นายแพทย์กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงกรณีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มีคำสั่งโยกย้ายผู้บริหารระดับ 11 และ 10 กระทรวงศึกษาธิการ 6 ราย และออกคำสั่งให้คณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการบริหารองค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) พ้นจากตำแหน่ง และมีคำสั่งให้เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค.และผู้อำนวยการองค์การค้าฯ หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ว่า เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตใน สกสค., องค์การค้าฯ และคุรุสภา ถือเป็นเรื่องที่จะต้องเข้าไปบริหารจัดการ
ทั้งนี้ ถือเป็นจังหวะที่ดีที่ คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งการให้คณะกรรมการทั้ง 3 ชุด พ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งให้เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการ สกสค.และผู้อำนวยการองค์การค้าฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจเต็มในการเข้าไปตรวจสอบ และแก้ปัญหาภายในที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไรนั้น ขอไปหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก่อน อย่างไรก็ตาม ปัญหาทุจริตภายใน สกสค.เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ส่วนจะใช้ระยะเวลาเท่าใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้
ทั้งนี้ ถือเป็นจังหวะที่ดีที่ คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งการให้คณะกรรมการทั้ง 3 ชุด พ้นจากตำแหน่ง รวมทั้งให้เลขาธิการคุรุสภา เลขาธิการ สกสค.และผู้อำนวยการองค์การค้าฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจเต็มในการเข้าไปตรวจสอบ และแก้ปัญหาภายในที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไรนั้น ขอไปหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก่อน อย่างไรก็ตาม ปัญหาทุจริตภายใน สกสค.เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ส่วนจะใช้ระยะเวลาเท่าใดนั้น ยังไม่สามารถบอกได้