ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะเงินบาทรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26-29เม.ย.) เงินบาทปรับตัวแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือน ที่ 32.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงท้ายสัปดาห์ ภายหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การเคลื่อนย้ายเงินทุน ต่อเนื่องจากมติของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหนือความคาดหมายของตลาดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยลบจากสัญญาณเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 1/58 ที่สะท้อนผ่านเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยที่รายงานโดย ธปท.ด้วยเช่นกัน อนึ่ง เงินบาทอ่อนค่าลง แม้ว่าเงินดอลลาร์จะเผชิญแรงขายเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ หลังเฟดยังคงไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาการขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่จีดีพีสหรัฐฯ ไตรมาส 1/58 ก็ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดมาก
สำหรับในวันพฤหัสบดี (30 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 32.97 เทียบกับระดับ 32.53 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 เม.ย.)
ขณะที่สัปดาห์ถัดไป ตลาดการเงินในประเทศจะเปิดทำการในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม โดยธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกรอจับตา คือความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงาน อัตราการว่างงาน ดัชนี PMI ภาคบริการที่รายงานโดยมาร์กิต และสถาบัน ISM เดือนเมษายน ยอดสั่งซื้อของโรงงาน สต็อกสินค้าภาคค้าส่ง ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนมีนาคม
นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยลบจากสัญญาณเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 1/58 ที่สะท้อนผ่านเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยที่รายงานโดย ธปท.ด้วยเช่นกัน อนึ่ง เงินบาทอ่อนค่าลง แม้ว่าเงินดอลลาร์จะเผชิญแรงขายเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ หลังเฟดยังคงไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาการขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่จีดีพีสหรัฐฯ ไตรมาส 1/58 ก็ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดมาก
สำหรับในวันพฤหัสบดี (30 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 32.97 เทียบกับระดับ 32.53 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 เม.ย.)
ขณะที่สัปดาห์ถัดไป ตลาดการเงินในประเทศจะเปิดทำการในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม โดยธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.70-33.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกรอจับตา คือความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงาน อัตราการว่างงาน ดัชนี PMI ภาคบริการที่รายงานโดยมาร์กิต และสถาบัน ISM เดือนเมษายน ยอดสั่งซื้อของโรงงาน สต็อกสินค้าภาคค้าส่ง ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนมีนาคม