นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปการเมือง และสภาปฏิรูปการเมือง หรือ สปช. กล่าวภายหลังการประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมือง เมื่อเวลา 12.50 น. วันที่ 19 เมษายน 2558 ที่รัฐสภาว่า ในการประชุมครั้งนี้ก็พูดคุยเรื่องที่จะกำหนดให้ กมธ.แต่ละคนอภิปรายในเรื่องใดบ้าง และก็ได้จัดทำรายชื่อไว้แล้ว ส่วน กมธ.ที่มีรายชื่อการอภิปรายก็จะต้องไปดูในรายละเอียดเชิงลึก และส่วนเรื่องเวลาในการอภิปรายก็ยังจะเป็นไปตามข้อกำหนดของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)คือประธาน กมธ.ใช้เวลา 30 นาที สมาชิกใช้เวลา 15.08 นาที และมีประเด็นที่จะไปปรึกษากับประธาน สปช. ว่า เวลาในการอภิปรายของประธาน กมธ.น่าจะมีเพิ่มมากขึ้น
นายสมบัติ กล่าวว่า สมาชิกมีความกังวลเป็นเรื่องของการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่จะเป็นการได้มาซึ่งรัฐบาลผสมที่ไม่เข้มแข็งก็เป็นเรื่องที่มีบทเรียนมาแล้วนั้นก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ในส่วนหนึ่งสมาชิกที่ได้มีการหารือกันนั้นเห็นว่า การจัดการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมอาจจะทำให้มีพรรคพันธมิตรเกิดขึ้นในระหว่างการเลือกตั้งได้ เช่น ในพื้นที่หนึ่งที่มี ส.ส.เขตมีชื่อเสียงในหน่วยเลือกตั้งนั้นก็จะชนะ และอาจจะทำให้ไม่มี ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือการที่ให้มีโอเพ่นลิสต์ก็เป็นการดีเพราะเป็นการทำให้ประชาชนได้เป็นผู้กำหนดว่า ใครจะได้อยู่ใน ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่ในทางปฏิบัติก็คล้ายกับส.ส.เขต เพราะถ้าเป็นส.ส.บัญชีรายชื่ออยากได้รับการเลือกตั้งก็ต้องไปทำการหาเสียงผ่านส.ส.เขต และการจะไปหา ส.ส.เขตนั้นต้องใช้ปัจจัย ซึ่งการที่จะทำให้ส.ส.บัญชีรายชื่อมีชื่อเสียงได้ก็ต้องเป็นผู้ที่มีปัจจัยจำนวนมาก ก็จะเป็นปัญหาตามมาในการเลือกตั้งด้วย
นายสมบัติ กล่าวว่า ส่วนที่มาของนายกรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส. ถ้าเป็นบุคคลภายนอกต้องใช้เสียง 2 ใน 3 แต่ไม่ได้เขียนเป็นทางการไว้ ซึ่งกรณีก็มีผู้วิตกกังวลว่าเมื่อเป็นเพียงหลักการทั่วไปไม่มีข้อมูลและมีการบัญญัติเป็นสถานการณ์วิกฤตและจะมีการใช้ในสถานการณ์ปกติได้หรือไม่ และข้อกำหนดนี้บัญญัติไว้ว่าการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่มีใครได้เสียงเกินครึ่งหรือเสียง 2 ใน 3 นั้นภายใน 15 วันประธานสภาสามารถจะนำชื่อบุคคลที่ได้คะแนนอันดับหนึ่ง กราบบังคมทูลโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แล้วถ้าบุคคลนอกได้เสียง 2 ใน 3 ก็สามารถมาเป็นนายฯได้ใช่อย่างนั้นไหม นั้นก็เป็นคำถามที่สมาชิกดูจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ2558 อย่างไรก็ตาม อะไรก็เกิดขึ้นได้ในการเมืองสถานการณ์แบบนี้
นายสมบัติ กล่าวว่า สมาชิกมีความกังวลเป็นเรื่องของการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่จะเป็นการได้มาซึ่งรัฐบาลผสมที่ไม่เข้มแข็งก็เป็นเรื่องที่มีบทเรียนมาแล้วนั้นก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ในส่วนหนึ่งสมาชิกที่ได้มีการหารือกันนั้นเห็นว่า การจัดการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมอาจจะทำให้มีพรรคพันธมิตรเกิดขึ้นในระหว่างการเลือกตั้งได้ เช่น ในพื้นที่หนึ่งที่มี ส.ส.เขตมีชื่อเสียงในหน่วยเลือกตั้งนั้นก็จะชนะ และอาจจะทำให้ไม่มี ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือการที่ให้มีโอเพ่นลิสต์ก็เป็นการดีเพราะเป็นการทำให้ประชาชนได้เป็นผู้กำหนดว่า ใครจะได้อยู่ใน ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่ในทางปฏิบัติก็คล้ายกับส.ส.เขต เพราะถ้าเป็นส.ส.บัญชีรายชื่ออยากได้รับการเลือกตั้งก็ต้องไปทำการหาเสียงผ่านส.ส.เขต และการจะไปหา ส.ส.เขตนั้นต้องใช้ปัจจัย ซึ่งการที่จะทำให้ส.ส.บัญชีรายชื่อมีชื่อเสียงได้ก็ต้องเป็นผู้ที่มีปัจจัยจำนวนมาก ก็จะเป็นปัญหาตามมาในการเลือกตั้งด้วย
นายสมบัติ กล่าวว่า ส่วนที่มาของนายกรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส. ถ้าเป็นบุคคลภายนอกต้องใช้เสียง 2 ใน 3 แต่ไม่ได้เขียนเป็นทางการไว้ ซึ่งกรณีก็มีผู้วิตกกังวลว่าเมื่อเป็นเพียงหลักการทั่วไปไม่มีข้อมูลและมีการบัญญัติเป็นสถานการณ์วิกฤตและจะมีการใช้ในสถานการณ์ปกติได้หรือไม่ และข้อกำหนดนี้บัญญัติไว้ว่าการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่มีใครได้เสียงเกินครึ่งหรือเสียง 2 ใน 3 นั้นภายใน 15 วันประธานสภาสามารถจะนำชื่อบุคคลที่ได้คะแนนอันดับหนึ่ง กราบบังคมทูลโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แล้วถ้าบุคคลนอกได้เสียง 2 ใน 3 ก็สามารถมาเป็นนายฯได้ใช่อย่างนั้นไหม นั้นก็เป็นคำถามที่สมาชิกดูจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ2558 อย่างไรก็ตาม อะไรก็เกิดขึ้นได้ในการเมืองสถานการณ์แบบนี้