบริษัทจำเลย กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถูกกีดกันและถูกปฏิเสธไม่รับลงทะเบียนจึงได้ไปรวมตัวกันอยู่บริเวณหน้าห้องประชุมที่ชั้น 7 เพื่อเข้าร่วมประชุมตามสิทธิ แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้า โดยให้ชายฉกรรจ์หลายคนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของจำเลยขัดขวางอยู่ ขณะเดียวกันในที่ประชุมมีผู้ถือหุ้นพยายามซักถามเหตุผลที่ตัดสิทธิผู้ถือหุ้น แต่ประธานที่ประชุมไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถาม แม้ผู้ถือหุ้นจะซักถามถึงหลักธรรมาภิบาลและความชอบธรรม โปร่งใส แต่ประธานในที่ประชุมกลับดำเนินการประชุมไปโดยเร่งรีบไม่เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายและซักถาม โดยรีบทำการสรุปเพื่อขอมติที่ประชุมอย่างเร่งรีบ
ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลย จำเลยได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองและโดยการรับมอบฉันทะ รวมทั้งสิ้น 936 ราย นับจำนวนหุ้นได้ 1,377,958,516 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 41.55 ของหุ้นชำระแล้วของบริษัท โดยตัดสิทธิผู้ถือหุ้นกลุ่มใหม่ไม่ให้เข้าประชุมจำนวน 50 ราย รวมจำนวน 1,478,765,400 หุ้น คิดเป็นจำนวนเสียงทั้งหมดร้อยละ 44.59 ของหุ้นชำระแล้วของบริษัท ดังนั้น การประชุมผู้ถือหุ้นจึงมิได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบถึงความเป็นไปและติดตามผลการดำเนินงานหรือแนวโน้มหรือแผนงานในอนาคตของบริษัทจำเลยและให้โอกาสผู้ถือหุ้นอภิปรายซักถามข้อสงสัยกับผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทและให้สิทธิผู้ถือหุ้นใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเพื่อมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัทอย่างเท่าเทียมกัน แต่การเรียกประชุมในครั้งนี้ ได้กระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทจำเลย มิใช่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นการทั่วไปและของบริษัท ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าว จึงเป็นการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 102 และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/26 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการจัดประชุมที่ละเมิดสิทธิในการเข้าประชุม และใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของโจทก์ทั้งหกและบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายจำนวน 50 ราย ทั้งๆที่จำเลยทราบดีว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นตลาดที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อขายหุ้นและ/หรือหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆได้อย่างเสรี โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ โจทก์ทั้งหก ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิตามมาตรา 108 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ประกอบกับมาตรา 89/30 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535จึงมีความประสงค์ขอให้ศาลมีคำสั่งหรือมีคำพิพากษาให้การประชุมและการลงมติต่างๆของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ของบริษัทจำเลย ในระเบียบวาระต่างๆ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 เป็นโมฆะ