นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลของสภาพภูมิอากาศที่ไม่ถูกต้อง และได้อ้างว่าเป็นข้อมูลที่มาจากกรมอุตุฯ ว่า อยากฝากประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลหรือข่าวลือเกี่ยวกับสภาพอากาศหรือภัยพิบัติที่เผยแพร่ในช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ ขอให้ตรวจสอบความถูกต้องจากแหล่งข้อมูลหรือตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องได้จากกรมอุตุนิยมวิทยาและหลังจากนี้กรมอุตุนิยมวิทยา จะเผยแพร่ข้อมูลสภาพอากาศผ่านโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีข้อมูลจากเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจ เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุฯ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการพยากรณ์อากาศและการคาดการณ์สภาพอากาศจำนวน 212 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อให้ข้อมูลในการตรวจสอบสภาพอากาศได้แม่นยำขึ้นตามคำสั่งของ นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนความแม่นยำเป็น 90% ส่วนสภาพอากาศในช่วงนี้ จะร้อนเพิ่มขึ้นอีกโดยจะร้อนสูงสุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้และคาดว่าอากาศจะร้อนกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อยส่วนพายุฤดูร้อนในประเทศไทยก็จะเกิดขึ้นเป็นระลอกๆไปจนเข้าสู่ฤดูฝนที่คาดว่าจะเริ่มมีฝนตกประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2558
สำหรับลักษณะอากาศในช่วงระหว่างวันที่ 26- 27 เมษายนนี้ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้(27เม.ย.)บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝนลดลง จากนั้นภาคกลางฝนก็จะค่อยๆลดลงเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกครั้งจนอยู่ในเกณฑ์อากาศร้อนและในช่วงปลายเดือนเมษายนจะมีอากาศร้อนจัดที่จะเกิน 40 องศาเซลเซียสอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้รวบรวมสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดของแต่ละภาคระหว่างปี 2494-2557 พบว่า ภาคเหนือสูงสุด ได้แก่จ.อุตรดิตถ์ สูงสุดอยู่ที่ 44.5 องศาเซลเซียส ในวันที่ 27 เม.ย.2503 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.อุดรธานี สูงสุดอยู่ที่ 43.9 องศาเซลเซียส ในวันที่ 28 เม.ย.2503 ภาคกลาง ได้แก่ จ.กาญจนบุรี อุณหภูมิสูงสุดเท่ากัน 3 ปี อยู่ที่ 43.5 องศาเซลเซียส ในวันที่ 29 เม.ย.2501, 14 เม.ย.2526 และวันที่ 14 และ 20 เม.ย.2537 ภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ที่ 42.9 องศาเซลเซียสในวันที่ 23 เม.ย.2533 ภาคฝั่งตะวันออกได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ที่ 41.2 องศาเซลเซียสในวันที่ 15 เม.ย. 2541 ส่วนภาคฝั่งตะวันตก ได้แก่ จ.กระบี่ อยู่ที่ 40.5 องศาเซลเซียสในวันที่ 29 มี.ค.2535
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุฯ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการพยากรณ์อากาศและการคาดการณ์สภาพอากาศจำนวน 212 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อให้ข้อมูลในการตรวจสอบสภาพอากาศได้แม่นยำขึ้นตามคำสั่งของ นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนความแม่นยำเป็น 90% ส่วนสภาพอากาศในช่วงนี้ จะร้อนเพิ่มขึ้นอีกโดยจะร้อนสูงสุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้และคาดว่าอากาศจะร้อนกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อยส่วนพายุฤดูร้อนในประเทศไทยก็จะเกิดขึ้นเป็นระลอกๆไปจนเข้าสู่ฤดูฝนที่คาดว่าจะเริ่มมีฝนตกประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2558
สำหรับลักษณะอากาศในช่วงระหว่างวันที่ 26- 27 เมษายนนี้ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้(27เม.ย.)บริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้บริเวณประเทศไทยตอนบนโดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝนลดลง จากนั้นภาคกลางฝนก็จะค่อยๆลดลงเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีกครั้งจนอยู่ในเกณฑ์อากาศร้อนและในช่วงปลายเดือนเมษายนจะมีอากาศร้อนจัดที่จะเกิน 40 องศาเซลเซียสอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้รวบรวมสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดของแต่ละภาคระหว่างปี 2494-2557 พบว่า ภาคเหนือสูงสุด ได้แก่จ.อุตรดิตถ์ สูงสุดอยู่ที่ 44.5 องศาเซลเซียส ในวันที่ 27 เม.ย.2503 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.อุดรธานี สูงสุดอยู่ที่ 43.9 องศาเซลเซียส ในวันที่ 28 เม.ย.2503 ภาคกลาง ได้แก่ จ.กาญจนบุรี อุณหภูมิสูงสุดเท่ากัน 3 ปี อยู่ที่ 43.5 องศาเซลเซียส ในวันที่ 29 เม.ย.2501, 14 เม.ย.2526 และวันที่ 14 และ 20 เม.ย.2537 ภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ปราจีนบุรี อยู่ที่ 42.9 องศาเซลเซียสในวันที่ 23 เม.ย.2533 ภาคฝั่งตะวันออกได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ อยู่ที่ 41.2 องศาเซลเซียสในวันที่ 15 เม.ย. 2541 ส่วนภาคฝั่งตะวันตก ได้แก่ จ.กระบี่ อยู่ที่ 40.5 องศาเซลเซียสในวันที่ 29 มี.ค.2535