พล.ต.ต.ปชา รัตนพันธ์ รอง ผบช.ภ.5 เปิดเผยถึงกรณี มีสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์บางช่อง นำเสนอข่าวออกมา ว่า มีหญิงสาวเข้ามาทำพิธีกรรมอาบน้ำมนต์ หรือที่เรียกว่า น้ำพระพุทธมนต์ ภายในวัดแห่งหนึ่งและมีการตั้งกล้องแอบถ่ายภาพเปลือย ของหญิงสาวที่มาอาบน้ำมนต์ เอามาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์นั้น ขอยืนยันว่า หญิงทั้ง 3 คนที่ปรากฏในคลิป ไม่ได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ แต่ก็ยอมรับว่าหลังจากที่เป็นข่าวออกไป ได้มีผู้ปกครองรายหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มาพบว่าได้พาบุตรสาวไปอาบน้ำมนต์ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรู้สึกไม่สบายใจ เกรงว่าจะถูกแอบถ่ายคลิปไปเผยแพร่ เมื่อทางตำรวจได้นำคลิปหญิงสาวอาบน้ำที่เผยแพร่ในสังคมออนไลน์มาให้ดู ปรากฏว่าไม่ใช่คลิปของลูกสาวตน แต่เพื่อความสบายใจตำรวจกำลังหาหลักฐานเพิ่มเติม จะเข้าไปตรวจสอบวัดที่รดน้ำมนต์อีกครั้ง ว่าจะเป็นจริงตามผู้ร้องมาหรือไม่ เบื้องต้นพบว่าพระรูปดังกล่าวได้สึกออกจากวัดไปแล้ว กำลังตรวจสอบว่ายังมีการรดน้ำมนต์อยู่อีกหรือไม่
"ผมขอยืนยันว่า ตอนนี้ยังไม่มีผู้เสียหายมาร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนแม้แต่รายเดียว และคลิปหญิงสาวทั้ง 3 คนนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่"
ด้านนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนา จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่เป็นข่าวขึ้นมา ทางสำนักพระพุทธฯ และ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบล ไปตามวัดต่างๆ แล้วไม่พบว่า มีการประกอบพิธีกรรมแบบนี้เกิดขึ้น ในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 25 อำเภอ แต่อย่างใด
"ผมขอยืนยันว่า คลิปที่มีการนำไปเสนอข่าวนั้นไม่มีเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่อย่างแน่นอน ซึ่งประเพณีทางเชียงใหม่จะนิยมการทำบุญสะเดาะเคราะห์สืบชะตา ที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของชาวล้านนาที่กระทำกันเท่านั้น หลังจากเกิดข่าวนี้ขึ้นมาหลายฝ่ายอาจเกิดความไม่สบายใจเกิดขึ้น จึงได้มีการตรวจสอบ จึงขอยืนยันว่า ในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่เคยเห็นมีพิธีกรรมการปัดเป่าด้วยการอาบน้ำมนต์ ให้ผู้หญิงแบบนี้ ก็อยากวิงวอนไปถึงผู้เผยแพร่นำคลิปมาออกนำเสนอขอให้ตรวจสอบจนชัดเจน ก่อนที่จะไประบุว่า เป็นจังหวัดเชียงใหม่ เพราะผลดังกล่าวเกิดทำให้จังหวัดเสียชื่อเสียงต่อพระพุทธศาสนา ยังทำลายและเสียชื่อเสียงการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้ท่านตรวจสอบให้ชัดเจนแล้วก็ร้องเรียนแจ้งมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดีกว่าปล่อยคลิปออกไปให้เกิดความแคลงใจ เพราะกระทำแล้วไม่ไตร่ตรองดังกล่าวท่านก็จะกลายเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัวไปด้วย" นายณรงค์ กล่าว
ส่วนพ.ต.ท.ฐานันดร์ วิทยาวุฑฒิกุล, นวท.(สบ3) พฐ.จว.เชียงใหม่ ได้นำภาพที่มาของคลิป และเว็บไซต์ที่เผยแพร่คลิปนี้ มาแจ้งให้ผู้สื่อข่าวในจังหวัดเชียงใหม่ทราบว่า คลิปดังกล่าวมีต้นตอการโพสต์มาจากทางเว็บของต่างประเทศ มานานกว่า 1 ปีแล้ว และคลิปหญิงเปลือยกายอาบน้ำมนต์ จะมีเขียนข้อความว่า "Khmer-เขมร และมีการเผยแพร่เป็นสิบคลิป จึงเชื่อว่า ไม่ใช่เหตุเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
"ผมขอยืนยันว่า ตอนนี้ยังไม่มีผู้เสียหายมาร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนแม้แต่รายเดียว และคลิปหญิงสาวทั้ง 3 คนนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่"
ด้านนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนา จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่เป็นข่าวขึ้นมา ทางสำนักพระพุทธฯ และ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบล ไปตามวัดต่างๆ แล้วไม่พบว่า มีการประกอบพิธีกรรมแบบนี้เกิดขึ้น ในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง 25 อำเภอ แต่อย่างใด
"ผมขอยืนยันว่า คลิปที่มีการนำไปเสนอข่าวนั้นไม่มีเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่อย่างแน่นอน ซึ่งประเพณีทางเชียงใหม่จะนิยมการทำบุญสะเดาะเคราะห์สืบชะตา ที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของชาวล้านนาที่กระทำกันเท่านั้น หลังจากเกิดข่าวนี้ขึ้นมาหลายฝ่ายอาจเกิดความไม่สบายใจเกิดขึ้น จึงได้มีการตรวจสอบ จึงขอยืนยันว่า ในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่เคยเห็นมีพิธีกรรมการปัดเป่าด้วยการอาบน้ำมนต์ ให้ผู้หญิงแบบนี้ ก็อยากวิงวอนไปถึงผู้เผยแพร่นำคลิปมาออกนำเสนอขอให้ตรวจสอบจนชัดเจน ก่อนที่จะไประบุว่า เป็นจังหวัดเชียงใหม่ เพราะผลดังกล่าวเกิดทำให้จังหวัดเสียชื่อเสียงต่อพระพุทธศาสนา ยังทำลายและเสียชื่อเสียงการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ขอให้ท่านตรวจสอบให้ชัดเจนแล้วก็ร้องเรียนแจ้งมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดีกว่าปล่อยคลิปออกไปให้เกิดความแคลงใจ เพราะกระทำแล้วไม่ไตร่ตรองดังกล่าวท่านก็จะกลายเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัวไปด้วย" นายณรงค์ กล่าว
ส่วนพ.ต.ท.ฐานันดร์ วิทยาวุฑฒิกุล, นวท.(สบ3) พฐ.จว.เชียงใหม่ ได้นำภาพที่มาของคลิป และเว็บไซต์ที่เผยแพร่คลิปนี้ มาแจ้งให้ผู้สื่อข่าวในจังหวัดเชียงใหม่ทราบว่า คลิปดังกล่าวมีต้นตอการโพสต์มาจากทางเว็บของต่างประเทศ มานานกว่า 1 ปีแล้ว และคลิปหญิงเปลือยกายอาบน้ำมนต์ จะมีเขียนข้อความว่า "Khmer-เขมร และมีการเผยแพร่เป็นสิบคลิป จึงเชื่อว่า ไม่ใช่เหตุเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่