พ.ญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงปัจจัยกระตุ้นทำให้คนฆ่าตัวตาย ว่า การฆ่าตัวตายมีปัจจัยร่วมหลายอย่าง ซึ่งความเครียดจากการทำงานก็เป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้น ส่วนใหญ่จะมีปัญหามาก่อนและมีปัญหาอื่นๆ รุมเร้าเข้ามา หรือไม่ก็เป็นเพราะงานมีปัญหาเรื้อรังสถานการณ์แย่ลง พอถึงระยะเวลาหนึ่งอารมณ์จะขยับจากความเครียด ความกดดันมาเป็นความหมดหวัง ท้อแท้ต่อปัญหา และไม่รู้ว่าจะต่อสู้ต่อไปอย่างไร อาจจะมีความคิดทำร้ายตัวเอง
นอกจากนี้ การเสนอข่าวของสื่อมวลชนก็เป็นตัวกระตุ้นให้เลียนแบบการฆ่าตัวตายเช่นเดียวกัน เพราะคิดว่าน่าจะเป็นทางออกของปัญหา ดังนั้นต้องระวังให้มาก
ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของกรมสุขภาพจิตที่พบว่าคนไทยมีระดับความสุขค่อนข้างสูง ซึ่งสวนทางกับข้อมูลการฆ่าตัวตายนั้น พ.ญ.พรรณพิมล กล่าวว่าการสำรวจเป็นเพียงค่าเฉลี่ยที่พูดถึงคนกลุ่มใหญ่ ที่ยังมีความสุขแต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความสุข โดยคนที่ไม่มีความสุขหมายความว่าตัวเขามีความทุกข์เป็นพื้นฐาน ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงนำมาสู่การฆ่าตัวตาย
นอกจากนี้ การเสนอข่าวของสื่อมวลชนก็เป็นตัวกระตุ้นให้เลียนแบบการฆ่าตัวตายเช่นเดียวกัน เพราะคิดว่าน่าจะเป็นทางออกของปัญหา ดังนั้นต้องระวังให้มาก
ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของกรมสุขภาพจิตที่พบว่าคนไทยมีระดับความสุขค่อนข้างสูง ซึ่งสวนทางกับข้อมูลการฆ่าตัวตายนั้น พ.ญ.พรรณพิมล กล่าวว่าการสำรวจเป็นเพียงค่าเฉลี่ยที่พูดถึงคนกลุ่มใหญ่ ที่ยังมีความสุขแต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความสุข โดยคนที่ไม่มีความสุขหมายความว่าตัวเขามีความทุกข์เป็นพื้นฐาน ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงนำมาสู่การฆ่าตัวตาย