เมื่อเวลา 13.30 น. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางเป็นประธานในพิธีปิดการอบรมบุคคลภายนอกเพื่อแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ใน จ.ชุมพร และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างหน่วยงานในจังหวัดชุมพร 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย นายปฐม สาธิตานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชุมพร นางสาวนิรมล สุขวิไล ยุติธรรมจังหวัดชุมพร นายบัญชาญ โกศลเวช อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและบังคับคดีจังหวัดชุมพร และนายวีระวัฒน์ อนันตศักดิ์ รักษาราชการแทนท้องถิ่นจังหวัดชุมพร โดยมีนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร และนางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นพยาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ดูแลประชาชนเรื่องกฎหมายและการให้ความยุติธรรม แต่ปัจจุบันยังขาดบุคลากรอีกเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีจิตอาสาเข้ามาทำหน้าที่อาสาสมัครคุมประพฤติ ซึ่งทั่วประเทศยังมีแค่ 5,000 คนเท่านั้น
ขณะที่ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะมีการอบรมอาสาสมัครคุมประพฤติครอบคลุมหมดทุกตำบลของประเทศไทย อาสาสมัครเหล่านี้จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดของทุกจังหวัดเป็นประธาน และมีหน้าที่ดูแลพฤติกรรมของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวหรือพ้นโทษแต่ยังต้องมีการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่อยู่ ซึ่งอาสาสมัครคุมประพฤติจะมีค่าตอบแทนเป็นครั้งๆ ไปในช่วงทำงาน และมีโอกาสได้รับเครื่องราชอิสรยาภรณ์ในฐานะผู้มีจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนรวมด้วย
สำหรับโครงการอบรมบุคคลภายนอกเพื่อแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม พื้นที่ จ.ชุมพร มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 80 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม โดยเป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงยุติธรรม ด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในรูปแบบการเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่ดูแลประชาชนเรื่องกฎหมายและการให้ความยุติธรรม แต่ปัจจุบันยังขาดบุคลากรอีกเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีจิตอาสาเข้ามาทำหน้าที่อาสาสมัครคุมประพฤติ ซึ่งทั่วประเทศยังมีแค่ 5,000 คนเท่านั้น
ขณะที่ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะมีการอบรมอาสาสมัครคุมประพฤติครอบคลุมหมดทุกตำบลของประเทศไทย อาสาสมัครเหล่านี้จะมีผู้ว่าราชการจังหวัดของทุกจังหวัดเป็นประธาน และมีหน้าที่ดูแลพฤติกรรมของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวหรือพ้นโทษแต่ยังต้องมีการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่อยู่ ซึ่งอาสาสมัครคุมประพฤติจะมีค่าตอบแทนเป็นครั้งๆ ไปในช่วงทำงาน และมีโอกาสได้รับเครื่องราชอิสรยาภรณ์ในฐานะผู้มีจิตอาสาในการทำงานเพื่อส่วนรวมด้วย
สำหรับโครงการอบรมบุคคลภายนอกเพื่อแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม พื้นที่ จ.ชุมพร มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 80 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม โดยเป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงยุติธรรม ด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เพื่อพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในรูปแบบการเป็นอาสาสมัครคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม