ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 68 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส วาระการประชุมเรื่องบทบาทหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The contributions of universal health coverage to achieving health related sustainable development goals) ระบุว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ส่งผลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ด้วยกลไกการลดข้อจำกัดทางการเงิน และมีชุดสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ อาทิ การให้ยาต้านไวรัส การทำเคมีบำบัด ไปจนถึงการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต รวมถึงการส่งเสริมการให้บริการระดับปฐมภูมิ ส่งผลให้ประชาชนทั้งในชนบท และในเมือง เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้ และพ้นภาวะล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของประเทศไทยในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดในการให้บริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในด้านจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่พอเพียง รวมทั้งการกระจายตัวของบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งหากประเทศสมาชิกจะบรรลุต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีการลงทุนเพิ่มภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระบบสาธารณสุข ในด้านการผลิตและกระจายตัวของบุคลากรสาธารณสุข การจัดการทางเงิน การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ การพัฒนาระบบบริการระดับปฐมภูมิ ในนโยบายทีมหมอครอบครัว และการส่งเสริมสุขภาพต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยังพบข้อจำกัดในการให้บริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในด้านจำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่พอเพียง รวมทั้งการกระจายตัวของบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งหากประเทศสมาชิกจะบรรลุต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีการลงทุนเพิ่มภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในระบบสาธารณสุข ในด้านการผลิตและกระจายตัวของบุคลากรสาธารณสุข การจัดการทางเงิน การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ การพัฒนาระบบบริการระดับปฐมภูมิ ในนโยบายทีมหมอครอบครัว และการส่งเสริมสุขภาพต่อไป