xs
xsm
sm
md
lg

คำต่อคำ : คืนความสุขให้คนในชาติ 15 พฤษภาคม 2558

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นทุกคนก็มีความปีติยินดีที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล ที่หัวหิน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่พวกเรายินดีทุกคน ทั้งประเทศ เห็นภาพพระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรงขึ้น แล้วก็ได้ทอดพระเนตรในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้เสด็จฯ ผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเสด็จฯ ถึงแล้ว ก็ได้เสด็จฯ เยี่ยมในบริเวณพื้นที่ในวังไกลกังวลด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่ผมได้รับทราบมาจากคณะผู้ติดตาม คณะแพทย์ต่างๆ ก็ให้ข้อมูลว่าทรงแข็งแรงดี อันนี้ก็เป็นที่น่ายินดี ระหว่างที่ท่านเสด็จฯ ไปก็มีการโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนก็ดีใจ ตลอดเส้นทางที่ผ่าน มีการถ่ายทอดในทุกจุดที่ผ่านไป

ในโอกาสนี้ผมก็จะถือโอกาส อยากให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้น้อมนำพระราชกระแสรับสั่งที่กล่าวว่า รู้รักสามัคคี ซึ่งเป็นสามคำที่มีความหมายในการที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความสุขสงบ รู้ปัญหาที่แท้จริง หาทางออก อย่านิ่งเฉย ไม่มีการกระทำอะไรเลย แล้วก็คอยตำหนิ คอยดุว่าอยู่อย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้และช่วยราชการ ช่วยรัฐบาลในการทำหน้าที่ดังกล่าวเหล่านั้น ให้มันระงับและยุติปัญหาต่างๆ ให้ได้ รักก็คือ ให้ความปรารถนาดีให้กัน มีความเมตตา เผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือสังคม ไม่งั้นก็ไม่รู้จะรักไปทำไม เอาความรักมาให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติบ้านเมืองด้วยแล้วกัน

ในส่วนของสามัคคีนั้น สามัคคีเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา เป็นบ่อเกิดแห่งการแก้ปัญหาในลักษณะที่เป็นกลุ่ม เป็นหมู่ เป็นเหล่า ถ้าเรารวมความรัก ความสามัคคีไว้ได้ด้วยกัน มันก็จะนำความเข้มแข็งมาสู่ประเทศชาติเราอย่างยั่งยืน

ในเรื่องของโครงการบริหารจัดการน้ำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เป็นวันพืชมงคล มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรของชาติ เป็นพิธีที่มีมาแต่โบราณกาล ปีนี้พระโคเลือกกินหญ้าและงา คำพยากรณ์ว่าปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ดี น้ำท่าเจริญพอควร อันนี้ก็เป็นข่าวที่่น่ายินดี อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลได้มีการประชุมและติดตามความก้าวหน้าในเรื่องของการดำเนินการโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล นอกเหนือจากแผนยุทธศาสตร์ประจำปี 2558-59 ที่กำลังเร่งดำเนินการ ก็ได้สั่งการว่า ให้เร่งดำเนินการในช่วงแรกนี้ให้ได้โดยเร็ว นอกจากเรื่องของการขุด การจัดหาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร และเพิ่มในเรื่องของการส่งน้ำ การจัดทำแหล่งเก็บน้ำทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จให้ทันกับการที่จะรับน้ำฝนที่ตกลงมาในฤดูฝนอันใกล้นี้ แล้วเราก็จำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มศักยภาพในการรองน้ำให้มากขึ้น ก็ให้พิจารณาเรื่องพรุ หรือเรื่องที่เป็นที่ต่ำที่เราสามารถที่จะขยายเป็นทะเลสาบบ้างได้หรือไม่ ผมต้องการให้มีที่เก็บน้ำมากขึ้นเยอะๆ ทั้งประเทศ

แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ รวมทั้งให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝนที่ตกมาในแต่ละพื้นที่มันมีสถิติอยู่แล้ว ขอความร่วมมือนะครับ อย่ารอรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว ประชาชนคงต้องช่วยกันด้วย ถ้าท่านสามารถขุดแหล่งน้ำขนาดเล็กได้ ทำบ่อน้ำบาดาลเองได้ ทำแหล่งน้ำในไร่นาได้บ้างจะเป็นการช่วยตัวเองด้วยอีกทางหนึ่ง ขอให้เข้าใจว่า นโยบายของรัฐบาลขณะนี้ที่เราทำได้ระยะแรกคือว่า ทำอย่างไรน้ำที่ท่วมซ้ำซากจะต้องไม่เกิดขึ้นอีก ถ้ามันเตือนฝนปกติอีก มันจะต้องไม่ท่วมอีก ถ้าเป็นฝนที่มันเกิน หรือฝนหลงฤดูอะไรเหล่านี้ และมันมากจนเกินขีดความสามารถในการรับน้ำเป็นเรื่องธรรมดานะครับ

แล้วอีกเรื่องกรณีพื้นที่แล้งซ้ำซาก 3 พันกว่าตำบลต้องหมดไป หมดไปได้อย่างไร หมดไปก็คือวิธีที่กล่าวไปแล้วทั้งสิ้น การขุดแหล่งน้ำ การจัดหาคลองส่งน้ำ หรือวิธีการส่งน้ำอื่นๆ เรามีพื้นที่ทั้งประมาณ 320 ล้านไร่ และคราวนี้เป็นพื้นที่การเกษตร 141 ล้านไร่ เพราะฉะนั้นคิดเป็น 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นการเกษตรสำคัญที่สุด ทำอย่างไรพื้นที่ชลประทานขณะนี้ทำได้เพียง 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ เราทำได้สูงสุดคือ 40 เปอร์เซ็นต์ของ 141 ล้านไร่ที่ผมพูดไปเมื่อซักครู่นี้ อีก 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองกำลังทำอยู่ คราวนี้ถ้ามันนอกจาก 40 เปอร์เซ็นต์ ของ 141 ล้านทำอย่างไร ต้องไปขยายแหล่งน้ำขจัดกระจายไปทั่วๆ และปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนในเรื่องของการโซนนิ่ง วันนี้ทุกอย่างเริ่มดีขึ้นนะครับ

สิ่งเหล่านี้ผมอยากให้ประชาชนรับทราบ และรับฟังอย่างต่อเนื่อง เราไม่เคยนิ่งนอนใจนะครับ เห็นใจจริงๆ พี่น้องเกษตรกรต่างๆ วันนี้ปัญาหาหลักคือเรื่องของการขาดแคลนแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร และเรื่องของยาเสพติดที่มันมีการแพร่ขยายมาในทุกพื้นที่ ผมรู้ว่าพ่อแม่พี่น้องก็เดือดร้อน ต้องช่วยกันเฝ้าระวังด้วย และลูกๆ หลานๆ อย่าไปติดเลย ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น และในช่วงที่ผ่านมานั้นผมได้ให้กระทรวง พม.เข้าไปดูแล วันนี้ขอทานเริ่มลดลงตามลำดับ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะเอาเขาไปไหน จะเอาเขากลับคืนไปที่ไหนก็ไม่ได้ บางคนญาติพี่น้องก็ไม่มีอยู่แล้ว ครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกนะครับที่รัฐบาลจะแก้ปัญหาทั้งระบบ ใช้แบบธัญบุรีโมเดลซึ่งก็เป็นสถานที่ที่ให้ขอทานต่างๆที่รับมาไม่ได้ไปควบคุม จับกุมนะครับ ไปนำมาอยู่มนพื้นที่ที่ฝึกอาชีพ เพื่อให้มีรายได้และกลับคืนสู่สังคมได้ในอนาคต ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในช่วงนี้คงต้องดูแลเขาไปก่อน เพราะว่าเขาอยู่ในสภาพนั้นเป็นเวลานานทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงทีเดียวไม่ได้ มันหลายอย่างด้วยกัน ทั้งค้ามนุษย์ ขอทาน วันนี้ก็โยงไปสู่อะไร เรื่องของประมงผิดกฎหมายด้วย แรงงานเถื่อน โรฮีนจา แรงงานทาส เหล่านี้มันเป็นเป้าหมายที่เราต้องแก้ไขให้ได้โดยเร็ว เพราะอยู่ในมาตรการที่ต่างชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ก็มีหลายส่วนด้วยกันทั้งผู้ประกอบการ นายทุน นายหน้าหลอกหลวงต่างๆ มากมาย และก็มีข้าราชการของรัฐไปเกี่ยวข้องด้วยทั้ง พลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งบรรดาข้าราชการเหล่านี้ เมื่อมีหลักฐานตรวจสอบว่ามีการกระทำตามความเป็นจริงก็ต้องถูกลงโทษทั้งวินัยและอาญาไม่มีการยกเว้นนะครับ สำหรับเหยื่อที่ได้รับผลกระทบนั้นก็ต้องมีมาตรการเยียวยา ว่าจะดูแลเขาอย่างไรเป็นคนไทยหรือเปล่า หรือคนต่างชาติ ก็ต้องให้เขามีความเข้มแข็งก่อนนะครับ ตรวจโรค ตรวจอะไรให้เรียบร้อย แล้วก็ส่งกลับคืนต้นทางของเขา ผมได้สั่งการให้ทุกพื้นที่นะครับ ให้มีการเอ็กซเรย์พื้นที่ต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในโดยเร็วนะครับ เราทำได้ระยะแรกเพียงเท่านั้น แล้วให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ เข้าดำเนินการสอบสวนแล้วก็หาผู้กระทำความผิดนะครับ แล้วดูแลเหยื่อ วันนี้ก็มีเหยื่อมากมายที่ออกมาจากในป่าบ้าง จากในทะเลบ้าง ต้องเข้าใจนะครับ ว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประเทศชาติเรามาเป็นเวลานานนะครับ เราต้องแก้ทั้งระบบให้ได้ วันนี้ผมเข้ามาอยู่ตรงนี้แล้ว ผมก็พยายามที่จะใช้ประสบการณ์ต่างๆ ในฐานะที่เคยเป็นฝ่ายความมั่นคงมาก่อน ได้นำสู่การปฏิบัติให้ได้โดยเร็วนะครับ ที่ผ่านมานั้นบางครั้งเข้าใจคนละทางกันนะครับ ฝ่ายความมั่นคงก็มองในแง่ของความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลหนึ่งอาจจะมองในแง่ของสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว วันนี้เราต้องมองทั้ง 2 อย่าง ประกอบกันนะครับ ว่าทำยังไงเราจะแก้ปัญหาได้ที่ต้อนทาง กลางทางคือเรา ปลายทางคือประเทศที่ 3 นะครับ แล้วเราก็ไม่อยากที่จะตั้งศูนย์อพยพ ศูนย์พักพิงอะไรอีกแล้วนะ ถ้าจะมีการตั้งก็คือเป็นพื้นที่ในการควบคุมตัวเป็นการชั่วคราว ในระหว่างที่ดำเนินคดีในเรื่องของการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเท่านั้น คงไม่ใช่เป็นเรื่องของไปจับติดคุกอะไรต่างๆ ในขณะนี้ไม่ได้ แต่ทีนี้ปริมาณมันมากขึ้นทุกทีๆ จะเห็นว่าเดิมอยู่ที่ ตม.บ้าง มีที่ควบคุมจำกัด วันนี้เข้ามาเป็นร้อย เป็นพัน แบบนี้มันก็เกิดปัญหา การดูแลเขาก็ไม่ทั่วถึง เดี๋ยวก็ถูกต่างประเทศเขามาว่ากล่าวอีก ต้องระมัดระวังให้เต็มที่

ในส่วนของส่วนกลาง ขณะนี้ก็เร่งรัดทุกที่ ทั้งส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ในส่วนของรัฐบาลก็ดำเนินนโยบาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในประเทศก็ได้ให้ฝ่ายความมั่นคงเขาดูแล ว่าจะทำกันอย่างไรบ้าง หน่วยงานไหนบ้าง ใช้มาตรา 44 บ้าง ใช้กฎหมายปกติบ้าง ในการที่จะทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการให้เร็วที่สุด ให้ได้ผล ในส่วนของต่างประเทศก็ให้คณะทำงานคณะที่รับผิดชอบการกำกับดูแลซึ่งมีท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าไปดูแล และกำหนดเป้าหมาย กำหนดวิธีการต่างๆ ถ้าเป็นเรื่องของต่างประเทศ ก็ส่งให้ต่างประเทศไปดำเนินการ ถ้าในประเทศก็ดำเนินการโดยฝ่ายข้าราชการทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นทำงานร่วมกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชัดเจน

ในส่วนของผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเสียก่อน ถ้ามันหนักหนาสาหัส ก็จะต้องปรับย้ายออกจากพื้นที่ไปก่อนแล้วสอบสวน สอบสวน ผิด ก็วินัยอยู่แล้ว โดนอยู่แล้ว แล้วก็อาญา ให้ความเป็นธรรมนะครับ ถ้าใครไม่ทำก็อย่าเดือดร้อน ก็จะต้องนำเรื่องเหล่านี้แก้ไขให้ได้โดยเร็ว

ในเรื่องของเหยื่อ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ก็ต้องดูแลเหยื่อ จะดูแลอย่างไร ผมบอกแล้ว ถ้าเก็บไว้นาน อยู่ไปนาน ไม่มีคนมารับกลับไป มันก็คือปัญหาอีกนั่นล่ะ แต่เราบอกว่าเราจะดูแลเขาด้วยสิทธิมนุษยชน แล้วจะยังไง ถึงเมื่อไหร่ นานแค่ไหน งบประมาณอย่างไร เพราะวันนี้งบประมาณของเราเองก็จำกัดในการดูแลคนไทย ก็ยังไม่ค่อยจะพอเลย ถ้าจะต้องมาดูแลคนเหล่านี้ มันใช่หรือไม่ แล้วเราจะทำยังไงไม่ให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ผมเห็นใจนะครับ เราคนไทยอยู่แล้ว เป็นชาวพุทธอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราก็เห็นใจ ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด ก็เป็นมนุษย์ แต่ทำอย่างไรถึงจะไม่เกิดผลกระทบกับบ้านเมืองเราด้วย ในเรื่องของการดูแล ใช้จ่ายงบประมาณ ทุกประเทศก็ไม่ค่อยมีใครรับกลับ เราก็จะต้องแก้ไขปัญหาให้ได้โดยอาศัยความร่วมมือ

ในระยะเวลาอันใกล้นี้ กระทรวงการต่างประเทศกำลังจะเชิญประเทศที่เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในรอบๆ บ้านเรา และประเทศที่เป็นแบบอย่างในการแก้ปัญหาเหล่านี้มาพูดคุยหารือกันประชุมกัน เพื่อหาทางออกอย่างเป็นที่น่าพึงพอใจทุกฝ่าย ก็อยากให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลวันนี้ว่าเราตั้งใจจริงนะครับในการแก้ปัญหาทุกปัญหา โดยเฉพาะปัญหาโรฮีนจา อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องแก้โดยเร็วด้วย

เมื่อที่ผ่านมานั้น ผมได้ไปวันเกษตรกร ช่วงเช้าก็ไปงานจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ตอนเย็นค่ำก็ไปงานของวันเกษตรกร ได้มีโอกาสพบเกษตรกรจำนวนมาก ที่รับรางวัลมาจากทุกจังหวัด ทุกภาคส่วนได้มีการให้โอกาสผมกล่าวปาถกฐาพิเศษ ผมได้เน้นย้ำแนวทางของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือเกษตรกรทุกประเภท ให้เกิดความเข้มแข็งให้มากขึ้น เพราะงั้นเราต้องร่วมมือกันตั้งแต่ระดับชุมชน ภูมิภาค ไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไปถึงชายแดนนะครับ ไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน แล้วไปสู่ประชาคมโลก เพราะงั้นเราต้องเริ่มต้นจากเล็กด้วย ก็คือเริ่มจากเกษตรกรเอง ซึ่ง เคยเป็นผู้ผลิตอย่างเดียว ตอนนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถประกอบการค้าได้ด้วยนะครับ สร้างความเข้มแข็งของตัวเองในการที่จะปรับไปสู่นอกจากผลิตแล้วยังแประรูปเองได้ เพื่อจะเข้าสู่การแข่งขันแล้วก็การจำหน่าย ภายในประเทศ แล้วก็ขยายไปต่างประเทศ ในโอกาสต่อไปนะครับ ก็เราอย่าไปบ่นไปว่าใครเลย เราต้องดูแลของเราให้เข้มแข็งก่อน

สหกรณ์เป็นหลักมีตั้ง 7 สหกรณ์ 7 แบบ ทั้ง 7 แบบสหกรณ์ต้องมีคุณภาพ แล้วทำให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วันนี้เราได้ให้โครงการประมาณ 3 พันกว่าล้านนะครับ 3 พันตำบล เมื่อวานผมได้สอบถามกับเกษตรกรเขามีความพึงพอใจนะครับ เขาบอกแนวคิดต่างๆ เหล่านี้ถูกทางแล้ว อยากให้รัฐบาลสนับสนุนส่งเสริมไปนะครับ อย่าไปฟังข้อมูลต่างๆ ที่บิดเบือนนะครับ วันนี้เราสร้างความเข้มแข็ง โดยให้สหกรณ์นั้นเขาสามารถที่จะเรียนรู้ ที่จะดูแลซึ่งกันและกัน ปราชญ์ชาวบ้านนะครับ ทุกอย่างร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ การจัดตั้งศูนย์วิชาชีพทางด้านการเกษตร วันนี้เรามีตั้ง 800 กว่าศูนย์นะครับ แล้วก็คราวนี้เข้าใจว่าสามารถพึ่งตนเองได้แล้ว โดยเราไปตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ของเกษตรกรเองนะครับ ไม่ต้องไปลงแรงลงทุนอะไรมากมาย ไปศึกษาแบบอย่างที่เขาทำได้แล้วได้ผลนั่นแหละ

เมื่อวานใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงนะครับ ให้โอกาส และโอกาสที่ผมจะเจอเขามันค่อนข้างยาก ทุกจังหวัดอยากให้ผมไปเยี่ยมเยียน ผมคิดว่าถ้ามีเวลาพอ ผมคงจะได้มีโอกาสไปนะครับ ผมรู้จริงๆ ว่าเขาลำบาก ลำบากทั้งการครองชีพ ลำบากทั้งการดูแลเลี้ยงลูกหลานอนาคตไม่มี มีแต่หนี้สิน วันนี้หลายๆ ส่วน เขาพูดกับผมเองว่า เขาดีขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลนี้ที่ผ่านมา ใครที่ยังไม่เข้าใจกรุณาไปสอบถามนะครับ ที่ศูนย์ต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐ บางเจ้าหน้าที่อาจจะเข้าใจง่าย บางเจ้าหน้าที่อาจจะไม่เข้าใจ อันนี้ถามกันได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมได้แล้วกัน ถ้าท่านมีปัญหาในเรื่องเหล่านี้ ขอบคุณทุกคนนะครับ ที่ให้ความสนใจให้กำลังใจในการสร้างความเข้มแข็งเกี่ยวกับเรื่องการเกษตร มีหลายๆ ชุด มีหลายๆ พวก ซึ่งจะต้องดูแล เมื่อวานนี้ได้เห็นในเรื่องของการปรับปรุงพฤติกรรมในการปลูกพืช มีการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในช่วงที่ไม่สามารถจะทำนาได้ เช่น ปลูกถั่วเขียวบ้าง ปลูกพืชที่มีรายได้ดี ปลูกผัก ปลูกอะไรต่างๆ เหล่านี้ หลายๆ อย่างมีความก้าวหน้าตามลำดับ ขอให้ไปดูบ้างถ้าจะปลูกข้าวกันอย่างเดียว ปลูกอ้อยกันอย่างเดียว ปลูกยางอย่างเดียวมันเป็นพืชเชิงเดี่ยว ใช้น้ำก็เยอะบางอัน และราคาก็ตก ทำไมเราไม่ไปปรับเปลี่ยนไปขายอย่างอื่นบ้าง และพืชในราคาตกก็ปลูกให้มันลดลง ราคามันจะได้เพิ่มขึ้น ปลูกไว้กินไว้ใช้บ้าง เมล็ดพันธุ์พืช หลังจากที่ในส่วนของกรมการข้าวเขาผลิตออกมา ก็ไปขยายพันธุ์ในสหกรณ์เมล็ดพันธุ์พืชได้ไหม จะได้ไม่ต้องไปซื้อจากบริษัทต่างๆ เขามากนัก มันจะได้ไม่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน เรื่องปุ๋ยเมื่อวานก็มีการผลิตปุ๋ยทั้งเคมีในส่วนที่เหมาะสมกับพื้นที่ มันยังจำเป็นอยู่ก็ต้องทำเองอย่าให้มันใช้อะไรที่มันแรงจนเกินไปนัก และเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น มีทั้งผลิตเอง มันต้นทุนน้อย หรือไม่ก็ตั้งสหกรณ์ปุ๋ยขึ้นมาแล้วทำขายแจกจ่ายกันเอง มันจะลดต้นทุนการผลิตไปได้ หลายเรื่องที่แก้ไขอยู่ขณะนี้คือ ผมกำลังมีนโยบายให้กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย ไปสรรหาเครื่องจักรเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นนะครับ อาทิ เครื่องเกี่ยวนะครับ และเครื่องอบ เครื่องที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องการสีข้าวทำนองนี้ หลายเรื่องนะครับ อาจจะไปเก็บที่ไหนซักแห่งหนึ่ง และไปดูแลในพื้นที่ที่มันเร่งด่วนก่อน ไล่ลำดับไป จะได้ใช้ราคาในการรับจ้าง ในการไถเพื่อจะลดได้อย่างจริงจัง เรื่องต้นทุนการผลิต ในเรื่องของปุ๋ย ถ้าเราลดเรื่องปุ๋ยเคมีซึ่งมันแพง ลดลงใช้ให้น้อยลง และใช้ปุ๋ยผลิตเองมันจะลดต้นทุนได้อีก

อีกเรื่องที่สำคัญก็คือเรื่องของการใช้ที่ดิน ผมทราบปัญหาว่าขณะนี้หลายเกษตรกร ไม่สามารถจะกำหนดราคาของตัวเองได้เลย การกำหนดราคา ... ไม่ใช่เป็นปีๆ ด้วยนะ ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้ทำสัญญากัน เพราะต้องไปง้อนายทุน เจ้าของที่ทางเขา นายทุน เจ้าของที่ เขาก็ไม่อยากให้เช่า ถ้าเช่าแล้วเวลาจะให้ออก เขาไม่ออก วันนี้เราต้องไปทำกฎหมายออกมาให้ได้ ว่าทำยังไงผู้ให้เช่าเขาถึงจะสบายใจ ผู้ไปเช่าก็ได้รับเกณฑ์ค่าเช่าให้เป็นธรรม ไม่ใช่แพงจนเกินเหตุ บวกค่าเช่า บวกค่าปุ๋ย บวกค่าเมล็ดพันธุ์พืชไปแล้ว มันตกไป 4-5 พัน 6 พัน ขายได้ 7 พัน มันจะอยู่ได้ยังไง มันต้องดูทั้งระบบ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย ต้องช่วยกันดูแล ฝาก อปท. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นด้วย ช่วยกันไปดูแลด้วย เป็นประชาชนของท่านเองทั้งสิ้นนะ ท่านอย่ามองเรื่องงบประมาณเพียงอย่างเดียว ท่านต้องมองว่าจะทำยังไง แล้วท่านเป็นคนเชื่อมต่อกับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ก่อนได้มั้ย ในขณะนี้ เพราะว่าเราต้องเข้มแข็งด้วยกันทั้งหมดก่อน ถ้าประชาชนเขาเข้มแข็ง อปท.ก็จะมีรายได้ที่จะเป็นกอบเป็นกำ เก็บเงินเพื่อการพัฒนา วันนี้ถ้าเกษตรกรเขาไม่เข้มแข็ง ท่านก็เก็บอะไรไม่ได้สักอย่าง มันก็รั่วไหลไปโน่นไปนี่หมด อยากให้ช่วยกันนะ

ในส่วนของไฟฟ้า ในบางพื้นที่เรามีปัญหา ไม่มีระบบสายส่งไปถึงพื้นที่ดังกล่าว แต่พื้นที่นั้นทำการเกษตร ก็มีการเตรียมการให้เป็นการเกษตรสมัยใหม่ ยุคใหม่ ด้วยการใช้น้ำหยดในการปลูกพืช ถ้าไม่มีไฟฟ้ามันก็หยดไม่ได้ ไม่รู้จะเอาน้ำมายังไง ผมก็เลยสั่งการไปแล้ววันนี้ คณะกรรมการพลังงาน ก็สั่งไป ว่าขอให้ไปหาวิธีการใช้พลังงานทดแทนได้มั้ยในพื้นที่ที่ไม่มีสายส่งไฟฟ้า แล้วก็ไปดูแลสหกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ก็ต้องไปด้วยกันก่อนนะ ทั้งเครื่องมือเครื่องจักรอะไรต่างๆ หรือการให้ความรู้ แล้วก็ศูนย์การเกษตรต่างๆ ที่ให้ท่านศึกษา กองทุนต่างๆ แล้วในเรื่องของไฟฟ้า ว่าจะทำยังไงให้สามารถมีไฟฟ้าใช้ได้ ตั้งแต่ในเรื่องของประเภทใช้น้ำให้น้อย ก็ต้องใช้การใช้น้ำหยด แล้วอีกแบบก็คือการต้องไปทำแหล่งน้ำในพื้นที่ของตัวเอง มันก็ต้องทั้งสองอย่าง ทั้งไฟฟ้า และแหล่งน้ำตัวเองด้วย มันถึงจะเจาะน้ำบาดาล มันต้องทำทั้งระบบนะ ต้องช่วยกัน ถ้ารอรับอย่างเดียวไม่มีทาง ไม่มีทางสำเร็จ เพราะขณะนี้ก็ทำไป 30 เปอร์เซ็นต์ ตลอดระยะเวลากี่ปีมาแล้วล่ะ ในช่วงที่ผ่านมากำลังจะทำให้ได้อีก 10 เปอร์เซ็นต์ จาก 30 เป็น 40 ยังไม่เสร็จเลย 40 ของ 100 เปอร์เซ็นต์นะ ยังทำได้แค่นั้น แล้วเกินจาก 40 ก็ไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำต้นทุนอีกแล้ว เพราะฉะนั้นจะเหลืออีกเท่าไหร่ อีก 60 เปอร์เซ็นต์ ต้องหาวิธีการอย่างอื่นแล้ว ว่าจะปลูกอะไรกันยังไง หรือใช้น้ำให้น้อยลงอย่างไร ไปหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมได้ที่ไหน อะไรทำนองนี้ ก็ลำบากนะ ต้องเข้าใจด้วยนะ

เมื่อวานผมดีใจนะ คุยกับเขา รู้สึกว่าเขาเข้าใจมากขึ้น เขาดีใจ ที่ผ่านมาเขาบอกไม่มีใครบอกเขาแบบนี้ เขาก็ฟังผมบ้าง อ่านอะไรเอาบ้าง วันนี้ผมคิดว่าพี่น้องเขาสนใจและเขาดูแลกันเองนะ น่าชื่นชม หลายผู้นำสหกรณ์ หลายผู้นำชุมชนต่างๆ เหล่านั้น จบปริญญามาก็มี จบวิศวฯ ก็มี ไปทำเกษตรหมดแล้วตอนนี้ แล้วก็ไปดูคนจนต่อไปๆ พี่จูงน้อง แล้วตัวเองก็โตขึ้นมาเป็นการแปรรูป ที่เหลือก็เป็นผู้ผลิต มันก็จะต่อห่วงโซ่เหล่านี้ขึ้นมา เหล่านี้ก็จะสร้างความเข้มแข็งต่อไปที่จะไปขาย หรือเป็นการตลาดที่ไปแข่งขันกับบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่อไปในอนาคต ก็ว่าไป บ้านเราเป็นประเทศที่เสรีในเรื่องของการค้า

ต่อไปก็คงเป็นเรื่องของการให้ความรู้กับประชาชนกับเกษตรกร ความรู้มันมีหลายอย่าง ความรู้ก็คือความรู้พื้นฐาน ในเรื่องของการทำงานในระบบราชการ ความรู้ในอาชีพของแต่ละอาชีพ และความทันสมัย เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งพี่น้องทุกคนต้องสนใจและติดตาม ไม่งั้นเราจะตามเขาไม่ทัน ใครสนใจเขาก็ไปก่อน ใครไม่สนใจก็ไม่รู้จะไปยังไง ก็ยังคงอยู่ที่เดิม หรือไม่ก็ถอยหลังไปเรื่อยๆ แล้วเราก็ลำบาก ลูกเต้าก็ลำบากไปด้วย สิ่งประเด็นสำคัญที่ผมบอกไปก็คือว่า การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัตินั้นสำคัญจริงๆ ไม่ว่าจะอาชีพอะไรก็ตาม เทคโนโลยี การเกษตร ต้องระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่ายเงินให้มาก การทำบัญชีครัวเรือน ลูกก็ต้องดูด้วยว่าพ่อแม่เขาทำบัญชียังไง ทำไปเถอะครับ ถึงแม้จะรู้สึกว่าทำไปแล้วมันมีแต่ตัวหนี้ มันก็ไม่มีรายได้จากไหนมา ท่านทำไปแล้วท่านจะรู้เองว่า ท่านใช้ส่วนไหนที่มันเกินไป อย่างน้อยพ่อแม่ให้ลูกดู ว่าต่อไปนี้ลูกอย่ามาขอโทรศัพท์ใหม่ ขออะไรใหม่มากนักได้มั้ย พ่อต้องไปกู้เงินเขามา กว่าจะได้เงินเหล่านี้มา ลงทุนเท่าไหร่ นาต้องไปกู้ใครเขาบ้าง เหล่านี้ผมว่าในครอบครัวก็ต้องเริ่มนะ ความอบอุ่นในครอบครัว ต้องมีเหตุมีผลซึ่งกันและกัน ถ้าพ่อแม่มีเหตุผลกับลูก ลูกก็จะมีเหตุผลกับเพื่อน เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันเป็นสถาบันทั้งสิ้นที่จะต้องมีความอบอุ่นในระหว่างกันด้วย เชื่อมโยงจากบ้านไปโรงเรียน แล้วก็ต่อไปยังสังคม ไปประเทศชาติ

เรื่องการดูงานต่างประเทศ ผมได้สั่งการไปแล้วให้หางบประมาณในการที่จะพาเกษตรกรในทุกจังหวัดไป ในทุกกลุ่มงาน ในทุกกลุ่มเกษตรกรทยอยไปดูงานต่างประเทศนะครับ เช่นญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ อันนี้ก็ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องนะครับ คือเอาคนที่ไม่เคยไปต่างประเทศ เอาคนที่มีศักยภาพในการที่จะพัฒนาหรือมาขยายต่อได้ไปนะครับ เพื่อจะมาเผยแพร่ ไปดูซิว่าการตลาด การผลิต การตลาด การค้าอะไรเขาเป็นยังไง นะจะได้ไป กลับมาบ้านเราจะได้เห็น บ้านเรามีปัญหาอย่างเดียวก็คือ พูดก็ไม่ค่อยฟังใช่ไหม ให้ดูจากทีวี ก็ไม่อยากดู ใช่ไหมเอาล่ะวิธีสุดท้ายแล้ว ก็หาทางเอาไปดูของจริงเขาแล้วกัน ถ้าย้อนกลับมาที่เขาเจริญแบบนี้ได้ เขามาดูบ้านเราก่อนนะ จำได้ไหมผมเคยบอกตั้งแต่แรก ๆ แล้ว เขาเคยมาดูประเทศเราตั้งแต่แรก โครงการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันนี้เขาไปไหนแล้วไม่รู้ ประเทศไทยก็ยังอยู่ที่เดิม หรือก้าวหน้ามาน้อยกว่าที่ควรจะเป็นนะ ช้ากว่าเขาเป็น สิบๆ ปี วันนี้ต้องหาทางนะครับ

ในเรื่องของสินค้าราคาถูก ผมพูดไปหลายครั้งแล้วก็ยังไม่ได้รับรายงานเพิ่มเติมขึ้นมานะครับ นอกจากร้านอาหารชุมชน ที่มีอยู่แล้วเดิม ซึ่งบางที่ก็แพงเกินไปนะครับ ไปขึ้นราคาเช่น บริเวณท่ารถ ท่าเรืออะไรต่างๆ ก็ถ้ามันเป็นพื้นที่ๆ มันจำกัด คนไป-มานี่ พวกนี้ขึ้นราคาตามความชอบใจไม่ได้ ราคาเขาควรจะเป็นอย่างไร ให้ท้องถิ่นไปดู นะครับ แล้วไปบอกนายอำเภอ ผู้ว่าราชการเขา หรือไปบอกพาณิชย์จังหวัด เขาจะได้แก้ไขนะครับ อย่าเอาเปรียบคนให้มากนัก ไม่ใช่อยากจะขึ้นอะไรก็ขึ้น อร่อยก็ไม่อร่อยอยู่แล้วด้วยบางร้าน ให้ไปช่วยกันดูด้วย ในส่วนของร้านอาหารราคาถูกนี่ ทุกค่ายทหารมีการปลูกพืชการเกษตรอยู่แล้ว บางค่ายก็ปลูกข้าวด้วยซ้ำไป ท่านก็มาตั้งร้าน อันนี้เป็นร้านเพื่อช่วยคนจนนะ สถานที่ราชการทุกสถานที่นะครับ ครอบครัวก็มีฝีมืออยู่แล้วทำกับข้าวให้พ่อบ้านกันอยู่แล้วนี่ ก็ไปหาปลูกพืชอะไรต่าง ๆ มาให้ราคามันถูกลง ผลิตเอง ไม่มีสารพิษ อะไรก็แล้วแต่ แล้วก็ทำกับข้าวจานเดียวข้างค่าย หน้าค่าย ข้างสถานที่ราชการ ผมว่าอย่างนี้ คนจนเขาก็มีโอกาส มีทางเลือก เขาไม่ต้องไปซื้อไอ้ร้านข้าวแกงที่มันขึ้นราคาแพงๆ จนเกินไป ลองทำหน่อยซิครับ ผมว่ามันจะดีขึ้นนะ สังคมมันก็จะดีขึ้นนะครับ

ก็วันนี้คงเอาเท่านี้นะครับ มีหลายเรื่องที่ได้พูดไปบ้างแล้ว แต่สิง่สำคัญประการเดียวที่ผมอยากจะขอร้องทุกท่านก็คือ กรุณาฟังแล้วก็คิดตามผม นะแต่จะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไรแค่ไหนก็พิสูจน์ด้วยผลงานแล้วกัน แล้วผลงานของผมนั้นมันทำเองไม่ได้นะ หรือรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ก็ทำเองไม่ได้อีกนะ มันก็ต้องทุกคน ทุกภาคส่วนมาช่วยกันทำนะ ไม่งั้นมันสำเร็จไม่ได้หรอกครับ เอากฎหมายอย่างเดียวไปบังคับกัน อะไรกัน ผมว่ามันไม่สำเร็จนะ มันต้องอาศัยความร่วมมือ ว่าวันนี้เราถึงเวลาหรือยังที่จะต้องมาร่วมมือกันในการทำงานนะครับ

ลำดับต่อไปนั้นผมขอเชิญ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลด้านความมั่นคงและ รัฐมนตรีในกลุ่มความมั่นคง มาพูดคุยทำความเข้าใจในเรื่องที่สำคัญๆ กับพี่น้องประชาชนในด้านความมั่นคงนะครับ อันนี้ก็คงต้องขอความร่วมมือด้วยนะครับ ในทั้ง 5 ฝ่ายนะ อันนี้เป็นรอบที่ 2 แล้วที่เข้ามานะครับ ความมั่นคง ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทั้งหลาย วันนี้ผมได้รับมอบจากท่านนายกรัฐมนตรีให้มาชี้แจงงานด้านความมั่นคง ซึ่งผมก็ได้นำรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ที่ผมได้ดูแลด้านความมั่นคงนั้น มาอธิบายเกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงให้กับประชาชนได้รับทราบ ว่างานด้านความมั่นคงในหลายมิตินั้น เราได้ทำอะไรไปบ้าง ท่านแรกที่ผมจะแนะนำก็คือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านต่อไปก็เป็น พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีฯ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านต่อไปก็ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีฯ แรงงาน ท่านสุดท้าย ท่านคือท่าน พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยฯ กลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก

ในวันนี้ผมก็จะมากล่าวนำเสียหน่อยเพื่อที่จะให้ประชาชนได้เข้าใจว่างานด้านความมั่นคงนั้นเราได้ทำอะไรกันบ้าง งานด้านความมั่นคงนั้นเราต้องดูแลในเรื่องของอธิปไตยตามแนวชายแดน ซึ่งตามแนวชายแดนนั้นเราก็จะต้องมีการบูรณาการของงานทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง เพื่อที่จะดูแลประชาชนตามแนวชายแดนนั้นให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เราก็มีการจัดหมู่บ้านชายแดน อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งร่วมมือกันระหว่างกลาโหม มหาดไทย และหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นในวันนี้ก็จะได้เรียนชี้แจงในเรื่องของรายละเอียดเกี่ยวกับในเรื่องของงานด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน ในตอนสุดท้ายที่จะเป็นเรื่องของกลาโหม

และที่สำคัญคือเราก็มีในเรื่องของจะต้องดูแลประชาชน ในเรื่องความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้น และที่สำคัญคือความยากจนของประชาชน ซึ่งก็จะอยู่ในส่วนงานด้านความมั่นคงเช่นเดียวกัน และผมก็อยากจะเรียนให้ทราบว่า งานด้านความมั่นคงนั้นเราจะต้องทำอย่างไรให้ประเทศนั้นมีความน่าอยู่ และมีความปลอดภัย นั่นเป็นสิ่งสำคัญ ผมก็จะมาเรียนในหลายๆ เรื่องที่จะให้ประชาชนได้รับทราบ

เรื่องแรกเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาในอดีต ซึ่งผมมี 3 เรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจในขณะนี้ เรื่องแรกก็คือเรื่องของปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางอียูได้ให้ใบเหลืองกับเรา และเราก็มีเวลาที่จะแก้ปัญหานี้ 6 เดือน ซึ่งทาง คสช.ได้ออกคำสั่งมาตราที่ 44 เพื่อจะบูรณาการเกี่ยวกับเรื่องว่าจะทำยังไงให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย โดยให้ผู้บัญชาการทหารเรือนั้นเป็นผู้ที่รับผิดชอบ จึงตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และเราก็ได้เริ่มปฏิบัติแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แล้วก็ตั้งขึ้น 28 ศูนย์ ตามแนวชายฝั่งทะเล 22 จังหวัด เพื่อที่จะดูแลเกี่ยวกับเรื่อง port in-port out ว่าเรือนั้นออกไปยังไง แล้วก็มีการตีทะเบียนเรือ และมี VMS คือการเฝ้าดูเรือต่างๆ ที่ไปทำประมง ก็อยากเรียนให้ทราบว่าเวลานี้รัฐบาลได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางกองทัพเรือก็ยืนยันว่าน่าจะทำให้ทันภายใน 6 เดือน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราได้ทำแล้ว

เรื่องที่สองที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบก็คือ เรื่องของการค้ามนุษย์ หรือ TIP Report (Trafficking in Persons) ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาลก็ได้ดำเนินการรายงาน จด TIP Report นี้ 2 อาทิตย์แล้ว คือไปที่สหรัฐอเมริกา คิดว่าเมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา ครั้งที่ 2 ก็คือวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา ก็ยังไม่ได้คำตอบ แต่เราก็ได้ดำเนินการในการออกกฎหมายเพื่อที่จะให้ครอบคลุมอีกฉบับหนึ่ง เราก็ได้ออกไปเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกัน

เมื่อกี้ผมลืมพูดไปว่า กฎหมายของ IUU นั้น เราก็ออก พ.ร.บ.ประมงผิดกฎหมาย และก็มีการที่จะทำให้มีการลงโทษอย่างจริงจัง อย่างนี้เป็นต้น

เช่นเดียวกัน ในเรื่องของ TIP Report ในเรื่องของค้ามนุษย์นี่ก็เช่นเดียวกัน เราก็มีการออกฎหมายเพิ่มเติมขึ้นอีกฉบับหนึ่ง และก็ตั้งศูนย์ในการพิทักษ์ป้องกันเด็กสตรีและผู้ที่มาทำการปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยให้รองผู้บัญชากการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าศูนย์ ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ที่ผมเล่าให้ฟังเป็น 2 เรื่อง เป็นเรื่องในอดีตที่ผ่านมาเป็นระยะเวลานาน ที่รัฐบาลเข้ามาแก้ไข

เรื่องต่อไปก็เป็นเรื่องอดีตเช่นเดียวกัน เป็นเรื่องของโรฮีนจา
ปัจจจุบันนี้เราได้ดำเนินการจับกุมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งโรฮีนจาต้องเรียนให้ทราบว่าเป็นเรื่องที่นานแล้ว เกี่ยวกับของของการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านการค้ามนุษย์ มันมีประเทศต้นทาง ประเทศกลางทาง และประเทศปลายทาง แต่ของเราเป็นประเทศกลางทาง ซึ่งเราต้องมีการตกลงพูดจากับประเทศต้นทางปลายทาง เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าเราจะดำเนินการอย่างไร เพราะฉะนั้นผมอยากเรียนให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าโรฮีนจาเป็นปัญหาที่ใหญ่มากนะครับ ปัจจุบันนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ร่วมกับทหารร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองไปจับกุมดำเนินคดี ซึ่งเราได้ออกหมายจับไปแล้วที่อำเภอสะเดาจำนวนทั้งสิ้น 61 หมายจับ และสามารถจับกุมได้ 25 คน และหนีออกไป36 คน และนี้คือความคืบหน้าที่รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง

ต่อไปเป็นเรื่องของงานที่รัฐบาลได้คิดขึ้นใหม่นะครับ เพื่อจะสนองตอบความต้องการของประชาชน งานแรก คือ งานที่เราจะทำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เกิดความสวยงามให้ประชาชนได้เข้าไป ออกกำลังกาย ขี่จักรยาน หรือเสวนา เราทำ 2 ข้าง แม่น้ำเจ้าพระยา จากบริเวณสะพานพระราม 7 - สะพานพระปิ่นเกล้าระยะ 7 กิโลเมตร ซึ่ง 2 ข้าง รวมเป็น 14 กิโลเมตร ซึ่งเราจะเริ่มดำเนินการภายในปี 2558 นั้น ทางกระทรวงมหาดไทย กรุมเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ทันเวลา เพราะกำหนดเวลาออกมาว่าใช้เวลาประมาณ 18 เดือน คือ เริ่มต้นตั้งแต่ มกราคม 2559 ถึง กรกฎาคม 2560 เราก็จะสามารถที่สำเร็จลงได้ อันนี้เป็นแนวความคิดของรัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีได้ริเริ่มทำให้กับประชาชน

และอีกเรื่องเป็นเรื่องคลองลาดพร้าว คือ การทำคนละอย่างกับริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นการระบายน้ำ มีระยะทางทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 20-38 เมตร โดยประมาณ ซึ่งมีประชาชนอยู่ตามคลองได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งเราเราก็ต้องดำเนินการต่อไป และกำหนดตายเช่นเดียวกันว่าเราจะทำให้จบภายใน 4 ปี ตั้งแต่ ปี 2558-2562 และนี้ คือความคิดริเริ่ม และเมื่อเราทำคลองลาดพร้าวสำเร็จ เพื่อเป็นการระบายน้ำทรางภาคตะวันออกของกรุงเทพมหานคร เราก็จะรับน้ำทางภาคตะวันออกน้ำก็จะไม่ท่วมต่อไป ก็จะระบายลงในอุโมงค์ใหญ่ได้เรียบร้อย และทำให้เป็นคลองน้ำใส และมีคลองที่รองรับน้ำโสโครกอยู่ริมคลอง ซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อันนี้เป็นแผนงานที่เราเตรียมการไว้ค่อยข้างเรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีการดำเนินการอยู่นะครับก็กำหนด 4 ปี น่าจะสำเร็จลงได้

อีกงานซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างสำคัญคือที่จอดรถรอบเกาะรัตนโกสินทร์มันต้องจอดรถได้ประมาณ 400-500 คัน ซึ่งขณะนี้ในขั้นต้นทั้งกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการให้ย้ายไปอยู่ที่จอดรถแห่งใหม่ ซึ่งเป็นบขส.เก่า ซึ่งทางบขส.เขาได้ร่วมมือด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับตำรวจว่าให้บังคับใช้กฎหมายอย่างชัดเจนว่าต่อไปนี้เราจะทำอย่างไร กับตรงนี้เมื่อไปจอดรถแล้ว พื้นที่บริเวณรอบเกาะก็จะได้เรียบร้อยไม่มีการติด ประชาชนไปมาหาสู่ นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวได้เป็นอย่างดี

เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากเรียนให้ทราบในขั้นต้นคือ เรื่องของความมั่นคงซึ่งทางกระทรวงกลาโหมรับผิดชอบซึ่งคือการรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่กระทรวงกลาโหมต้องบูรณาการ ทั้ง กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยกองบัญชากการกองทัพไทยจะเป็นผู้ที่บัญชากการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยปละที่สำคัญต้องจัดระเบียบตามแนวชายแดนเพื่อให้ประชาชนไป-มาหาสู่ระหว่าง 2 ประเทศ มีการค้ากันเล็กน้อยในระหว่างชายแดน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทางกระทรวงกลาโหมจะรับผิดชอบร่วมกับประทรวงมหาดไทยร่วมกับตชด. ร่วมกับตม.ศุลกากร ในการไม่ให้สินค้าผิดกำหมายต่างๆเข้ามาในประเทศไทย ที่สำคัญคือเรื่องของยาเสพติดนั้นก็ถือเป็นเรื่องซึ่งทางกองทัพบกได้จัดตั้งกองกำลังทั้งหมด 8 กอง เพื่อจะดูแลตลอดทั้งประเทศเพื่อจะทำงานที่ผมกล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ก้จะเรียนให้ทราบว่างานด้านความมั่นคงนั้นค่อนข้างมีหลายมิติซึ่งท่านายกรัฐมนตรีก็บอกแล้วว่างานด้านความมั่นคงจะไปเกี่ยวข้องกับงานด้านเศรษฐกิจในเรื่องสัมคมจิตวิทยาเพราะว่าเราต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนได้เกิดความเชื่อมั่นว่าประเทศเรามีความมั่นคงและสามารถที่จะเดินหน้าไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงด้วยความยั่งยืนและที่สำคัญคือประชาชนต้องเกิดความมั่งคั่งครับ ผมอยากเรียนให้ทราบในขั้นต้นว่าฝ่ายความมั่นคงจะทำทุกอย่างร่วมมือกันทุกกระทรวงทุกหน่วยงานนั้นให้ประชาชนนั้นเกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดไปครับ

ต่อไปเรียนเชิญท่าน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เชิญครับ

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ

สำหรับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจหลายประการนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตนำเสนอเฉพาะเรื่องของภารกิจในการป้องกันการบุกรุกป่า และเรื่องการแก้ปัญหาขยะ สำหรับสถานการณ์การบุกรุกป่าในประเทศไทยปัจจุบันนี้ ลดลงไป 102 ล้านไร่ ที่มีอยู่ทุกวันนี้ ถูกบุกรุกไปสะสมมาตลอดที่ผ่านมา 44 ล้านไร่ ใน 44 ล้านไร่ ผมไปดูตัวเลขย้อนหลัง 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยเราเอาคืนได้ปีละ 47,000 ไร่ ในขณะที่ถูกบุกรุกเฉลี่ยปีละ 270,000 ไร่ จะเห็นได้ว่าเราเอาคืนมาได้ ถ้าเทียบกับการบุกรุกต่อปี ได้ไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต็์

แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ คสช.เข้ามาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันจนถึงเดือนนี้ สถิติการบุกรุกที่เคยว่าปีละประมาณ 270,000 ไร่ ตัวเลขที่ออกมาใหม่อยู่ในหลักพันเท่านั้นเอง จะเห็นได้ว่า เราสามารถมีสถิติการบุกยึดได้โดย คสช.และรัฐบาลปัจจุบัน พอเป็นอย่างนี้ท่านนายกฯ ก็มาบอกผมว่า ถ้าเราปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ การบุกรุกกับการได้คืนมามันไม่เท่ากัน มันก่อให้เกิดปัญหาเสียป่าไปเรื่อยๆ ท่านเลยให้กระทรวงทรัพยากรฯ ไปดูว่า ปัญหาจริงๆ เกิดจากอะไร เพื่อจะได้แก้ให้ตรงจุด เราจะดูแล้วพบว่า ปัญหามันเกิดขึ้น 2 ทางครับ

ทางแรกคือผมอยากเรียนส่วนแรกก่อน คนที่บุกแบ่งเป็นทั้งคนจน คนจนในที่ราบ กับคนจนในที่อยู่บนภูเขานะครับ อีกพวกหนึ่งคือ คนที่มีฐานะ หรือคนรวยอะไรก็แล้วแต่ก็บุกในที่ทั้งรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และเจตนาบุก หรือบางครั้งก็ใช้ต้องแสดงว่าญาติตนเป็นนอมินีในการบุกรุกนี่คือปัญหาส่วนหนึ่ง เราก็ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ท่านนายกฯ ให้แก้ปัญหาในแต่ละจุดไปเลย ส่วนแรกคนจนที่ในทุกพื้นที่ ที่ราบก่อน เราก็พบว่า ราษฎร เกษตรกรที่ยังไม่มีที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการบุกรุก มีอยู่ถึง 3.3 แสนรายในประเทศไทย ตัวเลขล่าสุดนะครับ เป็นตัวเลขที่ขึ้นบัญชีไว้ขอที่ ส.ป.ก.ไม่มีที่ดินทำกิน เกษตรกร 3.3 แสน ท่านนายกฯ เลยให้นโยบายว่า ในการที่เราเอาพื้นที่ป่าคืนมาก็ดี หรือราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ป่า อย่างอยู่มานานแล้วก็ดี ทำอย่างไรจะให้เขามีที่ดินทำกิน และถูกต้องตามกฎหมาย จึงเกิดนโยบายคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติขึ้นมา หรือเรียกย่อว่า คทช.

คทช.นี้มีอนุกรรมการ 3 ชุด ชุดที่ 1 เป็นอนุกรรมการจัดหาที่ดิน อย่างที่ผมกล่าวมีตัวผมเป็นประธาน อนุที่ 2 จะเป็นจะเป็นจัดคนลงที่ดินพูดง่ายๆ ก็จะมีกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน อนุกรรมการอนุที่ 3 คือ การพัฒนาที่ดินแปลงนั้นๆ มีรัฐมนตรีเกษตรฯ เป็นประธาน เราทำโครงการนี้ โครงการนำร่องได้แล้ว ที่จริงผมไม่อยากให้ใช้คำว่า นำร่อง แต่เพิ่งเกิดได้จริงๆ คือที่แม่ทา จ.เชียงใหม่ คือท่านนายกรัฐมนตรีได้กรุณาเป็นประธาน ที่นั่นเราจัดสรรที่ดินให้กับราษฎรมาทำประโยชน์ 7,282 ไร่ มีราษฎรได้รับประโยชน์ 1,235 ครอบครัว

คราวนี้การจัดที่ให้ราษฎรแบบนี้ แน่นอนว่าเขาจะต้องอยู่กับป่าด้วย เขาต้องดูแลป่าด้วย ตรงนั้นแม่ทามี 7 หมู่บ้าน เราก็บอกว่า เราจัดป่าชุมชน กับป่าเศรษฐกิจชุมชนให้ชาวบ้านแม่ทาช่วยดูแล ป่าชุมชนคือป่าที่ราษฎรไปเก็บของป่าได้ แต่ห้ามตัดต้นไม้ บางพื้นที่ให้ว่า หมู่บ้านนี้กี่ไร่ๆ อยากจะเรียนว่า ป่าชุมชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปัจจุบันสะสมกันมามีประมาณ 9,000 แห่งแล้วนะครับ ที่ผ่านมาเฉลี่ยปีหนึ่งกระทรวงกรมป่าไม้ทำป่าชุมชนได้ปีละไม่เกิน 200 ป่า แต่ว่าในปัจจุบันนี้ในช่วงที่ คสช.เข้ามาอยู่จนถึงปัจจุบัน กรมป่าไม้สามารถจัดสรรป่าชุมชนให้ราษฎรทั่วประเทศได้ 700 ป่าในปีเดียว เรียกว่าสปีดกันเต็มที่ นั่นแปลว่า จะมีประชาชนช่วยดูแลป่า ใช้ประโยชน์จากป่านั้นด้วย

ป่าอีกแบบหนึ่งที่เราจัดให้เขาด้วยคือ ป่าเศรษฐกิจชุมชน ป่าแบบนี้จะเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมไปแล้ว เราจะไปสนับสนุนการปลูกต้นไม้ที่โตเร็ว ไม้เศรษฐกิจ คือเขาปลูกแล้วเขาตัดเอาไปทำซ่อมบ้านได้ ตัดไม้ไผ่เอาไปขายได้ แล้วมาปลูกชดเชย คือใช้พื้นที่เต็มพื้นที่ ที่แม่ทา 7 หมู่บ้าน เราจัดสรรให้ 7 ป่าเศรษฐกิจชุมชน

นอกจากนั้น ชาวบ้านแม่ทาจะดูแลเรื่องป้องกันไฟป่าให้เราด้วย ในภูเขา ในอุทยาน ในพื้นที่ป่าที่ใกล้เคียง นี่เป็นลักษณะหนึ่ง แต่เราก็มองว่า ชุมชนพื้นที่ตอนต้น 3.3 แสนรายต่อราษฎรที่มีอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจ แม่ทาที่เดียวก็น่าจะพันกว่าแห่ง ปีนี้เราตั้งไว้ที่ ปี 58 นะครับ 8,500 ครอบครัว ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จในปีนี้ก็ได้แค่ 8,500 ปี 59 เราตั้งไว้ที่อีก 5,100 ครอบครัว ยังห่างจากตัวเลข 3.3 แสนรายอีกมาก นั่นแปลว่า เรื่องนี้ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา และเราก็ต้องมาดูการบริหารจัดการของเราว่า เราจะเร่งจัดหาที่ดินให้ราษฎรได้เร็วขึ้นกว่านี้หรือไม่ เราต้องพยายามทำตรงนี้ มันเป็นเรื่องใหม่ หลายพื้นที่ บางพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผมเรียนไปยังครับว่า ลักษณะการจัดที่ดินแบบนี้มันต่างกับของเดิมคือ ของเดิมให้เป็นเอกสารสิทธิ์ส่วนตัว แต่อันใหม่นี้เราย้ายเป็นภาพรวม ไม่เหมือน ส.ป.ก.ไม่เหมือน ส.ค.1 เพื่อป้องกันการไปเปลี่ยนสิทธิ์ หรือขายสิทธิ์อย่างที่ผ่านมา

ถ้าย้อนไปดูตัวเลขในอดีตที่ผ่านมา ราษฎรที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ลักษณะนี้ไป และไม่เปลี่ยนสิทธิ์ เราจะเดินหน้าแก้ปัญหานี้ต่อไป อันใหม่นี้ได้แล้วขายไม่ได้ เพราะอยู่รวมกัน เกษตรเขามาจัดสรรให้ว่า ลงทุนจะทำอย่างไร จะพัฒนาเกษตรแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับตลาด เขาจะมาดูให้หมด รัฐเข้ามาดูแลให้ด้วยซ้ำไป นั่นคือการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านที่บุกรุกที่ป่า คือเราคิดว่า ถ้าเราทำให้เขาได้เขาจะลดการบุกรุก

ต่อมาในที่สูง ชาวเขา หรืออะไรก็แล้วแต่ การแก้ปัญหาก็ต้องอีกอย่างหนึ่ง แน่นอนว่า เราอยากให้เขาย้ายลงมา เพราะเป็นพื้นที่้ต้นน้ำ แต่เอาแหละด้วยประเพณี ชีวิตอะไรของเขาก็แล้วแต่ อาจจะต้องการอยู่บนนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือว่า เราไม่ให้เขาขยายพื้นที่บุกรุกออกไป และต้องใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะให้เขาอยู่กับป่ารักษาป่าให้เรา ซึ่งเรื่องนี้คงต้องใช้เวลาเช่นกัน นี้คือแนวทางนะครับ

ต่อมาการแก้ปัญหาการบุกรุกของคนที่พอมีสตางค์ ประการแรกถ้าเป็นนายทุนที่เข้าไปบุกรุกป่า อันนี้คือไปทำรีสอร์ต ไปปลูกยางหรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วไม่มีเอกสารสิทธิ์เลย อย่างนี้ก็ดำเนินการเลย ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ก็เข้าดำเนินการตาม คือถ้าไปตรวจพบเราจะใช้ก่อน เพราะถ้าคุณไม่มีเอกสารสิทธิ์ คุณต้องไป ดำเนินการเอาคืนทันที อันนี้คืออีกประเภทหนึ่ง ถ้าเขามีเอกสารสิทธิ์มันมีกฎหมายอยู่แล้ว อันนี้รัฐจะให้ความเป็นธรรมกับทุกคน

เพราะฉะนั้นนักธุรกิจที่ทำธุรกิจอยู่ ได้เอกสารมาไปทำอะไรก็แล้วแต่ ท่านทำต่อไปก่อนนะครับ เรายังไม่ไปทำอะไรท่าน เรากำลังตรวจสอบให้ จะดำเนินการตามกฎหมาย และต้องให้ความเป็นธรรมกับท่าน นั่นคือในส่วนของคนที่บุกรุก ทีนี้พอมาดูในภาครัฐว่า ปัญหามันอยู่ที่ไหน ภาครัฐมันมีปัญหาอยู่ 5 ด้านเลยครับ ด้านแรกคือ ด้านนโยบาย ด้านที่สองคือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านที่สามคือ ตัวเจ้าหน้าที่เอง ด้านที่สี่คือ การบูรณาการกับหลายหน่วยงาน ด้านสุดท้ายคือ แผนที่ นั่นคือปัญหาของภาครัฐเอง เราต้องมาแก้ปัญหาทีละด้าน ด้านนโยบายที่ผ่านมา นโยบายเรื่องนี้ไม่ชัดเจนคือ แทบจะทุกรัฐบาลจะพูดเหมือนกันว่า จะต้องนโยบายไม่ให้บุกรุกป่า แต่ในทางปฏิบัติ นโยบายเมื่อไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ข้างล่างเขาก็อิหลัก อิเหลื่อ เขาก็ไม่กล้าทำอะไร เผลอๆ จะทุจริตเสียเองเลย เพราะว่าไม่รู้จะทำอย่างไรยังชัดเจน นี่คือปัญหาด้านนโยบาย ไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนให้เขา ไม่มีการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนให้เขาของเดิม ของใหม่รัฐบาลนี้ชัดเจนนะครับว่า กฎหมายเป็นหลัก เอาคืนมา เอาป่าคืนมานะครับ มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน ปีนี้กระทรวงทรัพยากรฯ มองแล้วว่า ที่ผ่านมาเราได้คืนมา 5 หมื่นกว่าไร่ ปีนี้เราจะเพิ่มว่า จะต้องเอาคืนมาอีก 6 แสนไร่ โดยเฉพาะคนที่บุกรุกทำสวนยาง 6 แสนไร่ ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ภายในธันวาฯ นี้

ต่อไปเรื่องการบริหารจัดการ ปัญหาของเรามีครับ เรามีป่าอยู่ 1,521 กว่าป่า แต่ว่ามีหน่วยของเดิม มีหน่วยที่ดูแลรักษาทั้งป่า และอุทยานฯ อยู่เพียงครึ่งหนึ่งคือ 813 หน่วย จะเห็นได้ว่า บางหน่วยก็ต้องดูแลหลายพื้นที่หลายป่า ป่ามันใหญ่นะครับ อันใหม่ของเราจัดว่า ใน 1,521 แห่ง จะต้องมีทีม มีชุดที่รับผิดชอบเฉพาะที่ไปเลย เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบอย่างชัดเจนมากขึ้น เจ้าหน้าที่ก็จะดูแลง่ายขึ้น ซึ่งเราก็ต้องจัดตั้งเพิ่ม ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ เราให้นโยบาย เราให้แนวทางในการแก้ปัญหาจัดการพื้นที่บุกรุกในลักษณะเชิงพื้นที่ หรือ เอโอ เราแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ลักษณะ พื้นที่แรก เอโอ 1 คือ คดีสิ้นสุดแล้วเจ้าหน้าที่เข้าไปได้เลย ดำเนินการตามกฎหมาย ต้องสู้กันในชั้นศาล

เอโอ 2 นี่คือ ที่อยู่ในระหว่าง 1 กับ 1 และประสานให้เร่งด่วน เร่งรัดให้การดำเนินคดีให้เสร็จให้เร็ว

ประเภทที่ 3 กำลังพิสูจน์สืบสวนว่า เอกสารเขาถูกหรือเปล่า ได้มาโดยชอบไหม อันนี้คือ เอโอ 3

เอโอ 4 ที่เราจะคุมไว้คือ พื้นที่ยังไม่ถูกบุกรุกก็ต้องว่าเรื่องนี้กันต่อไป

ต่อมานะครับด้วยตัวเจ้าหน้าที่เอง ที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า มีหลายพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างถาวร โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้รายงาน ก่อให้เกิดปัญหาว่า เราต้องมาทุบมารื้อถอนกันที่หลัง อันใหม่เราก็กำชับว่า ต่อไปนี้ถ้าคุณพบเห็น แล้วคุณไม่รายงาน คุณจะมีความผิด ที่ผ่านมาอาจจะกลัวอิทธิพล กลัวอะไรก็แล้วแต่ คุณก็ต้องไปจัดการ คุณมารายงานทางกระทรวงฯ จะดำเนินการให้ ตอนนี้เจ้าหน้าที่ทุกระดับรับทราบ และดูแล เพราะฉะนั้นการก่อสร้างแหล่งใหม่ขนาดใหญ่ที่ไม่เกิดขึ้นจะต้องไม่มีนะครับ

เรื่องที่ 4 ปัญหาของส่วนราชการเองขาดการบูรณาการร่วมกัน ก่อนหน้านี้ท่านจะเห็นว่า เราแก้ปัญหาด้วยการใช้เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ หรือกรมอุทยานฯ ฝ่ายเดียว อย่างมากก็ร่วมกับตำรวจในท้องถิ่น อันใหม่นี้จึงมีทีมที่ครบองค์ มีเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม มี ปปง. มีตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารช่วยเราเต็มที่ คือเป็นทีมใหญ่เข้าไปเลยนะครับ ในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งได้ผลมากนะครับ ก่อนหน้านี้ไม่มีภาพนี้ เดี๋ยวนี้มีแล้วนะครับ

สุดท้ายครับ เรื่องป่าไม้คือปัญหาแนวเขตไม่ชัดเจน เรามีปัญหาเรื่องแผนที่ กระทรวงทรัพยากรฯ และกระทรวงมหาดไทยใช้แผนที่คนละฉบับ ของผมใช้ 1: 50,000 กระทรวงมหาดไทยใช้ 1 : 4,000 กรมที่ดินนะครับ ตอนนี้เรากำลังทำแผนที่ใหม่ขอบเขตป่าไม้ ขอบเขตอุทยานฯ เรากำลังใช้แผนที่ 1 : 4,000 เหมือนกันทั้งประเทศ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปีนี้ เราตั้งใจทำให้เสร็จปีนี้ เมื่อได้อย่างนี้แล้ว ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ที่มันซ้อนกันจะหมดไป ทุกคนจะชัดเจนว่า ตรงนี้เป็นพื้นที่ป่า ตรงนี้ที่อุทยาน ตรงนี้ที่สาธารณประโยชน์ ทั้งหมดนี้คือ แนวทางในการแก้ปัญหาของการบุกรุกป่าไม้

เรื่องที่ 2 ผมอยากจะกราบเรียนสั้นๆ ในเรื่องขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยถ้าท่านจำได้ คสช.เข้ามาได้มากำหนดโรดแมปในการแก้ปัญหาขยะ โดยที่ทำต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลนี้ เราต้องทราบก่อนว่า ขยะประเทศไทยก่อนหน้านี้ตกค้างประมาณ 30 กว่าล้านตัน 31 ล้านตัน คสช.เข้ามา 1 ปี 31 ล้านตันนี่สะสมมานะครับ 1 ปี คสช.จัดการไปได้ 14 ล้านตันหมดไปแล้วเกือบครึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ขยะใหม่ที่มันเกิดขึ้นมาทุกวันนี้ มันเป็นปัญหาว่า ขยะใหม่ที่มันเกิดขึ้นมานะครับ เฉลี่ยปีละ 26 ล้านตันต่อปี

เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่แก้ปัญหา จะเห็นได้ว่า ขยะใหม่เข้ามา ขยะเก่ายังทำลายไม่หมด จะสะสมไปเหมือนป่าไม้นี่แหละครับ รัฐบาลเลยได้ให้ทำโรดแมปแก้ปัญหาขยะอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น ซึ่งขณะนี้เราได้ดำเนินการไปแล้ว และเดินตามโรดแมปมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานครับ ก่อนหน้านี้ทางกระทรวงทรัพยากรฯ กับกระทรวงมหาดไทย ได้ทำงานวางแผนร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ปัญหาตรงนี้ มีกระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการอีกหลายหน่วยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถึงตรงนี้เป็นช่วงของการนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จริงแล้วนะครับ ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ทางกระทรวงมหาดไทย รับช่วงต่อจากกระทรวงทรัพยากรฯ ในการแก้ปัญหาขยะ ลงไปทำในพื้นที่จริง สำหรับรายละเอียดต่อไป ท่านรัฐมนตรีมหาดไทยอาจจะกราบเรียนท่านพี่น้องประชาชนเพิ่มเติม กระผมก็มีเรื่องเรียนชี้แจงเท่านี้ครับ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ต่อไปก็จะให้กับทางท่านรัฐมนตรีฯ มหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เรียนชี้แจงในส่วนของกระทรวงมหาดไทย เรียนเชิญครับ

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

สวัสดีครับท่านผู้ชมทุกท่าน ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยนั้น ผมขอเรียนเรื่องที่ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ครับ เรื่องแรกเป็นเรื่องของอุบัติเหตุจากการสัญจรทางถนน ผมในฐานะที่ดูแลกระทรวงมหาดไทย ที่มีความรับผิดชอบในการตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน ก็อยากจะเรียนว่าในขณะนี้ทั่วโลกเขาได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้จักรยานในการสัญจร ใช้ในการออกกำลังกาย รวมทั้งการท่องเที่ยวด้วย ในขณะที่ทั่วโลกเขาทำกันเป็นกระแส รัฐบาลไทยเองก็มีแนวนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้จักรยาน ทั้งการออกกำลังกาย และการสัญจร โดยเฉพาะการสัญจร ก็น่าจะทำให้เกิดกระแส เพราะว่าสามารถลดรายจ่าย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ใช้จักรยานก็สามารถที่จะออกกำลังกายได้ด้วย ลดรายจ่ายได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้มีเรื่องสำคัญอยู่เรื่องหนึ่ง คือเรื่องความปลอดภัย ซึ่งผมจะเรียนว่าผู้ที่ใช้จักรยานนั้น ก็มีสิทธิที่จะใช้ถนนเช่นเดียวกับผู้ใช้ยานพาหนะอื่นๆ บนถนน มีสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในการใช้ถนนเช่นเดียวกัน ในเรื่องนี้เอง ในระยะเวลาที่ผ่านมาท่านคงทราบดีจากสื่อว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้จักรยานในถนนหลวงหลายครั้งด้วยกัน ทั้งกับคนไทยกันเอง กับชาวต่างประเทศ ซึ่งเราน่าจะได้มีมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยดังกล่าว

ในเรื่องนี้เอง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงมีพระราชปรารภผ่านราชเลขานุการในพระองค์ ให้กระทรวงมหาดไทยดูแลความสำคัญกับมาตรการต่างๆ ในการให้การดูแลความปลอดภัยผู้ใช้จักรยาน ในเรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยได้น้อมเกล้าฯ รับแนวพระราชปรารภดังกล่าวมาทบทวนนโยบายต่างๆ รวมทั้งมาตรการต่างๆ ด้วย

ผมขอเรียนสถิติของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ในหลายๆ ปีที่ผ่านมานั้น ในการใช้ถนนของผู้ทีใช้รถใช้ถนนนั้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล จะมีสถิติการประสบอุบัติเหตุ รวมทั้งเสียชีวิต สูง สาเหตุหลักเนื่องมาจากการใช้ความเร็ว และที่สำคัญคือการดื่มสุราและใช้ยานพาหนะ ในเรื่องนี้ ในระยะปีที่ผ่านมาเราได้กำหนดมาตรการต่างๆ มากมาย ที่สำคัญที่จะเรียนให้ท่านผู้ชมทราบก็คือว่า เราได้มีการบังคับใช้กฎหมาย เราตั้งจุดตรวจที่จะตรวจจับการใช้ความเร็วเกินกำหนด ในการที่จะตรวจการดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มเหล้า แล้วก็ขับรถ โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เราได้มีการตรวจจับกันถึง 7 แสนกว่าราย แต่สิ่งที่อยากจะเรียนก็คือว่า สถิติของการเสียชีวิตของผู้ที่สัญจรยังสูงอยู่ใน 2 เรื่อง ก็คือการใช้ความเร็วเกินกำหนด คือขับรถเร็ว ขับรถประมาท ด้วยความคึกคะนอง รวมทั้งการดื่มสุราแล้วขับรถ ยังสูงอยู่ เราก็ได้นำข้อมูลต่างๆ มาพิจารณาดูว่ามาตรการต่างๆ มันถูกต้องมั้ยในการที่จะลดอุบัติเหตุทางถนน

จากการวิเคราะห์แล้ว แม้ว่ามาตรการในการที่จะบังคับใช้กฎหมาย ในการที่จะตรวจจับ มีความสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งก็คือว่าการสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมในการใช้รถใช้ถนนให้กับผู้ที่ใช้รถใช้ถนนนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าทุกคนใช้รถโดยมีจิตสำนึก มีวัฒนธรรมในการใช้ถนน เช่น ไม่ขับรถเร็ว ไม่ดื่มสุราแล้วขับรถเป็นเด็ดขาด ขับรถด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีชุมชน ในพื้นที่ที่มีความคับคั่ง ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกและมีวัฒนธรรมในการใช้รถใช้ถนน ก็น่าจะเป็นมาตรการที่ลดอุบัติเหตุทางถนนได้

ในเรื่องต่อไป คือเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ในอดีตเราก็มีการบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้การวิเคราะห์ก็น่าจะพิจารณาในเรื่องของมาตรการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ผมขอยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ขับรถโดยดื่มสุรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขับรถสาธารณะ ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบสูง ถ้ามีการตรวจเจอ บทบัญญัติที่่น่าจะลงโทษ คิดว่าน่าจะต้องให้ยกเลิกใบขับขี่สาธารณะ เพราะว่าไม่มีความรับผิดชอบที่จะทำได้ ผมขอยกตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้จะต้องหารือและดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นี่เป็นเรื่องแรกที่อยากจะเรียน

ในเรื่องที่สอง คือเรื่องการจัดที่ทำกินให้กับผู้ยากไร้ ไม่มีพื้นที่ทำกิน ซึ่งท่านรัฐมนตรีฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กรุณาเรียนแล้ว ในระยะที่ 1 หรือเฟสที่ 1 นั้น ท่านได้ส่งมอบที่ดินมาให้กระทรวงมหาดไทย ในฐานะคณะอำนวยการจัดที่ดิน หรือจัดคนเข้าไปทำกิน ได้ดำเนินการในระยะที่หนึ่ง 5 หมื่นกว่าไร่ ทางกระทรวงมหาดไทยก็ได้เข้าสำรวจทั้งแปลงที่ดินและผู้ครอบครองต่างๆ หมดเรียบร้อยแล้วในขณะนี้ และก็ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าทำประโยชน์ในที่ดังกล่าว เช่น ต้องเป็นผู้ยากไร้ ต้องมีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อคน ต้องไม่มีที่ทำกิน ในเรื่องนี้ได้รวบรวมเรียบร้อยแล้วในขณะนี้ กำลังจะนำหลักเกณฑ์ทั้งหมดเข้าเป็นมติ ครม.ในเร็ววันนี้ หลังจากนั้นประชาชนต่างๆ ... อันนี้ไม่ได้หมายรวมถึงบ้านแม่ทาที่ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งอยู่ในเฟสที่ 1 เช่นเดียวกัน และในส่วนที่เหลือเราก็จะรีบดำเนินการ แล้วก็จะให้ประชาชนได้เข้าไปใช้ทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ถ้าทำระยะที่ 1 เรียบร้อย ก็จะมีราษฎรประมาณ 7 พันครอบครัว ที่สามารถจะมีที่ทำกิน

ส่วนในระยะที่ 2 ในพื้นที่ป่าสงวน 8 จังหวัด และพื้นที่ ส.ป.ก.อีก 4 จังหวัดนั้น ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ส่งข้อมูลให้แล้ว กระทรวงมหาดไทยก็จะดำเนินการสำรวจเช่นเดียวกัน และจะได้ดำเนินการต่อไป

ในเรื่องสุดท้ายได้แก่เรื่องของการแก้ไขปัญหาขยะ ตามที่ท่านรัฐมนตรีฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กรุณาเรียนแล้ว ในเรื่องนี้กระทรวงมหาดไทยก็ได้มีการทำแนวทางในการบริหารจัดการขยะตามโรดแมปของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ในตอนที่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศนั้น ก็ได้มีการจัดทำโครงการนำร่องในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ขณะนี้ได้มีการขนย้ายขยะและดำเนินการฝังกลบอย่างเรียบร้อยแล้วทั้งสิ้นประมาณ 2 แสนตันเศษ เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เข้ามาดำเนินการเตรียมการก่อสร้างโรงกำจัดขยะเพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ขณะนี้ได้ดำเนินการแล้ว

สำหรับผลสำเร็จของโครงการนำร่องนี้ ก็น่าจะเป็นต้นแบบของการดำเนินการกำจัดขยะในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป อย่างไรก็ตาม ผมกลับมาเรื่องโรดแมปของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องนี้ทางกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแนวทางที่จะดำเนินการต่อขยะในพื้นที่ดังกล่าว หลักการง่ายๆ คือว่า พื้นที่ขยะตามที่มีจริงในขณะนี้มีจำนวนมาก การจะดำเนินการ จะพิจารณาเป็นพื้นที่ๆ แต่ละพื้นที่นั้นก็จะคำนึงถึงปริมาณขยะเป็นสำคัญ เนื่องจากการทำโรงงานกำจัดขยะเป็นไฟฟ้า จะต้องมีปริมาณขยะอย่างต่ำประมาณ 300 ตันต่อวัน เพราะฉะนั้นจะต้องสำรวจพื้นที่ที่มีขยะพอเพียง ถ้าพื้นที่ใดไม่พอเพียง ก็จะต้องมีการนำขยะจากพื้นที่ข้างเคียงมา ปัจจัยเรื่องที่จะต้องคำนวณถึงความคุ้มค่าในการขนย้ายขยะมา จัดตั้งเป็นกลุ่มๆ เมื่อกำหนดแล้วก็จะของบประมาณจากรัฐ หรือว่าจะพิจารณาเรื่องการร่วมทุนกับภาคเอกชนต่อไปในพื้นที่ดังกล่าวนั้น

ส่วนในพื้นที่ที่มีปริมาณไม่พอเพียงที่จะดำเนินการได้ จะต้องมีมาตรการในการที่จะลดปริมาณขยะ โดยที่ผู้ใช้ ผู้ที่ทำให้เกิดขยะนั่นเอง ซึ่งมีหลายมาตรการด้วยกัน ซึ่งมีตัวอย่างหลายๆ พื้นที่ด้วยกันที่สามารถทำได้ มีการแยกขยะก่อน แต่สรุปสุดท้าย พื้นที่ดังกล่าวจะต้องใช้การฝังกลบ ซึ่งในการฝังกลบนั้นแนวทางก็คือว่า จะต้องมีการแยกขยะ เอาสิ่งที่ไม่ย่อยสลายออกก่อน เช่น พลาสติก เป็นต้น แล้วจึงจะมีการฝังกลบตามหลักอนามัย นั่นเป็นแนวทางซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้ดำเนินการตามโรดแมป ถ้าเราดำเนินการบริหารจัดการอย่างนี้ เรื่องขยะเราก็จะหมดไป

ทั้งสามเรื่องก็เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการแล้วในขณะนี้ กระผมมีเรื่องที่จะเรียนท่านผู้ชมทราบเพียงเท่านี้ครับ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ต่อไปก็จะเรียนเชิญท่านรัฐมนตรีฯ แรงงาน พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ครับ

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์

ท่านผู้ชมที่เคารพรัก ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ผมขออนุญาตแบ่งเป็นกลุ่มงานที่อยู่ในความสนใจ กลุ่มงานแรก คือ การหางานให้คนไทยทำตามนโยบายรัฐบาลนะครับ ลดความเหลื่อมล้ำถึงแม้ประเทศไทยของเราจะมีการว่างงานต่ำที่สุดในโลกก็ตาม แต่ในความว่างงานนั้นก็มีคนกลุ่มหนึ่งยังเข้าไปไม่ถึงแหล่งงาน ทำงานได้ค่าตอบแทนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ทั้งยังจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้คนไทยทุกคนที่มีงานทำให้มีทักษะฝีมือมีค่าตอบแทนที่สูงขึ้น และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขเราได้จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทยขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ทำหน้าที่ 2 ประการ ประการแรก คือ ประสานกับสถานประกอบการหรือนายจ้าง เพื่อหาตำแหน่งงานที่ว่างและต้องการแรงงาน ประการที่ 2 คือ หาผู้ที่ว่างงานผู้ที่อยากทำงานเข้ามาและเอามาจับให้เจอกัน ได้ดำเนินการมาพอสมควร ถ้าจับแล้วไม่เจองาน ทำไง ก็ต้องพัฒนาฝีมือหรือเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานเพื่อให้ตรงกับการจ้างงาน วันนี้เราได้เปิดศูนย์ที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เราได้เปิดศูนย์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดศูนย์ที่นครราชสีมา และอีกไม่นานจะเปิดที่จังหวัดระยอง นครปฐม เชียงใหม่ตามลำดับ ศูนย์เหล่านี้เราจะเปิดครอบคลุมทั่วประเทศนะครับ 18 กลุ่มจังหวัด ศูนย์นี้นอกจากทำหน้าที่หางาน ฝึกทักษะฝีมือ ยังจะส่งเสริมทักษะให้คนไทยได้มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น จึงกล่าวว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศใดมีศักยภาพมากกว่ากันประเทศนั้นจะได้เปรียบในเรื่องของการแข่งขัน

ในเรื่องที่ 2 เรื่องการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งเราดำเนินการขณะนี้จากนโยบายของรัฐบาล เราได้มองเห็นว่าแรงงานต่างด้าวเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยเราต้องมี เนื่องจากการเจริญเติบโตของประเทศไทยเราก้าวหน้าไปข้างหน้ามาก มีความต้องการแรงงานมาก ขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นประเทศที่คนไทยสามารถหาอาชีพอิสระทำได้ค่อนข้างจะง่าย จึงทำให้กำลังแรงงานคนไทยหายไปจากตลาดแรงงานพอสมควร ประกอบกับค่าแรงขั้นต่ำของประทเศไทยในขณะนี้ ถือว่าสูงกว่าประเทศใกล้เคียงมากอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้มีแรงงานต่างด้าวกับประทเศใกล้เคียงของเรา เพื่อนบ้าน หลั่งไหลเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากและเมื่อเข้ามาจำนวนมากนั้น มีทั้งเข้ามาโดยถูกกฎหมายและเข้ามาโดยไม่ถูกกฎหมาย ผมขออนุญาตเรียนกลุ่มแรกที่เข้ามาถูกกฎหมาย ขณะนี้มีประมาณ 1.3 ล้านคน พวกนี้เราอนุญาตให้ทำงานในประเทศได้ 2 ปี และต่อได้อีก 2 ปี เมื่อครบ 4 ปี ต้องออกจากประเทศไปเป็นเวลา 3 ปี จึงสามารถกลับเข้าประเทศได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้รับจ้างเอง มีความประสงค์จะอยู่ต่อ เมื่อกฎหมายไม่เปิดช่องให้ทำให้เกิดการหลบหนีเกิดแรงงานผิดกฎหมายรอบใหม่ วันนี้รัฐบาลได้อนุมัติหลักการไปแล้วให้เว้นระยะจาก 3 ปี เป็น 30 วัน ซึ่งขณะนี้ได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดี ซึ่งแรงงานเหล่านี้ได้รับการฝึกฝีมือเป็นเวลา 4 ปี เราไปเอาคนใหม่ย่อมทำให้เราเสียเปรียบ วันนี้เราก็แก้ปัญหาในกลุ่มถูกกฎหมายได้ครับ
ในส่วนของแรงงานที่เข้ามาผิดกฎหมายแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องมีในขณะนี้ โดย คสช. เราได้จดลงทะเบียนศูนย์วันสต็อปเซอร์วิสแล้ว 1.6 ล้านคน เราให้ไปตรวจสัญชาติ ขณะนี้ทำการตรวจสัญชาติจากประเทศต้นทางประมาณ 300,000 คน ครอบครัวคนเหล่านี้จะได้รับสิทธิเท่าเทียมกันกับแรงงานที่ถูกกฎหมาย ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผ่อนผัน เนื่องจากกฎหมายยังไม่เสร็จ เนื่องจากวันนี้ในช่วง 90 วัน เป็นช่วงที่เราผ่อนผันอยู่ และวันนี้เรามีคนมาเปลี่ยนบัตรอนุญาตเพื่อผ่อนผันอยู่ต่อประมาณ 400,00คน ขณะนี้ ถือว่าดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีอุปสรรคใดใด ในส่วนแรงงานที่เป็นปัญหามาก คือ แรงงานประมงและได้รับการร้องขอจากสมาคมประมงและผู้ประกอบการประมงว่าในช่วงที่เราจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวนั้นหลายส่วนติดไปเรืออยู่กลางทะเลไม่สามารถกลับเข้ามาจดทะเบียนได้ ร้องขอให้เราจดเพิ่มเติม รัฐบาลก็อนุญาตให้จดเพิ่มเติมผ่อนผันเป็นรอบที่ 2 ในปีนี้ 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมา วันนี้กำลังดำเนินการอยู่ประมาณ 20,000 คน และยังมีเวลาอยู่ก็จดให้ถูกต้องเสีย สำหรับอาชีพประมงต้องยอมรับเป็นอาชีพที่ไม่เหมือนอาชีพอื่น ๆ ต้องใช้ความแข็งแรงอดทน มีกำลังใจที่เข้มแข็งต้องอยู่ในทะเลพื้นที่แคบอยู่ในทะเลเป็นระยะเวลานาน ถ้าแรงงานที่ไม่มีความคุ้นเคยกับทะเลเมื่อไปทำก็ต้องหลบหนีและรู้สึกว่ายากลำบาก ด้วยอาชีพของเขาเอง รัฐบาลได้อนุมัติให้สมาคมประมงหรือผู้ประการประมง นำเข้าแรงงานแรงงานประมงจากต่างประเทศให้มาทำงานในราชอาณาจักรได้ ได้อนุมัติหลักการไปแล้ว ขอสมาคมและผู้ประกอบการร้องขอว่านำเข้าจากประเทศใด แต่ขอให้เป็นคนที่ทำประมงมาก่อน มีความชำนาญในการทำประมงมาแล้ว
อีกส่วนคือการที่รัฐบาลได้ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนรอบบ้านเราก็ทำให้มีแรงงานที่เข้ามาทำงานลักษณะเช้ามาเย็นกลับหรือเข้ามาตามฤดูกาล ในขณะนี้มีการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เราก็จะมอบอำนาจให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยทหาร ตำรวจในพื้นที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาในการกำกับดูแลในการนำเข้าอนุญาตให้อยู่ และส่งกลับออกไปตามห้วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นแต่ละพื้นที่มีหลายละเอียดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงลักษณะอุตสาหกรรม การทำงานมีความแตกต่างกัน ผมเรียนว่าสิ่งที่ผมต้องทำต่อไปอันนี้เป็นแนวทางเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างยั่งยืนในอนาคตคือการเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายเข้ากำลังปรับระเบียบให้เกิดความสะดวก ง่าย รวดเร็ว และถูก ประหยัด แต่เราเชื่อได้ว่า เมื่อการเข้าถูกกฎหมายนั้นเสียเงินทองก็น้อย และสะดวกรวดเร็วเท่านั้น หรือน้อยกว่าการเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นการทำผิดกฎหมายน่าจะลดน้อยลงตามลำดับอันนี้ก็เรียนฝากไว้ว่า สำหรับท่านผู้ประกอบการทั้งหลายที่ต้องการจะเป็นแรงงานนอกบ้าน ผมจะตอบว่า นโยบายรัฐบาลนั้น เรามองจำนวนแรงงานอย่างไร เราคงจัดหาแรงงานให้มากเพียงพอเท่ากับภาคธุรกิจต้องการ แต่ในจำนวนนี้ต้องเรียนมาที่ฝ่ายความมั่นคงสามารถดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้ ในขณะเดียวกันจำนวนแรงงานเหล่านี้ เมื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องมีความสมดุลกับคนไทย ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม และวิถีของคนไทยมากจนเกินไป

สำหรับภาคธุรกิจเอกชนคงจะต้องได้มองอนาคตจต่อไปว่า การดำเนินธุรกิจนั้นในอนาคต เราจะเพิ่มแรงงานไปเรื่อยๆ อย่างนี้คงไม่ไหว และไม่มีใครเขาทำกันทั่วโลก สิ่งที่จะต้องทำอยู่ 2 เรื่องก็คือ เรื่องความสามารถในการผลิต หรือการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อีกทางหนึ่งก็ต้องเพิ่มเทคโนโลยีเข้ามาใช้สมดุล เพื่อจะลดการทำงานที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้นให้หมดไป เหมือนจะลดปัญหาผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรม และเรื่องความมั่นคงอยู่เรื่อยๆ

สำหรับเรื่องสุดท้าย เมื่อเราคนไทยมีต่างด้าวทำงาน ทุกอย่างเราอยู่ในกติกาของสังคมโลก เราก็ต้องพูดถึงเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงาน วันนี้เรามีมาตรฐานในการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมายไทย ซึ่งอยู่ในระดับมาตรฐานโลก เราดำเนินการมาโดยตลอด เรื่องแรกคือเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน อันนี้เป็นหัวใจสำคัญว่า พี่น้องที่ใช้แรงงานต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งรัดเรื่องแรกคือ เรื่องสร้างจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยให้กับนายจ้าง ลูกจ้าง ต้องมีจิตสำนึกว่า ความปลอดภัยเป็นอย่างไร

ในส่วนที่ 2 ต้องเรียนรู้องค์ความรู้ในเรื่องความปลอดภัย ในเรื่องนี้เขามีวิชาการด้านนี้กันมากมาย อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ต้องพร้อม

ประการที่ 3 ถ้าใครไม่ทำตามข้อบังคับใช้กฎหมายให้สถานประกอบการปลอดภัย นี่เรื่องแรกของการเรื่องคุ้มครองแรงงานนะครับ ในเรื่องที่สองเรื่องผู้ประกอบการถูกละเมิด สิทธิในการทำงาน ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม เราก็มีที่จะเข้าไปเจรจายุติเหตุการณ์โดยใช้กฎหมาย ไม่ใช้การเจรจานะครับ แต่ช่วงที่ผ่านมาเราก็เน้นว่า ทุกเรื่องให้จบที่โรงงานก็ใช้การเอื้ออาทร ร่วมแบ่งปันสร้างสรรค์สังคมไทย เพราะก็จบที่ศาลมันก็บาดเจ็บด้วยกันทั้งสองฝ่าย ลองคิดว่าให้การพูดคุย ซึ่งในช่วง 3-4 เดือน ลงช่วงปีใหม่ ซึ่งจะเป็นเทศกาลในการเคลื่อนขบวนก็ในปีนี้ลดน้อยลง มีการพูดคุยจบในระดับโรงงานเป็นจำนวนมาก นั่นก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่นายจ้างกับลูกจ้างสามารถพูดคุยกันได้

ในเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องของประกันสังคม ขณะนี้เรามีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมอยู่ 13 ล้านคน ยังมีพี่น้องผู้ใช้แรงงานอีก 2 กลุ่ม ซึ่งผมไม่ได้เรียนตั้งแต่ตอนต้น เรื่องของคนไทยไม่มีงานทำ คือพี่น้องผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ซึ่งวันนี้ตัวเลขประมาณ 25 ล้านคน อย่างภาคการเกษตรก็ 15 ล้าน และเป็นผู้ทำอาชีพอิสระประมาณ 10 ล้าน อาชีพอิสระบางคนก็รายได้สูง บางคนก็รายได้ต่ำ

เพราะฉะนั้นวันนี้เราคงต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแลเขา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน และสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบจังหวัดขึ้นทั่วประเทศได้ดำเนินการมา 1 เดือน พวกนี้จะเข้าไปสำรวจติดตามเครือข่ายแรงงานในระบบทุกจังหวัด เข้าไปส่งเสริมเพื่อให้มีค่าตอบแทนสูงขึ้น เราคาดหวังเมื่อเขาได้ทำงานที่ดีขึ้น มีค่าตอบแทนสูงขึ้น จะเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ และที่ผ่านมาเราดำเนินการไปก็ช่วยพี่น้องแรงงานนอกระบบนี่เข้าสู่ประกันสังคมไป 2.5 ล้านคนแล้วขณะนี้ คงเหลืออีกประมาณซัก 4-5 ล้านคน ที่เราต้องลงไปดูใกล้ชิดเพิ่มขึ้น

อีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มคนซึ่งด้อยโอกาสที่สุดในสังคมไทยขณะนี้ก็คือ กลุ่มผู้พิการ มีคนพิการอยู่ 1.6 ล้านคน อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 7 แสนคน ตอนนี้มีงานทำอยู่ประมาณซัก 2-3 แสน หรือประมาณ 3-4 แสนคนที่เราต้องเข้าไปดูแลเรื่องการทำงาน คนเหล่านี้มีศักยภาพ แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับงานที่มี วันนี้ทำ 2 เรื่องคือ หางานโดยผ่านศูนย์บริการจัดหางาน นำแรงงานพิการเข้าไปสู่การทำงานของสถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน อันนี้บรรจุได้ประมาณ 2 หมื่นกว่าคนในขณะนี้ แต่พี่น้องผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้พิการนั้น บางทีไม่สะดวกในการเดินทางไปทำงาน และค่าใช้จ่าย อีกประการบางท่านไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม คนทำงานปกติได้ เราก็ทำโครงการเพิ่มอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งเริ่มได้ประมาณ 1 เดือนเศษ คือหางานให้ผู้พิการทำในชุมชน ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน หรือที่บ้าน ขณะนี้เรามีภาคเอกชนเข้ามาร่วมจำนวนมากในขณะนี้ก็คือ จ้างผู้พิการให้เป็นพนักงานของบริษัท แต่ทำงานอยู่ที่ชุมชนหรือที่บ้าน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือสังคม เจ้าหน้าที่ซีเอสอาร์ของบริษัทอย่างนี้ ทดลองมาแล้วขณะนี้เริ่มต้นมาได้เดือนเศษๆ บรรจุได้ประมาณ 400 กว่าคน ถือเป็นโครงการต้นแบบ และจะขยายผลต่อไป

เรื่องสุดท้ายจริงๆ ก็คือเรื่อง ข้อร้องเรียนของผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ เมื่อวันแรงงานแห่งชาติ ท่านนายกรัฐมนตรีได้รับข้อเรียกร้องทั้ง 11 ข้อ และท่านก็บอกว่า ท่านจะทำทุกเรื่องก็ได้สั่ง มอบให้ทำทุกเรื่องตามนโยบายท่านนายกรัฐมนตรีอีก แต่จะทำเร็ว ทำทันทีก็จะเรียนให้ทราบตลอดมา สิ่งที่ทำทันทีคือ ตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้อง ซึ่งเป็นเรียกร้องในข้อ 11 เราได้จัดตั้งแล้วนะครับ มีรองปลัดกระทรวงฯ เป็นหัวหน้า และเชิญผู้เรียกร้องทุกกลุ่มเข้ามาเป็นคณะทำงานติดตามการดำเนินการ จะต้องติดตามการทำงานทุกเดือน โดยมีการจัดตั้งกรมความปลอดภัยตามข้อเรียกร้องของพี่น้องประชาชนก็ทำไปแล้ว

ส่วนในเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ประมาณข้อ 1- 7 วันนี้เราตั้งคณะทำงานทุกเรื่อง เราชะลอร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ว่า ร่าง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เราชะลอไว้ชั่วคราว ขณะนี้นำผู้ที่ร้องเรียน หรือเรียกร้องทั้งหมดนั้น เข้ามาช่วยในสำนักงานในตัวกฎหมายทั้งสิ้น คาดว่าเมื่อทำกฎหมายเสร็จแล้วจะเป็นที่พึ่งพอใจของทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ นำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และสภาฯ ต่อไป ยังยืนยันว่าทุกข้อท่านนายกฯ ได้สั่งการให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนทุกข้อทั้ง 11 ข้อ ผมขออนุญาตแค่นี้ครับ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ต่อไปก็เป็นท่านสุดท้ายครับ รัฐมนตรีช่วยกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบกครับ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เรียนเชิญครับ

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร

เรียนพี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักทุกท่านครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องของงานรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งเป็นการชี้แจงที่เพิ่มเติมจากที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่าน พล.อ.ประวิตร ได้กรุณาเรียนให้ท่านประชาชนทั้งหลายได้ทราบในขั้นต้นไปแล้ว

ในด้านการรักษาความมั่นคงภายในนั้น ที่ผ่านมาเราได้มีผลการดำเนินงาน โดยได้มีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ ด้วยการสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ โดยที่ผ่านมานั้นได้เชิญผู้นำและตัวแทนกลุ่มบุคคล ซึ่งประกอบด้วย พรรคการเมือง และกลุ่มเห็นต่าง กลุ่มเรียกร้องผลประโยชน์ นักวิชาการ และสื่อมวลชน มาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ และการปฏิรูปประเทศ ที่สโมสรกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิต โดยดำเนินการเมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา และมีผู้นำและตัวแทนกลุ่มบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 40 คน

การจัดกิจกรรมดังกล่าวก็ถือว่าได้ผลเป็นที่น่ายินดี ได้ผลเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้เราได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานในห้วงต่อไป โดยเฉพาะความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งทางท่านหัวหน้า คสช.ได้กรุณาสั่งการให้ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรู จัดการประชุมในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง ก็เพื่อเป็นการเปิดโอกาส และเป็นช่องทางให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาช่วยในการสร้างความสงบ สร้างความสุขให้กับบ้านเมือง และทำให้กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยนั้นบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

ผมเรียนเพิ่มเติมในเรื่องนี้อีกสักนิดหนึ่งว่า การดำเนินการของศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะในส่วนกลางที่ผมยกตัวอย่างนั้น แต่ว่าโดยทั่วไปแล้วก็ได้ทำในพื้นที่ทั้งหมดของประเทศเรา ทุกภาค ซึ่งก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนโดยทั่วไปสามารถที่จะดำเนินการให้ความคิดเห็นโดยมีการเปิดเวทีเป็นจำนวนมากที่ผ่านมา ซึ่งก็จะดำเนินการต่อไปเช่นเดียวกัน

เรื่องที่สองที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบ ก็คือเกี่ยวกับเรื่องของการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราได้มีการปรับกลไก โครงสร้างการบริหารจัดการให้มีความชัดเจนและมีเอกภาพมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ระดับนโยบาย จนถึงระดับพื้นที่ ภายใต้การดำเนินการอำนวยการของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่เราคุ้นหูในคำย่อว่า คปต. โดยมีท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน

ในเรื่องนี้ก็ทำให้สามารถที่จะตอบสนองต่อสภาพปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีผลการปฏิบัติที่สำคัญในห้วงที่ผ่านมา ในด้านต่างๆ ดังนี้

ด้านที่หนึ่ง คือด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเรื่องนี้ กอ.รมน.ได้ใช้ความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบ และใช้การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังควบคู่ไปกับการรุกด้วยงานการเมืองในพื้นที่อิทธิพลของผู้ก่อเหตุรุนแรง ทั้งในหมู่บ้านเสริมความมั่นคง 162 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านที่มีความเคลื่อนไหวของผู้ก่อเหตุรุนแรงนั่นเอง ควบคู่กับการส่งเสริมที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันตนเอง ตามแนวทางทุ่งยางแดงโมเดล โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ หรือ ศปก.อำเภอ ในการขับเคลื่อนให้เป็นผล ให้พื้นที่นั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่เกิดเป็นผลสำเร็จมาแล้ว ที่เราเห็นกันก็คือ สถิติเหตุการณ์และการสูญเสียนั้น ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และโครงสร้างของผู้ก่อเหตุรุนแรงในหมู่บ้านเป้าหมายทั้ง 162 หมู่บ้านนั้น ถูกจำกัดเสรี และมีแนวโน้มกลับไปสู่ความเป็นปกติมากยิ่งขึ้น

ประชาชนนั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ชุมชนของตนเองมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ชุดคุ้มครองตำบล และเครือข่ายเฝ้าระวังพื้นที่ และมีการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น สามารถที่จะป้องกันและควบคุมการก่อเหตุรุนแรงขนาดใหญ่ในเมืองเศรษฐกิจหลักทั้ง 7 เมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในห้วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ต้องยอมรับว่ายังมีเหตุการณ์อยู่ โดยมีเหตุการณ์หลักๆ อยู่ 2 เหตุการณ์ด้วยกัน แต่ก็ถือว่าได้ลดลงจากห้วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาแล้วกว่าร้อยละ 60 สามารถคลี่คลายคดีสำคัญ และติดตาม จับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย ทั้งในส่วนของคดีความมั่นคง และคดีที่เกี่ยวข้องกับภัยแทรกซ้อน ได้รวดเร็วและมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ประชาชนนั้นมีความมั่นใจ และสามารถที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติได้มากขึ้น ทั้งกลางวัน และกลางคืน ทั้งในเรื่องของการประกอบอาชีพ การปฏิบัติศาสนกิจ การจับจ่ายใช้สอย การเล่นกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจตามสถานที่ต่างๆ

มีเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรง และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาตามหลักสันติวิธีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอันนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันให้ทุกท่านได้ทราบว่า ประชาชนในพื้นที่นั้นมีความเข้าใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้น

ในด้านที่สอง คือด้านการพัฒนาพื้นที่และคุณภาพชีวิต ก็มีการขับเคลื่อนโครงการใหญ่ๆ ที่สำคัญในระดับนโยบาย ได้แก่ การก่อสร้างเส้นทาง 37 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั้ง 37 อำเภอ ในปัจจุบัน ซึ่งการก่อสร้างเส้นทางนี้ก็เป็นการนำเอาน้ำยางพาราจากในพื้นที่เข้ามาดำเนินการในการก่อสร้างพื้นผิว ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยประชาชนในพื้นที่ให้มีรายได้เพิ่มยิ่งขึ้นด้วย

ความก้าวหน้าในการก่อสร้างนั้น ถ้าคิดแล้วก็อยู่ในประมาณร้อยละ 50 ในขณะนี้ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาชุมชนเพื่อการบริโภค และการอุปโภคด้วย ในพื้นที่หมู่บ้าน เราก็ได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่้บ้านตันหยงเปา ต.ท่ากำซำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี การแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล จ.ปัตตานี ที่ค้างคามาตั้งแต่ปี 2547 ขณะนี้ก็ได้สำเร็จตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้แล้ว

สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในภาพรวมนั้น ในด้านของการพัฒนาพื้นที่และคุณภาพชีวิต ได้แก่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเราคงจะคุ้นกันในชื่อย่อว่า ศอ.บต. ซึ่งในห้วงเวลาที่ผ่านมานั้นก็มีผลงานที่สำคัญที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบ โดยสรุปก็คือว่า ได้ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนตามรูปแบบทุ่งยางแดงโมเดล ได้ครอบคลุมทั้ง 37 อำเภอ หรือ 282 ตำบล ได้มีการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างในเขตชุมชนเมือง จำนวน 34 จุดด้วยกัน และมีการติดตั้งระบบแสงสว่างด้วยชุดโคมไฟส่องสว่างระบบ LED และระบบโซลาร์เซลล์ บนถนนสายที่มีความเสี่ยงในเรื่องของการก่อเหตุรุนแรง ถึงจำนวน 2 พันจุดด้วยกัน ได้มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยในโรงเรียนและพื้นที่เสี่ยง จำนวน 582 แห่ง การจัดตั้งและติดตามการดำเนินงานของไทยอาสาป้องกันชาติในการอาสาพิทักษ์พื้นที่ในเขตเมือง จำนวน 966 คน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับหมู่บ้าน หรือย่อว่า พนม.นั้น หลายพื้นที่ไปดำเนินการไปจำนวน 1,970 หมู่บ้าน ความต้องการของประชาชนผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน ตามที่ได้กล่าวไปแล้วจำนวน 292 หมู่บ้าน ในวงเงิน 35 ล้านบาทเศษ มีการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนอื่นๆ เช่น การผ่าตัดต้อกระจกแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 692 คน และสนับสนุนการให้ขาเทียมแก่ผู้พิการ มีจำนวนประมาณถึง 731 คน รวมทั้งรณรงค์ในการจดทะเบียนผู้พิการมาแล้วเป็นร้อยละ 99.64

งานต่อไปก็คืองานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ได้ให้การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงจำนวน 190 คน วงเงิน 14.5 ล้านบาทเศษ

งานต่อไปก็คือ งานสร้างความเข้าใจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน ได้ดำเนินการสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เข้าใจในแนวนโยบายของ คสช.และรัฐบาล ในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เน้นการหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง มุ่งเน้นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

งานต่อไป คืองานศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้มีการเร่งรัดการจัดการศึกษาในพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนรู้มีผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาสูงขึ้น โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษา ให้รับผิดชอบการศึกษาในพื้นที่เป็นการเฉพาะ และมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมอาชีพให้แก่โรงเรียนต่างๆ เป็นการขยายโอกาสในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนถึง 109 โรงเรียนแล้ว โดยการที่เรามีการจัดติวเตอร์ให้แก่นักเรียน ม.3 และ ม.6 จำนวน 9,317 คนด้วยกัน เราจัดตั้งเป็นศูนย์ติวเตอร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนถึง 46 ศูนย์ และมีนักเรียนชั้น ม.6 ได้เข้ามาร่วมในการจัดตั้งนี้ เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกจำนวนกว่า 2 หมื่นคนแล้ว ในขณะนี้ และให้บัณฑิตอาสาทำหน้าที่เป็นครูช่วยสอนประจำหมู่บ้าน จำนวน 2,222 หมู่บ้าน ให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 ถึง ป.6 ให้สามารถพูดไทยได้ชัด เขียนไทยได้ถูก และอ่านไทยได้คล่องด้วย

เรามีการสนับสนุนอาหารเช้าให้กับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1,325 คน มีการส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมไปปฏิบัติธรรมและศึกษาแหล่งสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล ซึ่งขณะนี้ทางประเทศเนปาลเราก็คงต้องมีการชะลอไว้ในช่วงหนึ่งก่อน โดยดำเนินการมาแล้วจำนวน 110 คนด้วยกัน

งานต่อไป คืองานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และการขับเคลื่อนนโยบาย ได้มีการจัดปฐมนิเทศให้กับข้าราชการและพนักงานราชการ ในส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้ทำไปแล้ว 5 รุ่นด้วยกัน จำนวนประมาณ 800 คนเศษ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานที่เจ็ด คืองานสำคัญ เป็นงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยวิธีสันติ ได้ดำเนินการสนับสนุนงานพูดคุยเพื่อสันติสุขในระดับพื้นที่ โดยการส่งเสริมการจัดกิจกรรมของเครือข่ายภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และการฝึกอบรม ให้ความรู้ ทัศนคติที่ถูกต้องแก่ข้าราชการที่มาบรรจุใหม่ในพื้นที่ ในการสร้างสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการพูดคุย ทำให้เกิดเวทีเสวนาประชาคม และรณรงค์ให้มีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบล จำนวน 290 ตำบล

ในเรื่องนี้ ผู้นำศาสนาหลายประเทศในตะวันออกกลางได้กล่าวชื่นชมว่า ประเทศไทยของเรานั้นเป็นต้นแบบที่ดีของสังคมพหุวัฒนธรรมด้วย

ในเรื่องการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้กรุณาอนุมัติแผนขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดตั้งเป็นกลไกขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยกลไก 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะประสานงานระดับพื้นที่

คณะแรกนั้นเป็นคณะที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของนโยบาย โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เอง ส่วนคณะที่สอง ดำเนินการเตรียมการในด้านการพูดคุยสันติสุข ส่วนคณะที่สาม ในระดับพื้นที่ ก็ได้มอบหมายให้ท่านแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 เป็นผู้ดำเนินงานในพื้นที่

สำหรับความก้าวหน้าในการดำเนินการนั้น เรียนว่ามีผลความคืบหน้ามาโดยลำดับ ทั้งนี้ ก็ได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในห้วงที่ผ่านมา และอีกไม่นานนักการประชุมอย่างเป็นทางการก็จะเกิดขึ้น ก็จะเป็นการหารือร่วมกันในโอกาสต่อไป ซึ่งจะได้เรียนให้ประชาชนได้รับทราบต่อไปถึงความก้าวหน้า ในส่วนนี้ผมก็ขอเรียนยืนยันว่างานต่างๆ ของการรักษาความมั่นคงภายในต่างๆ นั้น คณะผู้ดำเนินการที่รับผิดชอบทั้งหมดได้พยายามอย่างยิ่ง เต็มขีดความสามารถ เพื่อให้งานต่างๆ นั้นสัมฤทธิ์ผลและสามารถจัดตั้งได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในเรื่องของความก้าวหน้าให้เรียบร้อยต่อไป

ในเรื่องการรักษาความมั่นคงภายในมีเรื่องที่จะเรียนให้พี่น้องประชาชนได้ทราบเพียงเท่านี้ครับ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ครับ ก็ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีทั้ง 4 ท่านนะครับ ก็หวังว่าประชาชนทุกท่านที่กำลังรับฟังอยู่ก็คงเข้าใจเพิ่มมากขึ้น สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องโครงการต่างๆ ที่ด้านความมั่นคงดำเนินการนั้น ในช่วงต่อๆ ไปผมจะให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่าทางฝ่ายความมั่นคงนั้นได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง เพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบ วันนี้ผมก็รบกวนเวลาของท่านผู้ชมมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ผมพร้อมด้วยท่านรัฐมนตรีทั้ง 4 ท่าน ก็ขอกราบลาทุกท่านด้วยความยินดีอย่างยิ่ง สวัสดีครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น