สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ว่าสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ ( ยูเอสจีเอส ) ตรวจพบการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 7.9 แมกนิจูด เมื่อเวลา 11.56 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเนปาล ( 13.11 น. ตามเวลาในประเทศไทย ) โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดินราว 11.9 กิโลเมตร ห่างจากเมืองลัมจังไปทางตะวันออกราว 35 กิโลเมตร และห่างจากกรุงกาฐมาณฑุไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 77 กิโลเมตร
สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่เนปาล พุ่งสูงถึง 920 รายแล้ว ส่วนในอินเดียและประเทศข้างเคียงได้รับความเสียหายด้วย โดยโฆษกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเนปาล เปิดเผยกับบีบีซีว่า ทางการเนปาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน และมีการยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดแล้ว 920 ราย โดยเป็นผู้เสียชีวิตในกรุงกาฏมัณฑุ 467 ราย และน่าจะมีการแจ้งจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กังวลว่าจะจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บอาจเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งพังถล่มลงมา ในจำนวนนี้รวมถึงหอคอยธาราฮารา หรือภิมเสน สะตัมภะ สถาปัตยกรรมขนาด 9 ชั้น ได้รับการก่อสร้างเมื่อปี 2375 และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( ยูเนสโก ) ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วย โดยมีผู้ติดอยู่ภายใต้ซากปรักหักพังราว 50 คน
นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้ได้ไกลถึงเมืองใหญ่หลายแห่งในภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ กรุงนิวเดลี เมืองลัคเนา และเมืองโกลกาตา โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตในอินเดียอย่างน้อย 36 ศพ บาดเจ็บ 35 คน ตลอดจนเมืองลาฮอร์ในปากีสถาน และเมืองลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบตในจีน ถือเป็นภัยธรรมชาติในเทือกเขาหิมาลัยที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 80 ปี นับตั้งแต่แผ่นดินไหวรุนแรง 8.0 แมกนิจูด ในอินเดียและเนปาล เมื่อเดือนม.ค. 2477 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 10,000 ศพ
สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่เนปาล พุ่งสูงถึง 920 รายแล้ว ส่วนในอินเดียและประเทศข้างเคียงได้รับความเสียหายด้วย โดยโฆษกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเนปาล เปิดเผยกับบีบีซีว่า ทางการเนปาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน และมีการยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดแล้ว 920 ราย โดยเป็นผู้เสียชีวิตในกรุงกาฏมัณฑุ 467 ราย และน่าจะมีการแจ้งจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กังวลว่าจะจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บอาจเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งพังถล่มลงมา ในจำนวนนี้รวมถึงหอคอยธาราฮารา หรือภิมเสน สะตัมภะ สถาปัตยกรรมขนาด 9 ชั้น ได้รับการก่อสร้างเมื่อปี 2375 และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( ยูเนสโก ) ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วย โดยมีผู้ติดอยู่ภายใต้ซากปรักหักพังราว 50 คน
นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้ได้ไกลถึงเมืองใหญ่หลายแห่งในภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ กรุงนิวเดลี เมืองลัคเนา และเมืองโกลกาตา โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตในอินเดียอย่างน้อย 36 ศพ บาดเจ็บ 35 คน ตลอดจนเมืองลาฮอร์ในปากีสถาน และเมืองลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบตในจีน ถือเป็นภัยธรรมชาติในเทือกเขาหิมาลัยที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 80 ปี นับตั้งแต่แผ่นดินไหวรุนแรง 8.0 แมกนิจูด ในอินเดียและเนปาล เมื่อเดือนม.ค. 2477 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 10,000 ศพ