พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวว่า ปัจจุบันได้ปรากฏภาพข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำภาษาไทยที่ชัดเจนของคำว่า "โรฮีนจา" (Rohingya) และคำว่า "เมียนมา" (Myanmar) ซึ่ง กอ.รมน.ได้ใช้ถ้อยคำนี้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ในขณะที่ส่วนใหญ่ใช้คำว่า "โรฮิงญา" และ"เมียนมาร์"
ทั้งนี้ กอ.รมน.ขอชี้แจงการใช้ถ้อยคำภาษาไทยของคำว่า โรฮีนจา (Rohingya) และคำว่า เมียนมา (Myanmar) ของกอ.รมน.ว่า เป็นไปตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ประสานมายัง กอ.รมน. เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่าของราชบัณฑิตยสถาน คำว่า "Rohingya" เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะได้ว่า "โรฮีนจา" และคำว่า "Myanmar" เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะได้ว่า "เมียนมา" ด้วยเหตุผลว่า 'gy' เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ตัวอักษรไทยที่ใกล้เคียงที่สุดคือ 'จ' ประกอบกับหลักเกณฑ์ของพม่ากำหนดให้ 'in' แทนเสียง 'อีน' และ 'ar' แทนเสียง 'อา' ตามลำดับ
ทั้งนี้ กอ.รมน.ขอชี้แจงการใช้ถ้อยคำภาษาไทยของคำว่า โรฮีนจา (Rohingya) และคำว่า เมียนมา (Myanmar) ของกอ.รมน.ว่า เป็นไปตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ประสานมายัง กอ.รมน. เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่าของราชบัณฑิตยสถาน คำว่า "Rohingya" เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะได้ว่า "โรฮีนจา" และคำว่า "Myanmar" เมื่อทับศัพท์เป็นภาษาไทยจะได้ว่า "เมียนมา" ด้วยเหตุผลว่า 'gy' เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ตัวอักษรไทยที่ใกล้เคียงที่สุดคือ 'จ' ประกอบกับหลักเกณฑ์ของพม่ากำหนดให้ 'in' แทนเสียง 'อีน' และ 'ar' แทนเสียง 'อา' ตามลำดับ