วันนี้ (14 เม.ย.) นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และคณะ ได้นำขบวนแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือไม้ค้ำโพธิ์ โดยเริ่มขบวนตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานเหล็ก ผ่านสะพานนวรัฐ ไปยังถนนท่าแพ มีขบวนทั้งหมด 5 ขบวน ประกอบด้วย เทศบาลนครเชียงใหม่และแขวงทั้ง 4 แขวง เพื่อจะนำไปค้ำยันต้นโพธิ์ที่วัดต่างๆ 5 วัดบนถนนท่าแพ อันเป็นสัญลักษณ์หมายถึงการค้ำจุนบวรพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป เช่นเดียวกับตามวัดต่างๆ ที่คนในชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดขบวนแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่มีภาคเหนือของประเทศไทย
ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ตามความเชื่อของชาวพุทธที่ว่า ต้นไม้ใหญ่มักมีเทวดาอารักษ์สิงสถิตอยู่ โดยเฉพาะต้นโพธิ์ ซึ่งนอกจากจะปลูกไว้ในวัดแล้ว ยังเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติ ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับเมื่อตรัสรู้อีกด้วย
ต้นโพธิ์เมื่อเจริญเติบโตจะมีกิ่งก้านสาขาทอดยาว บางกิ่งโน้มเอียงจนเกรงว่าจะหักโค่นยามลมพัดแรง จึงมีคนนำไม้ง่ามมาค้ำยันกิ่งไว้ ไม้ง่ามนั้นเรียกว่า "ไม้ค้ำโพธิ์" หรือ "ไม้ค้ำสะหลี" ซึ่งนอกจากจะเป็นการค้ำยันกิ่งไม่ให้ล้มแล้ว ยังมีความหมายไปถึงการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบต่อไป อีกทั้งเชื่อกันว่ากุศลในการถวายไม้ค้ำโพธิ์จะช่วยคุ้มครองดวงชะตาให้เจริญขึ้น ไม่ตกต่ำ มีคนช่วยเหลือค้ำชูไปตลอด
ความเชื่อดังกล่าวเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือโดยทั่วไปในกลุ่มชาวล้านนาทางภาคเหนือของไทย วัดต่างๆ ในภาคเหนือหากมีต้นโพธิ์ใหญ่ก็มักจะมีผู้นำไม้ค้ำสะหลีไปค้ำยันไว้ และในภาคกลางหรือในกรุงเทพฯ ก็ยังพบเห็นภาพความเชื่อดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ตามความเชื่อของชาวพุทธที่ว่า ต้นไม้ใหญ่มักมีเทวดาอารักษ์สิงสถิตอยู่ โดยเฉพาะต้นโพธิ์ ซึ่งนอกจากจะปลูกไว้ในวัดแล้ว ยังเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติ ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับเมื่อตรัสรู้อีกด้วย
ต้นโพธิ์เมื่อเจริญเติบโตจะมีกิ่งก้านสาขาทอดยาว บางกิ่งโน้มเอียงจนเกรงว่าจะหักโค่นยามลมพัดแรง จึงมีคนนำไม้ง่ามมาค้ำยันกิ่งไว้ ไม้ง่ามนั้นเรียกว่า "ไม้ค้ำโพธิ์" หรือ "ไม้ค้ำสะหลี" ซึ่งนอกจากจะเป็นการค้ำยันกิ่งไม่ให้ล้มแล้ว ยังมีความหมายไปถึงการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบต่อไป อีกทั้งเชื่อกันว่ากุศลในการถวายไม้ค้ำโพธิ์จะช่วยคุ้มครองดวงชะตาให้เจริญขึ้น ไม่ตกต่ำ มีคนช่วยเหลือค้ำชูไปตลอด
ความเชื่อดังกล่าวเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือโดยทั่วไปในกลุ่มชาวล้านนาทางภาคเหนือของไทย วัดต่างๆ ในภาคเหนือหากมีต้นโพธิ์ใหญ่ก็มักจะมีผู้นำไม้ค้ำสะหลีไปค้ำยันไว้ และในภาคกลางหรือในกรุงเทพฯ ก็ยังพบเห็นภาพความเชื่อดังกล่าวด้วยเช่นกัน