พล.ต.เรืองศักด์ สุวรรณนาคะ รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า ได้ไปร่วมกิจกรรมสร้างฝายมีชีวิตในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 20 ฝาย พบว่า การแก้ปัญหาของชุมชน เป็นโมเดลที่สามารถนำไปเลียนแบบแก้ปัญหาที่ประชาชนกำลังประสบปัญหาอยู่ ได้เห็นการบริหารจัดการแก้ปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดในฤดูร้อน น้ำไม่มีที่กักเก็บ การสร้างฝายทำให้เกิดความชุ่มชื้น แก้ปัญหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคได้จนผ่านพ้นฤดูร้อน กิจกรรมนี้ช่วยสร้างการมีส่วนร่วม เกิดผู้นำชุมชน ผู้นำธรรมชาติขึ้นมาบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ มองว่าโมเดลนี้จะเป็นโมเดลสำคัญแก้ปัญหาอื่น ๆ ด้วย ต้องขอขอบคุณความสำเร็จที่เกิดขึ้นใน อ.ฉวาง และ จ.นครศรีธรรมราช คิดว่าจะขยายโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กองทัพพร้อมให้การสนับสนุน เพราะบทบาทหน้าที่ของทหารจะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน นอกจากต้องทำหน้าที่ป้องกันประเทศชาติแล้ว ยังต้องเข้าไปดูแลสร้างความใกล้ชิด และเป็นแกนนำแก้ไขปัญหาของประชาชน
รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการทหารบก สั่งการอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ใดที่ประสบความแห้งแล้ง ทหารต้องเข้าไปดูแล ทั้งจัดหาน้ำให้ประชาชน และช่วยเหลือดูแลให้คำแนะนำเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ดีกว่า ทุ่มเทงบประมาณจัดทำโครงการชั่วคราวลงไป แล้ว ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ กองทัพพร้อมให้การสนับสนุน เพราะบทบาทหน้าที่ของทหารจะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน นอกจากต้องทำหน้าที่ป้องกันประเทศชาติแล้ว ยังต้องเข้าไปดูแลสร้างความใกล้ชิด และเป็นแกนนำแก้ไขปัญหาของประชาชน
รองแม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการทหารบก สั่งการอย่างชัดเจนว่า พื้นที่ใดที่ประสบความแห้งแล้ง ทหารต้องเข้าไปดูแล ทั้งจัดหาน้ำให้ประชาชน และช่วยเหลือดูแลให้คำแนะนำเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ดีกว่า ทุ่มเทงบประมาณจัดทำโครงการชั่วคราวลงไป แล้ว ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน