เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการปปง. แถลงผลยึดและอายัดทรัพย์สินในคดี นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ยักยอกทรัพย์สหกรณ์ฯได้รับความเสียหายกว่า 12,402 ล้านบาท หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการยึดและอายัดทรัพย์สินไว้จำนวนหนึ่งแล้ว และมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินอย่างต่อเนื่อง กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการธุรกรรมมีมติให้ยึดและอายัดทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวเพิ่มเติมรวม 6 รายการ ได้แก่ กิจการรีสอร์ท เงินสด ตู้เซฟสิ่งปลูกสร้าง รถยนต์ มูลค่าประมาณ 30,070,000 บาท ที่ดินตามโฉนดที่ดินเงินในบัญชีเงินฝาก และสลากออมสิน มูลค่าประมาณ 1,680,000 บาท คิดรวมมูลค่า 31,750,000 บาท
ด้าน พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวว่า สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปปง.จะมีแผนระยะสั้นและระยาว โดยแผนระยะสั้นปปง. วันนี้ (10 เม.ย.) ปปง.ได้นัดหารือกับ นายประกิจ พิลังสา ประธานคณะกรรมการบริหารลูกหนี้/ผู้ทำแผน นางกรรณิการ์ อัคคะพู รองประธานคณะกรรมการบริหารลูกหนี้ฯ และนางจรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์ คณะกรรมการบริหารลูกหนี้ฯ เพื่อหาแนวทางเยียวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน ส่วนแผนระยะยาวขณะนี้ ปปง. อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยเฉพาะส่วนของการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ด้วยการให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนทรัพย์สินให้กับผู้เสียหาย แทนที่จะสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งหากสามารถแก้ไขกฎหมายดังกล่าวแล้วเสร็จก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและเยียวยาประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ส่วนกรณีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญนั้นเบื้องต้นตนมองว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้กับกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้หลังการหารือร่วมกับตัวแทนสหกรณ์ฯเกี่ยวกับแนวทางเยียวยาสมาชิกได้ข้อสรุปว่า ปปง.จะนำทรัพย์สินที่ได้จากการยึดและอายัดทรัพย์ไปดำเนินการคุ้มครองสิทธิ์ ด้วยการส่งไปให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอ ก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครอง เนื่องจากคาดว่าภายใน 2 เดือนหลังจากนี้ สภาจะผ่านร่างกฎหมายที่ ปปง.แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถนำทรัพย์ที่ยึดและอายัดได้มาบริหารจัดการคืนให้กับผู้เสียหายได้ โดยไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด เบื้องต้นประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดอายัดไว้เฉพาะที่ดินมีมูลค่าประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ส่วนหุ้นที่ยึดและอายัดไว้พบว่าบางบริษัทยังดำเนินกิจการเช่นกลุ่มรัฐประชาที่ทำธุรกิจตลาดมีรายได้เดือนละกว่า 1 ล้านบาท
ด้าน พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวว่า สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปปง.จะมีแผนระยะสั้นและระยาว โดยแผนระยะสั้นปปง. วันนี้ (10 เม.ย.) ปปง.ได้นัดหารือกับ นายประกิจ พิลังสา ประธานคณะกรรมการบริหารลูกหนี้/ผู้ทำแผน นางกรรณิการ์ อัคคะพู รองประธานคณะกรรมการบริหารลูกหนี้ฯ และนางจรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์ คณะกรรมการบริหารลูกหนี้ฯ เพื่อหาแนวทางเยียวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน ส่วนแผนระยะยาวขณะนี้ ปปง. อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยเฉพาะส่วนของการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ด้วยการให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนทรัพย์สินให้กับผู้เสียหาย แทนที่จะสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งหากสามารถแก้ไขกฎหมายดังกล่าวแล้วเสร็จก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและเยียวยาประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ส่วนกรณีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญนั้นเบื้องต้นตนมองว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องนำมาใช้กับกรณีดังกล่าว
ทั้งนี้หลังการหารือร่วมกับตัวแทนสหกรณ์ฯเกี่ยวกับแนวทางเยียวยาสมาชิกได้ข้อสรุปว่า ปปง.จะนำทรัพย์สินที่ได้จากการยึดและอายัดทรัพย์ไปดำเนินการคุ้มครองสิทธิ์ ด้วยการส่งไปให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอ ก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครอง เนื่องจากคาดว่าภายใน 2 เดือนหลังจากนี้ สภาจะผ่านร่างกฎหมายที่ ปปง.แก้ไขเพิ่มเติมให้สามารถนำทรัพย์ที่ยึดและอายัดได้มาบริหารจัดการคืนให้กับผู้เสียหายได้ โดยไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด เบื้องต้นประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดอายัดไว้เฉพาะที่ดินมีมูลค่าประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ส่วนหุ้นที่ยึดและอายัดไว้พบว่าบางบริษัทยังดำเนินกิจการเช่นกลุ่มรัฐประชาที่ทำธุรกิจตลาดมีรายได้เดือนละกว่า 1 ล้านบาท