พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) ให้เวลาไทย 6 เดือนในการปรับการป้องกันและกำจัดการทำประมงผิดกฎหมาย หากไม่ดำเนินการอาจสั่งห้ามนำเข้าสินค้าประมงจากไทย ว่า ทางอียูจะให้โอกาส เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลได้แก้ปัญหาไปมากแล้ว แต่ยังมีความล่าช้า เรื่องการขึ้นทะเบียนพิสูจน์สัญชาติซึ่งต้องรีบแก้ไข
ทั้งนี้ ภาคเอกชนต้องร่วมมือกับรัฐในการจดทะเบียนเรือประมง และตรวจสอบไม่ให้มีการค้ามนุษย์ ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับ และบางส่วนยังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือการใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อตั้งศูนย์ลงทะเบียนร่วม และกำหนดให้ลงโทษผู้กระทำผิดสถานหนัก รวมถึงบังคับให้ปรับปรุงเรือประมงให้ได้มาตรฐาน และติดอุปกรณ์ติดตามตำแหน่ง ส่วนแก้ไขปัญหาทันเงื่อนเวลา 6 เดือนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคเอกชนขนาดใหญ่หรือไม่
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพูดคุยกับกองทัพของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อจัดกองเรือในการทำประมงร่วมกันรูปแบบ Joint Venture โดยจะเริ่มการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวในกับประธานาธิบดีอินโดนีเซียในวันนี้ (23 เม.ย.)
ทั้งนี้ ภาคเอกชนต้องร่วมมือกับรัฐในการจดทะเบียนเรือประมง และตรวจสอบไม่ให้มีการค้ามนุษย์ ซึ่งเรื่องนี้มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับ และบางส่วนยังอยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือการใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อตั้งศูนย์ลงทะเบียนร่วม และกำหนดให้ลงโทษผู้กระทำผิดสถานหนัก รวมถึงบังคับให้ปรับปรุงเรือประมงให้ได้มาตรฐาน และติดอุปกรณ์ติดตามตำแหน่ง ส่วนแก้ไขปัญหาทันเงื่อนเวลา 6 เดือนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคเอกชนขนาดใหญ่หรือไม่
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพูดคุยกับกองทัพของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อจัดกองเรือในการทำประมงร่วมกันรูปแบบ Joint Venture โดยจะเริ่มการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวในกับประธานาธิบดีอินโดนีเซียในวันนี้ (23 เม.ย.)